อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พระราชวังของฟิรฺเอาน์




มูซาและฮารูนได้กลับไปหาฟิรฺเอาน์ตามคำบัญชาของอัลลอฮฺ และถ่ายทอดคำสอนของศาสนาที่เที่ยงแท้ เขาทั้งสองได้บอกให้ฟิรฺเอาน์เลิกทำการทารุณลูกหลานชาวอิสราเอลและปล่อยทาสเหล่านี้ให้แก่พวกเขาทั้งสอง และแน่นอนคงเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะยอมรับได้สำหรับฟิรฺเอาน์ในขณะที่มูซาผู้ซึ่งเป็นเด็กที่เขาชุบเลี้ยงเป็นอย่างดี ยิ่งกว่านั้น ยังอาจเป็นรัชทายาทในการสืบราชบัลลังก์ต่อไปจะกล้าพูดกับเขาเยี่ยงนี้ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงกล่าวหามูซาว่า เป็นผู้อกตัญญู :

“เขา (ฟิรฺเอาน์) กล่าวว่า เ รามิได้เลี้ยงดูเจ้าเมื่อขณะเป็นเด็กอยู่กับพวกเราดอกหรือ? และเจ้าได้อยู่กับเราหลายปี ในช่วงชีวิตของเจ้า

และเจ้าได้กระทำการของเจ้าซึ่งเจ้าได้กระทำไปแล้ว และเจ้าเป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้เนรคุณ” (ซูเราะฮฺ อัช-ชุอะรออฺ : 18 – 19)

ฟิรฺเอาน์พยายามที่จะปลุกความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในตัวของมูซา โดยบอกว่ามูซาควรจะทำตามเขาและภรรยาของเขามากกว่า เพราะทั้งสองนั้นเป็นผู้ชุบเลี้ยงมูซามา ยิ่งกว่านั้น มูซาไดฆ่าชาวอียิปต์ ซึ่งตามกฎของชาวอียิปต์นั้น การกระทำดังกล่าวมีบทลงโทษที่รุนแรงมาก ไม่เพียงแค่มูซาเท่านั้น ที่ฟิรฺเอาน์พยายามกดดันภายใต้บรรยากาศที่เต็มไปด้วยอารมณ์ที่รุนแรงนั้นยังส่งผลไปยังบรรดาผู้นำของเขาอีกด้วย และแน่นอน พวกเขาย่อมเข้าข้างฟิรฺเอาน์

ในขณะเดียวกัน การประกาศคำสอนของมูซานั้นเริ่มบั่นทอนอำนาจของฟิรฺเอาน์ลง และลดสถานภาพของเขาให้เท่าเทียมกับคนธรรมดา ซึ่งแสดงให้เห็ฯว่าฟิรฺเอาน์นั้น ไม่ใช่พระเจ้า และยิ่งไปกว่านั้น ยังถูกกดดันให้ทำตามที่มูซาบอก และถ้าฟิรฺเอาน์ปลดปล่อยเหล่าลูกหลานชาวอิสราเอลให้เป็นอิสระนั่นก็หมายความว่าเขาจะต้องสูญเสียแรงงานหลัก นั่นคือสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างนั่นเอง ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ ฟิรฺเอาน์จึงไม่เชื่อในสิ่งที่มูซาบอก เขาพยายามที่จะเล่นตลกกับมูซา โดยเปลี่ยนเรื่องพูด และถามคำถามไร้สาระ ในขณะเดียวกันก็พยายามแสดงให้เห็นว่ามูซาและฮารูนนั้นล้วนเป็นกบฏ ท้ายที่สุด ทั้งฟิรฺเอาน์และวงศ์วานของเขา ก็ยังคงไม่เชื่อฟังคำพูดของมูซาและฮารูน กล่าวหาว่าพวกนี้เป็นแค่เพียงหนึ่งในบรรดานักมายากลทั้งหลาย ดังนั้น อัลลอฮฺจึงประทานความหายนะแก่พวกเขา

ความหายนะที่เกิดขึ้นกับฟิรฺเอาน์และวงศ์วานของเขา ฟิรฺเอาน์และวงศ์วานของเขานั้นจะยึดติดในลัทธิความเชื่อและการบูชาเทวรูปของตนเองค่อนข้างสูง ซึ่งก็เป็นความเชื่อตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ พวกเขาไม่เคยที่จะพิจารณาไตร่ตตรองมัน แม้แต่ปาฏิหาริย์ทีเกิดขึ้นกับมูซา ก็ยังไม่อาจที่จะทำให้พวกเขาเลิกเชื่อในเรื่องงมงาย ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังให้ความเห็นกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเปิดเผยว่า

“และพวกเขากล่าวว่า ท่านจะนำสัญญาณหนึ่งสัญญาณใดมายังพวกเราอย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะลวงเราให้หลงเชื่อต่อสัญญาณนั้นเราก็จะไม่เป็นผู้ศรัทธาต่อท่าน” (ซูเราะฮฺ อัลอะอฺรอฟ : 132)

และด้วยพฤติกรรมของพวกเขา อัลลอฮฺ จึงประทานภัยพิบัติแก่พวกเขาภายใต้ชื่อว่า “ปาฏิหาริย์ที่แบ่งแยก” เพื่อให้พวกเขาได้ลิ้มรสความทุกข์ทรมานและความเจ็บปวดบนโลกนี้ ก่อนที่จะเจอกับความทุกข์ทรมานแบบไม่มีที่สิ้นสุดในโลกหน้า โดยสิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญนั่นคือภาวะแห้งแล้งและภาวะขาดแคลนพืชพันธุ์ธัญญาหาร ซึ่งในกุรอานได้มีกล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า

“และแน่นอน เราได้ลงโทษวงศ์วานของฟิรฺเอาน์ด้วยความแห้งแล้งและขาดแคลนผลไม้ต่าง ๆ เพื่อว่าพวกเขาจะได้ระลึก” (ซูเราะฮฺ อัลอะอฺรอฟ : 130)

ระบบเกษตรกรรมของชาวอียิปต์นั้นขึ้นอยู่กับน้ำในแม่น้ำไนล์ ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ค่อยได้รับผลกระทบเท่าที่ควรหากว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแบบปกติ แต่ความหายนะที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันนั้นได้เกิดแก่พวกเขาเนื่องจากการกระทำของฟิรฺเอาน์ที่ยโสโอหังต่ออัลลอฮฺ และปฏิเสธศาสนทูตของพระองค์ และบางทีอาจจะด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ ท ให้ระดับน้ำในแม่น้ำไนล์เพิ่มขึ้นจนท่วมในปริมาณที่มากพอสมควร จนทำให้น้ำในคลองชลประทานไหลออกจนหมด จนไม่หลงเหลือสำหรับการเกษตร อาการที่ร้อนจัดทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารแห้งตายและเสียหาย และนี่คือภัยพิบัติที่มาพร้อมกับการกระทำของฟิรฺเอาน์ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันในทุก ๆ ที่ ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในครั้งนี้สร้างความหวาดกลัวให้กับฟิรฺเอาน์เป็นอย่างมาก เขาจึงกล่าวแก่ประชาชนว่า

“และฟิรฺเอาน์ได้ประกาศท่ามกลางหมู่ชนของเขา เขากล่าวว่าหมู่ชนของฉันเอ๋ย ! อาณาจักรแห่งอียิปต์นี้มิได้เป็นของฉันดอกหรือ ? และแม่น้ำเหล่านี้ไหลผ่านเบื้องล่าง (วังของ) ฉัน พวกท่านไม่เห็นดอกหรือ ?” (ซูเราะฮฺ อัชชุครุฟ : 51)

อย่างไรก็ตาม แทนที่พวกเขาจะใส่ใจดังที่กล่าวไว้ในอายะฮฺดังกล่าวพวกเขากลับคิดว่าทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากความเคราะห์ร้ายที่มูซาและลูกหลานชาวอิสราเอลนำมาให้ พวกเขาเอาชนะอุปสรรคเพียงแค่การกล่าวโทษผู้อื่น เนื่องจากความงมงานในลัทธิของพวกเขาและความเชื่อในเรื่องการบูชาเทวรูป และด้วยเหตุนี้เองพวกเขาจึงต้องบอบช้ำจากภัยพิบัติครั้งยิ่งใหญ่

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเขาก็ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเท่านี้ สิ่งเหล่านี้เป็นแค่การเริ่มต้นเท่านั้น ภายหลังจากนั้น อัลลอฮฺก็ได้ส่งภัยภิบัติอย่างต่อเนื่องความหายนะเหล่านั้นได้มีกล่าวไว้ในกุรอาน ดังนี้

“แล้วเราได้ส่งน้ำท่วม และตั๊กแตน และเหา และกบ และเรือดมาเป็นสัญญาณอันชัดเจนแก่พวกเขา แต่แล้วพวกเขาก็แสดงความโอหัง และได้กลายเป็นกลุ่มชนที่กระทำความผิด” (ซูเราะฮฺ อัลอะรอฟ : 133)

ความหายนะที่อัลลอฮฺได้ส่งมายังฟิรฺเอาน์ และประชาชาติผู้ปฏิเสธของเขาก็ได้มีอธิบายไว้ในพันธสัญญาเก่าดังนี้

“ปลาที่อยู่ในแม่น้ำไนล์ก็ตาย แม่น้ำไนล์ก็เหม็น และชาวอียิปต์ก็ดื่มน้ำในแม่น้ำไนล์นั้นไม่ได้ มีโลหิตทั่วแผ่นดินอิยิปต์”
(เอ็กโซตัส, 7:21)

“ถ้าไม่ยอม เราจะให้ฝูงกบขึ้นมารังควานทั้งเขตแดนของท่าน ฝูงกบจะเต็มไปทั้งแม่น้ำไนล์ จะขึ้นมาอยู่ในวัง ในห้องบรรทม และบนแท่นบรรทมของท่าน ในเรือนข้าราชการ ตามตัวพลเมือง ในเตาปิ้งขนมและในอ่านโม่แป้งของท่านด้วย” (เอ๊กโซตัส, 8 : 2-3)

“พระเจ้าจึงตรัสกับโมเสสว่า “บอกอาโรนว่า ‘เอาไม้เท้าตีฝุ่นดินให้กลายเป็นริ้นทั่วประเทศอียิปต์’ ” (เอ็กโซตัส, 8 : 16)

“ฝูงตั๊กแตนลงทั่วแผ่นดินอียิปต์ และจับอยู่ทั่วเขตแดนอียิปต์ทั้งหมดแต่ก่อนไม่เคยมีตั๊กแตนฝูงใหญ่อย่างนี้เลย และต่อไปข้างหน้าจะหามีอย่างนั้นอีกหรือไม่ ?” (เอ็กโซตัส, 10 : 14)

“พวกมายากลจึงทูลฟาโรห์ว่า “นี่เป็นกิจการแห่งนิ้วพระหัตถ์พระเจ้า” ฝ่ายฟาโรห์มีพระทัยแข็งกระด้าง หาเชื่อฟังเขาไม่ จริงดังที่พระเจ้าตรัสไว้แล้ว” (เอ็กโซตัส, 8:19)

ความหายนะบางอย่างก็เกิดจากวัตถุที่เอามาบูชาให้เป็นเสมือนพระเจ้า ดังเช่น แม่น้ำไนล์ และกบนั้นเป็นสิ่งที่เคารพบูชาของพวกเขา แต่แล้วพวกเขาก็ท้าทายมัน การคาดการณ์ของพวกเขาชักนำไปสู่พระเจ้าของพวกเขา และขอความช่วยเหลือจากพวกมัน

อัลลอฮฺได้ลงโทษพวกเขาผ่านพระเจ้าของพวกเขา ดังนั้น พวกเขาก็จะได้เห็นความผิดพลาด และตอบแทนความผิดที่พวกเขาเคยทำเอาไว้

จากคำอธิบายในพันธสัญญาณเก่า คำว่า “เรือด” ก็คือการที่แม่น้ำไนล์กลายเป็นเลือด ซึ่งเป็นคำอุปมาอุปไมย สำหรับการที่แม่น้ำไนล์กลายเป็นของเหลวสีแดง จากคำอธิบายของคัมภีร์นั้น สิ่งที่ทำให้แม่น้ำเป็นสีแดง นั่นก็คือแบคทีเรียชนิดหนึ่ง

แม่น้ำไนล์นั้นถือเป็นแหล่งกำเนิดแห่งชีวิตของชาวอียิปต์ ทุก ๆ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแหล่งกำเนิดดังกล่าว นั่นหมายถึงความตายทั่วทั้งอียิปต์

หากว่าแบคทีเรียได้ครอบคลุมแม่น้ำไนล์ จนทำให้น้ำได้กลายเป็นสีแดงแล้ว ก็เท่ากับว่าทุก ๆ ชีวิตที่ใช้น้ำในแม่น้ำแห่งนี้จะต้องติดเชื้อจากแบคทีเรียดังกล่าว

คำอธิบายล่าสุดเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้แม่น้ำไนล์เปลี่ยนเป็นสีแดงก็คือเกิดจากโปรโตซัว รวมทั้งเกลือสาหร่ายทะเล (แพลงตอนสัตว์) และสัตว์ชั้นต่ำบางชนิด การแพร่ระบาดของสิ่งเหล่านี้ในน้ำจะขจัดออกซิเจนในน้ำออกไป และสร้างสารพิษที่เป็นอันตราย ทั้งกับปลาและกบ

จากบทเอ็กโซตัส ในคัมภีร์ไบเบิล แพทริเซีย เอ นักสำรวจทางทะเล ได้เขียนบทความในวารสารประจำปี เรื่อง “the Annals of the New York Academy of Science” กล่าวไว้ว่าในบรรดาแพลงตอนพืชกว่า 5,000 ชนิดนั้นมีไม่เกิน 50 ชนิดเท่านั้นที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตของสัตว์น้ำ และในวารสารเดียวกัน อีเวาน ซี. ดี. ทอดด์ (Ewen C.D. Todd) แห่งสาธารณสุขแคนาดาได้อ้างถึงข้อมูลในประวัติศาสตร์และก่อนประวัติศาสตร์ว่า มีตัวอย่างกว่า 20 ตัวอย่าง ที่แสดงให้เห็นว่าแพลงตอนพืชได้ระบาดไปทั่วทุกหนทุกแห่งในโลก ดับบลิว,คาร์มิชเชล และ ไอ. อาร์. ฟัลโคเนอร์ ได้ทำบัญชีรายการโรคที่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสด โจแอน เอ็ม. นักนิเวศวิทยาทางทะเลแห่งมหาวิทยาลัยรัฐนอร์ธแคโรไลนา ได้อธิบายเกี่ยวกับสัตว์ชั้นต่ำที่มีชื่อว่า Pfiesteria piscimerte (ถูกค้นพบในปากแม่น้ำ) ซึ่งมีความสามารถตามนัยของชื่อมันนั่นคือ ฆ่าปลาได้

ในยุคของฟิรฺเอาน์นั้น ได้เกิดภัยพิบัติชนิดนี้ขึ้น อ้างอิงจากโครงเรื่องนี้ คือ เมื่อแม่น้ำไนล์แปดเปื้อน ปลาก็เน่าตาย ชาวอียิปต์ก็พลอยสูญเสียแหล่งอาหารที่สำคัญตามไปด้วย เมื่อปราศจากนักล่าไข่กบอย่างปลา กบก็สามารถผสมพันธุ์วางไข่ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งบ่อน้ำและแม่น้ำไนล์ ทำให้ประชากรกบมีความหนาแน่นมากเกินไป สุดท้ายก็จะต้องหนีออกจากแหล่งสารพิษปนเปื้อนและอพยพหนีไปอยู่บนบกทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ดังนั้น มีทั้งที่ตายบนบกและเน่าสลายในแหล่งน้ำเหมือน ๆ กับปลา แม่น้ำไนล์และดินแดนบริเวณใกล้เคียงจึงกลายเป็นที่ที่มีแต่ความเน่าเปื่อยและกลิ่นเหม็น น้ำก็ไม่สามารถดื่มกินหรืออาบได้ ยิ่งไปกว่านั้นการหมดไปของกบทำให้แมลงจำพวกเหาและตั๊กแตนต่าง ๆ แพร่ขยายมากเกินกว่าที่ควรอย่างรวดเร็ว

ท้ายที่สุด ไม่ว่าความหายนะจะเกิดขึ้นที่ไหนอย่างไร ? และมันได้ส่งผลอะไรต่อสิ่งที่หลงเหลือ ? ทั้งฟิรฺเอาน์และประชาชาติผู้ปฏิเสธของเขาก็ไม่หันมาหาอัลลอฮฺและไม่ใส่ใจ แต่กลับหยิ่งยโสจองหองเหมือนเดิม

พวกเขาจัดได้ว่าเป็นบุคคลที่เจ้าเล่ห์เพทุบาย คิดที่จะหลอกลวงมูซา และนั่นคือสิ่งที่ทำให้อัลลอฮฺต้องขัดขวาง เมื่อบทลงโทษที่น่าสะพรึงกลัวลงมายังพวกเขา ทันใดนั้น พวกเขาก็ขอร้องให้มูซาช่วยปกป้องพวกเขาจากมัน

“และเมื่อมีการลงโทษเกิดขึ้นแก่พวกเขา พวกเขาก็กล่าวว่า โอ้ มูซา ! จงขอต่อพระเจ้าของท่านให้แก่เราตามที่พระองค์ได้สัญญาไว้ที่ท่านเถิด ถ้าหากท่านได้ปลดเปลื้องการลงโทษนั้นให้พ้นจากเราแล้ว แน่นอน เราจะศรัทธาต่อท่าน และแน่นอน เราจะส่งวงศ์วานอิสรออีลไปกับท่าน

ครั้นเมื่อเราได้ปลดเปลื้องการลงโทษนั้นให้พ้นจากพวกเขาไปยังกำหนดหนึ่ง ซึ่งพวกเขาไปถึงกำหนดนั้นแล้ว ทันใดนั้นพวกเขาก็ผิดสัญญา” (ซูเราะฮฺ อัลอะอฺรอฟ : 134-135)


………………………………
**** ฟิรฺเอาน์ผู้ที่จมอยู่ใต้น้ำ*****
ฮารูน ยะฮฺยา : เขียน
ซากี เริงสมุทร์ และกอมารียะฮ์ อิสมาแอ : แปล
(จากหนังสือ : ประชาชาติที่ถูกทำลาย)
อดทน อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น