อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เมื่อการรวบรวมอัลกุรอ่านในสมัยอบูบักร ถูกนำมาเป็นหลักฐานทำเมาลิด



มีผู้รู้บางคน อ้างว่า การรวบรวมรวมอัลกุรอ่าน ในสมัยอบูบักร์ เป็นบิดอะฮ แล้วเอากรณีดังกล่าวมาสนับสนุน การทำเมาลิต โดยอ้างว่า เป็นเป็นบิดอะฮที่ดี(บิดอะฮหะสะนะฮ)
มาดูข้อเท็จจริงดังนี้

การรวบรวมในแผ่นจารึก (การบันทึก) แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน

1.สมัยท่านนบี ศอ็ลฯ
สาเหตุ : เพื่อเพิ่มความแม่นยำโดยคำนึงถึงโองการต่างๆ ที่ถูกประทานลงมา
วิธีการ : บันทึกโองการแห่งอัลลอฮ์ ไว้ตามแผ่นจารึกต่างๆ เช่น ก้านอินทผลัม, กระดูก, แผ่นหิน, และอื่นๆ แต่ไม่มีการบันทึกไว้ในที่เดียวกัน ทั้งนี้เพราะวะหยูยังคงประทานลงมาเรือยๆ ยังไม่จบ

2.สมัยท่านอบูบักร
สาเหตุ: ความเหวาดกลัวว่า อัลกุรอาน จะสูญสลายไปพร้อมกับการชะฮีดของบรรดาศอฮาบะฮ์ในสงครามยะมามะห์
ผู้รวบรวม : ท่าน เซด บิน ษาบิต
วิธีการ : นำอายะห์ที่ได้ยินได้ฟังมาจากท่านรอซู้ล พร้อมพยาน 2 คน และสำหรับโองการที่ถูกบันทึกไว้ในสมัยท่านนบี นำมาจากแผ่นจารึกต่างๆ โดยย้ายมาบันทึกและรวบรวมไว้ในคัมภีร์

3. สมัยท่านอุษมาน
สาเหตุ : ความหวั่นเกรงที่จะเกิดการขัดแย้งระหว่างแคว้นต่างๆในขณะที่แต่ละแคว้นมีการอ่านที่แตกต่างไป และทำให้เกิดการกล่าวหากันเกี่ยวกับความผิดพลาด
ผู้รวบรวม : เซด บิน ษาบิต, อับดุลลอฮ์ บิน ซุเบร, ซะอีด บิน อาซ, อับดุลเราะห์มาน บิน ฮาริส
วิธีการ : คัดลอกสิ่งที่ท่านอบูบักรได้รวบรวมไว้ในคัมภีร์ต่างๆ พร้อมกับยกเลิกการอ่านเหล่านั้น คงเหลือไว้เฉพาะการอ่านของกุเรช และส่งไปยังแคว้นต่างๆ
การรวบรวมอัลอัลกุรอ่านไม่ใช่การทำบิดอะฮ

อิหม่ามสะยูฏีย์(ร.ฮ)กล่าวว่า
وَقَالَ الْحَارِثُ الْمُحَاسَبِيُّ فِي كِتَابِ فَهْمِ السُّنَنِ : كِتَابَةُ الْقُرْآنِ لَيْسَتْ بِمُحْدَثَةٍ فَإِنَّهُ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - [ ص: 211 ] كَانَ يَأْمُرُ بِكِتَابَتِهِ ، وَلَكِنَّهُ كَانَ مُفَرَّقًا فِي الرِّقَاعِ وَالْأَكْتَافِ وَالْعُسُبِ ، فَإِنَّمَا أَمَرَ الصَّدِيقِ بِنَسْخِهَا مِنْ مَكَانٍ إِلَى مَكَانٍ مُجْتَمِعًا ، وَكَانَ ذَلِكَ بِمَنْزِلَةِ أَوْرَاقٍ وُجِدَتْ فِي بَيْتِ رَسُولِ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - فِيهَا قُرْآنٌ مُنْتَشِرٌ ، فَجَمَعَهَا جَامِعٌ ، وَرَبَطَهَا بِخَيْطٍ حَتَّى لَا يَضِيعَ مِنْهَا شَيْءٌ .
อัลหาริษ อัลมุหาสะบีย์ ได้กล่าวไว้ใน ฟะฮมิอัสสุนัน ว่า การบันทึกอัลกุรอ่านนั้น มันไม่ใช่สิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่(หมายถึงไม่ใช่บิดอะฮ) เพราะแท้จริงนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เคยสั่งให้บันทึกมัน แต่ว่า มัน ถูกแยกกัน อยู่ใน กระดาษ ,แผ่นหนังและ ก้านอินทผลัม แล้วความจริง อัศเศาะดีก(หมายถึงอบูบักร)ได้สั่งคัดลอกมัน จากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง โดยถูกรวมกัน และปรากฏว่าดังกล่าวนั้น อยู่ในที่ของบรรดาแผ่นกระดาษ ที่มันถูกพบในบ้านของรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งในมัน คืออัลกุรอ่าน ที่ถูกให้กระจัดกระจาย แล้ว ผู้รวบรวมรวมได้รวบรวมมัน และ ได้เย็บมันด้วยเชือกด้าย จนกระทั่งไม่มีสิ่งใดจากมันสูญหาย – ดู อัลอิตกอน ฟีอุลูมิลกุรอ่น เล่ม 1 หน้า 211
............
ดังนั้นไม่ควรนำกรณีรวบรวมอัลกุรอ่านมาเป็นข้ออ้างอุตริบิดอะฮในศาสนา เพราะการรวบรวมอัลกุรอ่านเป็นรักษาคำสอนศาสนาไม่ให้สูญหาย ซึ่งต่างกับการทำเมาลิดโดยสิ้นเชิง

อิหม่ามสะยูฏีย์ กล่าวว่า
وكان غرضهم أن لا يكتب إلا من عين ما كتب بين يدي النبي(ص)لا من مجرد الحفظ .

และจุดมุ่งหมายของพวกเขา คือ จะไม่บันทึก นอกจาก ต้นฉบับของสิ่งที่ถูกบันทึก ต่อหน้าท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เท่านั้น ไม่ใช่จากสิ่งที่ได้จำมาอย่างเดียว – ดู อัลอิตกอน เล่ม 1 หน้า 60

รายงานจาก อับดุลลอฮ บิน อัมริน บิน อัลอาศ กล่าวว่า

جمعت القرآن ، فقرأت به كل ليلة ، فبلغ النبي (ص) فقال : أقرأه في شهر. الحديث

ข้าพเจ้า ได้รวบรวมอัลกุรอ่าน และข้าพเจ้าอ่านมันทุกคืน แล้ว ข่าวนี้ได้ถึงไปยังท่านนบี ศอ็ลฯ ท่านจึงกล่าวว่า ท่านจงอ่านมัน ทุกๆเดือน – จนจบหะดิษ
، وأصله في الصحيح.
فتح الباري: ج 9 ص 47. السنن الكبرى للنسائي، ج 5، ص 24، مسند أحمد، ج 2، ص 163، صحيح ابن حبان، ج 3، ص 33
............

มีคนอ้างว่า การรวบรวมอัลกุรอ่าน เป็นบิดอะฮ และเป็นหลักฐาน ว่า ในศาสนามีบิดอะฮที่ดี
มาดูคำอธิบายของอิบนุตัยมียะฮ

وهكذا جمع القرآن فإن المانع من جمعه على عهد رسول الله صلى الله عليه وسلم كان أن الوحي كان لا يزال ينزل فيغير الله ما يشاء ويحكم ما يريد فلو جمع في مصحف واحد لتعسر أو تعذر تغييره كل وقت فلما استقر القرآن بموته صلى الله عليه وسلم واستقرت الشريعة بموته صلى الله عليه وسلم أمن الناس من زيادة القرآن ونقصه وأمنوا من زيادة الايجاب والتحريم والمقتضي للعمل قائم بسنته صلى الله عليه وسلم فعمل المسلمون بمقتضى سنته صلى الله عليه وسلم وذلك العمل من سنته صلى الله عليه وسلم وإن كان يسمى هذا في اللغة بدعة

และในทำนองเดียวกันนี้ (ทำนองเดียวกับเรื่องละหมาดตะรอเวียะญามาอะฮ) คือ การรวบรวมอัลกุรอ่าน เพราะแท้จริง มีอุปรรคขัดขวางจากการรวบรวม ในสมัยรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งปรากฏว่า วะหยูยังคง ถูกประทานลงมาอยู่ (หมายถึงยังไม่ได้สิ้นสุดลง) เพราะอัลลอฮจะทรงเปลี่ยนแปลง สิ่งที่พระองค์ ทรงประสงค์ และทรงตัดสิน สิ่งที่พระองค์ทรงต้องการ เพราะถ้าหากรวมรวมอัลกุรอ่านให้เป็นเล่มเดียว(อย่างที่ทำในสมัยอุษมาน) ก็จะเกิดความลำบาก หรือ เพราะสุดวิสัยที่จะเปลียนแปลงมัน ทุกเวลา ดังนั้น เมื่อ อัลกุรอ่านได้คงที่แล้ว(คือ การประทานได้จบสิ้นแล้ว) ด้วยการเสียชีวิตของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และอัชชะรีอะฮ ได้คงที่แล้ว ด้วยการเสียชีวิตของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มนุษย์ก็ปลอดภัยจากการเพิ่มเติมและการตัดตอนมัน และพวกเขาปลอดภัยจากการเพิ่มเติมการกำหนดหุกุมวาญิบ และหุกุมต้องห้าม (หะรอม) และ มันถูกตัดสิน สำหรับการปฏิบัติ ตามสุนนะฮ ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังนั้น บรรดามุสลิมีน ก็ปฏิบัติ ด้วยการตัดสิน /หรือความต้องการ ของสุนนะฮนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นส่วนหนึ่งของ สุนนะฮท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และหากว่า สิ่งนี้ถูกเรียกในทางภาษาว่า “บิดอะฮ”ก็ตาม ....-ดู - อิกติดออุซศิรอฏิลมุสตะกีม หน้าที่ เล่ม 2 หน้า 588-589

@@@
คำอธิบายข้างต้น แสดงให้เห็นชัดเจนเช่นกันว่า การรวบรวมอัลกุรอ่านเป็นเล่ม ไม่ใช่บิดอะฮ เพราะสิ่งนั้น มีเหตุอุปสรรค์ที่จะทำในมัยนบี เพราะอัลกุรอ่านกำลังประทานลงมา และบางครั้ง อัลลอฮได้มีการเปลี่ยนแปลงหุกุม ซึ่งยุ่งยากที่จะแก้ไขทุกวัน แต่พอการประทานอัลกุรอ่านยุติลง และชะรีอะฮคงที่แล้วไม่เปลี่ยนแปลงด้วยการเสียชีวิตของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็มีการริเริ่ม รวบรวมเป็นเล่ม แบบนี้ไม่ใช่บิดอะฮ แม้ในทางภาษา เรียกว่า บิดอะฮก็ตาม และสิ่งที่คือความจำเป็นแก่มนุษย์ ที่จะได้ศึกษา และรักษาหุกุมอัลลอฮ เช่น เดียวกับการสร้างโรงเรียนศาสนา ก็เพราะมนุษย์มีความจำเป็น เพื่อจะได้ศึกษาศาสนา ไม่ใช่เพิ่มเติมศาสนา และไม่ใช่ตัดตอนหุกุมศาสนา
และนี่คือ จุดมุ่งหมายของคำพูดอิบนุตัยมียะฮข้างต้น

คำพูดอิบนุตัยมียะฮที่ว่า
ما رآه المسلمون مصلحة إن كان بسبب أمر حدث بعد النبي فها هنا يجوز إحداث ما تدعو الحاجة إليه
สิ่งที่บรรดามุสลิมเห็นว่ามันเป็นประโยชน์ถึงแม้ว่ามันจะเกิดขึ้นเนื่องด้วยสาเหตุของกิจการที่ริเริ่มขึ้นมาใหม่หลังจากท่านนบี ศล. ฉนั้น(ประเด็น) ตรงนี้ถือว่าอนุญาตให้ริเริ่มได้กับสิ่งที่ความจำเป็นนั้นร้องหาไปยังมัน- อิกติดออุซศิรอฏิลมุสตะกีม หน้าที่ 258

@@@
คำว่า “จำเป็นในที่นี้ คือ หากไม่ทำ ก็จะเกิดผลเสียต่อประชาชน เช่น ถ้าไม่รวบรวมอัลกุรอ่าน ก็จะทำให้มนุษย์ไม่ได้รู้ศาสนาบทบัญญัติในอัลกุรอ่าน และถ้าไม่จัดให้มี โรงเรียน ,มหาลัยสอนศาสนา ก็จะไม่มีสถานที่ที่จะให้มุสลิมศึกษาศาสนาอย่างทั่วถึงและพัฒนาไปในระดับที่สูงขึ้น และเพื่อผลิตบุคลากรที่เป็นผู้รู้ศาสนา ไปถ่ายทอดศาสนาต่อไป

,والله أعلم بالصواب

......................
อะสัน หมัดอะดั้ม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น