อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การอ่านอัลกุรอ่านให้ผู้ตายในทัศนะเช็คบิน บาซ


ฟัตวา เช็คบินบาซ

وقد سئل الشيخ ابن باز رحمه لله عن إهداء ثواب قراءة القرآن والصدقة للأم ، سواء كانت حية أم ميتة ، فأجاب :
และมีผู้ถามเช็คอิบนุบาซ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) เกี่ยวกับการอุทิศผลบุญการอ่านอัลกุรอ่านและการทำทานให้แก่มารดา ไม่ว่าขณะที่นางมีชีวิต หรือเสียชีวิตแล้ว
ท่านอิบนุบาซตอบว่า
"
أما قراءة القرآن فقد اختلف العلماء في وصول ثوابها إلى الميت على قولين لأهل العلم ، والأرجح أنها لا تصل لعدم الدليل ؛ لأن الرسول صلى الله عليه وسلم لم يفعلها لأمواته من المسلمين كبناته اللاتي مُتْن في حياته عليه الصلاة والسلام ، ولم يفعلها الصحابة رضي الله عنهم وأرضاهم فيما علمنا ، فالأولى للمؤمن أن يترك ذلك ولا يقرأ للموتى ولا للأحياء ولا يصلي لهم ، وهكذا التطوع بالصوم عنهم ؛ لأن ذلك كله لا دليل عليه ، والأصل في العبادات التوقيف إلا ما ثبت عن الله سبحانه أو عن رسوله صلى الله عليه وسلم شرعيته . أما الصدقة فتنفع الحي والميت بإجماع المسلمين ، وهكذا الدعاء ينفع الحي والميت بإجماع المسلمين
สำหรับการอ่านอัลกุรอ่านนั้น บรรดานักวิชาการเห็นต่างกัน เกี่ยวกับการที่ผลบุญของมันถึงผู้ตาย
บนสองทัศนะ และที่มีน้ำหนักที่สุด แท้จริง มันไม่ถึงผู้ตาย เพราะไม่มีหลักฐาน ,เพราะนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่กระทำมัน แก่บรรดาผู้ตายของท่าน จากบรรดามุสลิม เช่น บรรดาบุตรสาวของท่าน ที่เสียชีวิต ในขณะที่ท่าน มีชีวิตอยู่ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาเหล่าเศาะหาบะฮ(ร.ฎ)ไม่ได้ทำมัน ตามที่เรารู้มา ดังนั้น ที่ดีที่สุด แก่ผู้ศรัทธา ให้ทิ้งดังกล่าวนั้น และเขาจะไม่อ่านให้แก่ผู้ตาย และไม่อ่านให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และไม่ละหมาด(อุทิศบุญ)ให้แก่พวกเขา และ เช่นเดียวกันนี้ การอาสาถือศีลอดแทนพวกเขา เพราะดังกล่าวนั้น ทั้งหมด ไม่มีหลักฐาน บนมัน และหลักการ/รากฐาน ในเรื่องอิบาดาตนั้น หยุดอยู่ที่คำสั่งใช้ (อัตตเตากีฟ) ยกเว้น สิ่งที่ปรากฏยืนยันจากอัลลอฮ(ซ.บ)หรือ จากรอซูลของพระองค์ ได้บัญญัติมัน สำหรับการทำทาน(เศาะดะเกาะฮ) นั้น คนเป็นและคนตายได้ประโยชน์ด้วยมติเอกฉันท์ของบรรดานักปราชญ์มุสลิม และในทำนองเดียวกันนี้ การดุอา คนเป็นและคนตายได้ประโยชน์ด้วยมติเอกฉันท์ของบรรดานักปราชญ์มุสลิมเช่นกัน..
ดู มัจญมัวะฟะตาวาวะมะกอลาตเช็คบินบาซ เล่ม 4 หน้า 348
สรุปจากฟัตวา
หนึ่ง - ทัศนะเกี่ยวกับการอ่านกุรอ่านอุทิศบุญให้ผู้ตาย มี 2 ทัศนะ และทัศนะที่มีน้ำหนัก คือ ไม่ถึงผู้ตาย
สอง – เหตุผลที่บอกว่าไม่ถึงผู้ตาย เพราะไม่มีหลักฐานจากแบบอย่างนบี ศอ็ลฯ และเศาะหาบะฮ
สาม – การทำทาน,การดุอา และอื่นๆที่มีหลักฐาน นั้นมีประโยชน์ต่อคนเป็นและคนตาย
ทั้งหมดนี้ ผมไม่ได้ตั้งตนเป็นมุจญตะฮีด แต่เพราะไม่มีหลักฐาน ไม่เช่นนั้นใครๆก็อ้างได้ว่าถึงผู้ตาย ต่อไปก็จะบอกว่าละหมาดตะรอเวียะก็ถึงผู้ตาย มีอะไรติดตามมามากมาย จนแยกไม่ออกว่าอะไรคือสุนนะฮ อะไรคือความเห็น

والله أعلم بالصواب

....................
อะสัน หมัดอะดั้ม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น