อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อัสสุนนะฮ



1. ความหมายอัสสุนนะฮในเชิงภาษา

หมายถึง แนวทาง (الطريقة) ดังหะดิษที่ว่า

وعَنْ أَبِي سَعِيدٍ الْخُدْرِيّ، قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللّهِ صلى الله عليه وسلم "لَتَتّبِعُنّ سَنَنَ الّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ. شِبْراً بِشِبْرٍ، وَذِرَاعاً بِذِرَاعٍ. حَتّىَ لَوْ دَخَلُوا فِي جُحْرِ ضَبَ لاَتّبَعْتُمُوهُمْ" قُلْنَا: يَا رَسُولَ اللّهِ آلْيَهُودُ وَالنّصَارَىَ؟ قَالَ "فَمَنْ؟

ความว่า: รายงานจากอบีซะอีด อัลคุดรีย์กล่าวว่า รซูลุลลอฮ กล่าวว่าพวกท่านจะเดินตามสุนนะฮ(แนวทาง)คนยุคก่อนพวกท่าน ทีละคืบ ทีละศอก หากแม้นพวกนั้นจะเดินเข้าไปในรูแย้ พวกท่านก็จะเดินตามพวกนั้นเข้าไป สาวกก็ถามท่านว่า: พวกเหล่านั้นคือชาวยิวและชาวคริสต์ใช่ไหม? ท่านก็ตอบ: แล้วจะเป็นใครอีกล่ะ นอกเหนือพวกนั้น - อัลบุคอรี กิตาบุลเอียะติศอม

2. ความหมายอัสสุนนะฮในเชิงวิชาการ

2.1 ความหมายอัสสุนนะฮในทัศนะของนักวิชาการหะดิษ

ما أضيف إلى النبي - صلى الله عليه و سلم - من قول أو فعل أو تقرير أو وصف خَلْقي أو خُلُقي سواء كان قبل البعثة أو بعدها

“สิ่งที่ถูกนำไปเกี่ยวข้องกับท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จาก คำพูด , การกระทำ ,การยอมรับ , ลักษณะความเป็นมนุษย์(ของท่านนบี) หรือ เกี่ยวกับมารยาท(ของท่านนบี) ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนการเป็นนบี และหลังจากเป็นนบีก็ตาม - ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 13 หน้า 259 และ อัสสุนนะฮ วะมะกานะตุฮา ฟีอัตตัชเรียะ อัลอิสลามีย์ ของ อัสสุบาอี หน้า 47

2.2 ความหมายอัสสุนนะฮในทัศนะของนักวิชาการหลักนิติศาสตร์อิสลาม

ما أضيف إلى النبي - صلى الله عليه و سلم - من قول أو فعل أو تقرير "

“สิ่งที่ถูกนำไปเกี่ยวข้องกับท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จาก คำพูด , การกระทำ หรือ การยอมรับ - อัลอะหฺกาม ฟีอุศูลิลอะหกาม ของ อัลอะมะดีย์ เล่ม 1 หน้า 156 และ อัรชาดุลฟุหูล ของ อัชเชากานีย์ หน้า 67

2.3 ความหมายอัสสุนนะฮในทัศนะของนักกฎหมายอิสลาม (ฟุเกาะฮาฮฺ)

ما يقابل الواجب " ، و تسمى المستحب و النفل و المندوب و المرغب فيه

สิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “วาญิบ” และ ได้ถูกเรียกว่า “มุสตะหับบะฮ” นัฟลุน , มันดูบ และ สิ่งที่ถูกส่งเสริมให้กระทำ – ดู อัลอิดดะฮ ฟีอุศูลิลฟิกฮ ของ อบียะอลา เล่ม 1 หน้า 66 และ ฟัตหุลบารีย์ ของ อัลหาฟิซ อิบนุหะญัร เล่ม 13 หน้า 259

อิหม่ามอะหมัด( ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

أصول السنة عندنا التمسك بما كان عليه أصحاب رسول الله صلى الله عليه وسلم، والاقتداء بهم وترك البدع، وكل بدعة فهي ضلالة، وترك الخصومات والجلوس مع أصحاب الأهواء وترك المراء والجدال والخصومات في الدين،

“รากฐานอัสสุนนะฮ ในทัศนะของเราคือ การยึดมั่น ด้วยสิ่งที่บรรดาเศาะหาบะฮของรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ยืนหยัดอยู่บนมัน ปฏิบัติตามพวกเขา , ทิ้งบรรดาบิดอะฮ และทุกบิดอะฮ มันคือ การหลงผิด,
ทิ้งการทะเลาะวิวาทกัน, การนั่งร่วมกับบรรดาตามอารมณ์ , ละทิ้งการวิวาทกัน, การโต้เถียงกันและการทะเลาะวิวาทกันในเรื่องของศาสนา – ชัรหุอุศูลอัลเอียะติกอด อะฮลิสสุนนะฮ เล่ม 1 หน้า 156

อิหม่ามอะหมัด( ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

والسنة عندنا آثار رسول الله صلى الله عليه وسلم، والسنة تفسر القرآن وهي دلائل القرآن وليس في السنة قياس، ولا تضرب لها الأمثال، ولا تدرك بالعقول ولا الأهواء إنما هو الاتباع وترك الهوى

และ อัสสุนนะฮนะฮ ในทัศนะของเราคือ บรรดาร่องรอย(หะดิษ)ของรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และอัสสุนนะฮ นั้น มันทำหน้าที่อรรถาธิบายอัลกุรอ่าน และมันคือ บรรดาหลักฐานของอัลกุรอ่าน และในอัสสุนนะฮนั้นไม่มีการกิยาส(ที่ขัดแย้งกับตัวบท) ,ไม่มีการยกตัวอย่างมาเทียบกับอัสสุนนะฮ และ อัสสุนนะฮ จะไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยความคิดเห็นและอารมณ์ ความจริง มัน(อัสสุนนะฮ)คือ การเจริญรอยตามและละทิ้งการตามอารมณ์เท่านั้น
- ชัรหุอุศูลุสสุนนะฮของอิหม่ามอะหมัด อธิบาย โดย الشيخ عبد العزيز بن عبد الله الراجحي เรื่อง معنى السنة وعلاقتها بالقرآن

عن المقدام بن معد يكرب رضي الله عنه ، أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : ألا إني أوتيت الكتاب ومثله معه

รายงานจากอัลมิกดาม บิน มะอฺดุ ยักรอ็บ (ร.ฎ) ว่า แท้จริงรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
พึงทราบไว้เถิดว่า แท้จริง ฉันได้รับคัมภีร์(อัลกุรอ่าน)และ สิ่งที่เหมือนกับมัน(อัลกุรอ่าน) มาพร้อมๆกับมัน – รายงานโดยอะหมัดและอบูดาวูด

อิบนุกอ็ยยิม (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

وهذا هو السنة بلا شك

“และนี้คือ อัสสุนนะฮ อย่างไม่ต้องสงสัย” - อัตติบยาน ฟีอักสามิลกุรอ่าน หน้า 156
หมายความว่า คำว่า “สิ่งที่เหมือนกับมัน(อัลกุรอ่าน) มาพร้อมๆกับมัน” หมายถึง อัสสุนนะฮ”

والسنة جاءت مبينة لمجمل القرآن ومكملة له، كما في قوله -صلى الله عليه وسلم ألا وإني أوتيت القرآن ومثله معه فكثير من الأحكام الشرعية جاءت مجملة في القرآن، وجاء بيانها وتفسيرها وكيفيتها في السنة، وأمر الله -سبحانه وتعالى- باتباع سنة النبي -صلى الله عليه وسلم-، كما في قوله -تعالى فَإِنْ تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ وكما في قوله -صلى الله عليه وسلم عليكم بسنتي وسنة الخلفاء الراشدين المهديين من بعدي ولا يجادل في حجية السنة إلا أهل البدع، وعموم المسلمين جميعا يحتجون بسنة النبي صلى الله عليه وسلم.

และอัสสุนนะฮ ได้มา เพื่อทำหน้าที่อธิบายความหมายโดยสรุปของอัลกุรอ่านและเพื่อทำความสมบูรณ์ให้แก่อัลกุรอ่าน ดังสิ่งที่ปรากฏในคำพูดของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ว่า “พึงทราบไว้เถิดว่า แท้จริง ฉันได้รับคัมภีร์(อัลกุรอ่าน)และ สิ่งที่เหมือนกับมัน(อัลกุรอ่าน) มาพร้อมๆกับมัน” เพราะส่วนมากจากบรรดาข้อกำหนด(หุกุม)เกี่ยวกับ ศาสนบัญญัติ มันมาในลักษณะความหมายโดยสรุปในอัลกุรอ่าน และ การให้รายละเอียด ,การอรรถาธิบาย และการพรรณนารูปแบบวิธีการของมัน ได้ปรากฏมาในอัสสุนนะฮ และอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงใช้ให้ปฏิบัติตามสุนนะฮของนบีศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังปรากฏในคำตรัสของอัลลอฮ ตะอาลาที่ว่า “ แล้วถ้าหากพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำมันกลับไปยังอัลลอฮและรอซูล และดังเช่นสิ่งที่ปรากฏในคำพูดคำพูดของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมที่ว่า “พวกท่านมีหน้าที่ปฏิบัติตามสุนนะฮของฉันและสุนนะฮของบรรดาเคาะลิฟะฮผู้ชี้ทางที่ถูกต้อง ผู้ได้รับทางนำ หลังจากฉัน และ ไม่มีผู้ใดโต้แย้งหลักฐานอัสสุนนะฮ นอกจาก ชาวบิดอะฮเท่านั้น และบรรดามุสลิมทั่วไปทั้งหมด พวกเข้าอ้างหลักฐานด้วยสุนนะฮของของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม- ชัรหุอัลมะหัลลา อะลัลวะเราะกอต ของ الشيخ أحمد بن عبد الله بن حميد เรื่อง นิยามของอัสสุนนะฮ
_________________
والله أعلم بالصواب



อะสัน หมัดอะดั้ม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น