คำนี้ ได้ยินกันบ่อย เช่น ปัญหาคิลาฟียะฮ ,เป็นโรคจิต หมกมุ่นอยู่ในเรื่องคิลาฟียะฮ มันเป็นปัญญหาคิลาฟิยะฮ อย่าไปพูด เดี๋ยวคนแตกแยก....เพราะฉนั้นเรามาศึกษาคำว่า "คิลาฟียะฮกันดีไหม..
คำว่า คิลาฟียะฮ แปลว่า ขัดแย้ง แปลว่า แตกต่าง ในวิชาการทางศาสนา หมายถึง การที่บุคคลมีความเชื่อ มีความเห็นต่างกัน
ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งมักจะเรียกภาษาอาหรับว่า المسائل الخلافية หมายถึงปัญหา หรือประเด็นขัดแย้ง หรือมีความเห็นต่างกัน
การมีความเห็นต่างกันเป็นเรื่อง ธรรมดา และเป็น ธรรมชาติของมนุษย์ แต่ถ้ามนุษย์ในโลกนี้มีความเห็นตรงกันหมด นี่ซิ มันผิดธรรมชาติ
สำหรับปัญหาศาสนาที่มีความเห็นที่แตกต่างกันนั้น มีสาเหตุ พอสรุปได้ดั่งนี้
๑. เข้าใจตัวบทต่างกัน
๒. ความความรู้ไม่เท่ากันในเรื่องนั้นๆ หรือ บางคนได้รับหะดิษเกี่ยวกับเรื่องนั้น แต่บางคนไม่ได้รับ เป็นต้น
๓. การตีค่าของหะดิษในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่เหมือนกัน บ้างก็เชื่อว่า เศาะเฮียะ บ้างก็เชื่อเฎาะอีฟ
๔,. ความเห็นไม่ตรงกันในประเด็นที่ไม่มีหลักฐานยืนยัน บ้างก็จำกัดที่หลักฐาน บ้างก็ใช้ความเห็นตัดสินว่าดีถึงแม้จะไม่มีหลักฐาน เป็นต้น
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
وكثير من مجتهدي السلف والخلف قد قالوا وفعلوا ما هو بدعة ولم يعلموا أنه بدعة، إما لأحاديث ضعيفة ظنوها صحيحة، وإما لآيات فهموا منها ما لم يُرد منها، وإما لرأي رأوه، وفي المسألة نصوص لم تبلغهم، وإذا اتقى الرجل ربه ما استطاع دخل في قوله: {رَبَّنَا لاَ تُؤَاخِذْنَا إِن نَّسِينَا أَوْ أَخْطَأْنَا} [البقرة:286
และส่วนมากจากมุจญตะฮิด ยุคสะลัฟและเคาะลัฟ พวกเขาได้กล่าวและได้ทำ บางสิ่ง ที่มันเป็นบิดอะฮ โดยที่เขาไม่รู้ว่า มันเป็น บิดอะฮ อาจจะเป็นเพราะ บรรดาหะดิษเฎาะอีฟ ที่พวกเขาเข้าใจว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ , อาจจะเป็นเพราะ บรรดาอายะฮ ที่ พวกเขาเข้าใจ ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมายจากมัน ,อาจจะเป็นเพราะความเห็นที่พวกเขาได้แสดงความเห็น และอาจจะเป็นเพราะในบางประเด็นปัญหา หลักฐานที่เป็นตัวบท ไม่ได้ถึงไปยังพวกเขา และเมื่อ คนนั้น ยำเกรงต่อ พระเจ้าของเขา ตามขีดความสามารถของเขา เขาก็เข้าอยู่ในคำดำรัสของพระองค์ที่ว่า (" โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ได้โปรดอย่าเอาผิดเราในสิ่งที่เราลืมหรือ ผิดพลาด ) อัลบะเกาะฮเราะฮ /286 - มัจญมัวะอัลฟะตาวา 19/191
เพราะฉะนั้น การตามผู้รู้ต้อง ใช้สติปัญญาและเหตุผลในการตาม ไม่ใช่ตามแบบหูหนวกตาบอด หรือ ยึดติดกับผู้คนใดคนหนึ่ง
แบบปิดหูปิดตา
ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
فدين الله مبني على اتباع كتاب الله، وسنة نبيه، وما اتفقت عليه الأمة، فهذه الثلاثة هي المعصومة، وما تنازعت فيه الأمة إلى الله والرسول, وليس لأحد أن ينصب للأمة شخصًا يدعو إلى طريقته، يوالي عليها ويعادي، غير كلام الله ورسوله وما اجتمعت عليه الأمة، بل هذا من فعل أهل البدع الذين ينصبون لهم شخصا أو كلاما يفرقون به بين الأمة، يوالون به على ذلك الكلام أو تلك السنة ويعادون
ดังนั้นศาสนาของอัลลอฮ วางอยู่บนรากฐาน บนการตาม คัมภีร์ของอัลลอฮ และสุนนะฮของนบีของพระองค์ และสิ่งที่ประชาชาติ(อุมมะฮ)ได้มีมติฟ้องกัน และ นี่คือ รากฐานสามประการ มันคือสิ่งที่ได้รับการประกันจากความผิดพลาด และสิ่งที่ประชาชาตินำข้อขัดแย้งไปหาอัลลอฮและรอซูล และไม่อนุญาตแก่บุคคลใด กำหนดบุคคลหนึ่งบุคคลใดให้แก่ประชาชาติ(อุมมะฮ) แล้วเรียกร้องไปสู่แนวทางของเขา เป็นมิตรและเป็นศัตรูกันอยู่บนแนวทางนั้น อื่นจากคำพูดของอัลลอฮและรอซูลของพระองค์ และสิ่งที่อุมมะฮมีมติฟ้องกัน แต่ทว่า กรณีนี้(การกำหนดบุคคลให้ประชาติถือตาม) เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำของชาวบิดอะฮ ที่พวกเขากำหนด บุคคลหนึ่ง บุคคลใด ให้แก่พวกเขา หรือกำหนด คำพูด(ทัศนะ)ใดที่ทำให้เกิดการแตกแยกระหว่างอุมมะฮ พวกเขาเป็นมิตรกันบนคำพูด(ทัศนะ)นั้นหรือ เป็นศัตรูกันบนแนวทางนั้น - ฟะตาวาอิบนุตัยมียะฮ 20/64
การเห็นต่างในสังคมบ้านเรา ไม่เหมือนการเห็นต่างของอุลามาอฺยุคสะลัฟ เพราะพวกเขามีความเห็นต่าง แต่พวกเขาไม่แตกแยก ไม่เป็นศัตรู กัน ไม่เหมือน มุสลิมเราในยุคปัจจุบัน
ปัญหาคิลาฟียะฮที่เกิดในสังคมบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็นปัญหาการยึดมัซฮับ เหนือ ตัวบทที่เป็นหลักฐานจากอัลกุรอ่านและหะดิษ
กล่าวคือ ไม่ว่า อัลกุรอ่านและหะดิษ เศาะเฮียะอย่างไร แต่ถ้าไม่ตรงกับมัซฮับของฉัน หรือ คำสอนครูของฉัน ฉันไม่รับ แบบนี้
เรียกว่า “เอาความเห็นไปขัดแย้งตัวบท” เป็นประเด็นคิลาฟียะฮที่ควรตำหนิ เป็นอย่างยิ่ง
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
ولو كان قوم على بدعة أو فجور ولو نهوا عن ذلك وقع بسبب ذلك شر أعظم مما هم عليه من ذلك ولم يمكن منعهم منه ولم يحصل بالنهي مصلحة راجحة لم ينهوا عنه
และหากคนกลุ่มหนึ่ง อยู่บน บิดอะฮ หรือ ความชั่ว และหากพวกเขาถูกห้ามจากดังกล่าว และด้วยเหตดังกล่าว(ด้วยเหตุที่ไปห้าม)ก็จะเกิดความชั่วร้ายใหญ่หลวงยิ่งกว่าสิ่งที่พวกเขาอยู่บนมัน จากดังกล่าวนั้น
และ เขาไม่สามารถที่จะยับยั้งพวกเขาได้ และด้วยการห้ามนั้นไม่ก่อให้เกิดผลดีที่มีน้ำหนัก(หมายถึงเกิดผลเสียมากกว่า) พวกเขาจะไม่ถูกห้ามจากมัน – มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 14 หน้า 472
กล่าวคือ หากคนกลุ่มใดทำบิดอะฮ หรือทำชั่ว หากห้าม ก็จะมีผลทำให้ความชั่วนั้นรุนแรงขึ้น “หรือที่สำนวนไทยกล่าวว่า “ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ” และไม่สามารถที่จะไปยับยั้งได้ และไม่ก่อให้เกิดผลดีเลย ก็ไม่ควรจะห้าม ณ เวลานั้น
นี่คือ มารยาทอย่างหนึ่งที่ผู้รู้จะต้องวางตัวในท่ามกลางสังคมทีมีความเข้าใจและการกระทำที่แตกต่างและหลากหลาย ต้องดูจังหวะและหากุศโลบายที่แยบยลในการห้ามในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ควรจะหักด้ามพร้าด้วยเข่า
อิหม่ามอัชชาฟิอีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
قولي صحيح يحتمل الخطأ وقول غيري خطأ يحتمل الصواب
คำพูดของฉันที่ว่าถูกต้อง อาจจะเป็นไปได้ว่าผิดพลาด และคำพูดของคนอื่นจากฉันที่ผิดพลาด อาจจะเป็นไปได้ว่า ถูกต้อง
راجع رسالة رفع الملام عن الأئمة الأعلام لابن تيمية، والكفاية في عِلم الرواية للخطيب ص 52 وما بعدها، وشرح الألفية للعراقي ص 9.
@@@@
มนุษย์ทุกคนผิดพลาดได้นอกจากท่านนบี ศอลฯ ไม่ว่า เขาจะเป็นมุจญตะฮิดก็ตาม จากคำพูดของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ สอนให้เราอย่าได้ตัดสิน ทัศนะผู้อื่น แบบอคติ ต้องศึกษาว่า ทัศนะที่ต่างกับเรา เขามีหลักฐานใหม และทัศนะของเรามีหลักฐานไหม ไม่ใช่นั่งเทียนตัดสิน ว่าคนอื่นผิด
อิบนุ อบิลอิซ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
مَسَائِلُ النِّزَاعِ الَّتِي تَتَنَازَعُ فِيهَا الْأُمَّةُ ، فِي الْأُصُولِ وَالْفُرُوعِ - إِذَا لَمْ تُرَدَّ إِلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ - لَمْ يَتَبَيَّنْ فِيهَا الْحَقُّ ، بَلْ يَصِيرُ فِيهَا الْمُتَنَازِعُونَ عَلَى غَيْرِ بَيِّنَةٍ مِنْ أَمْرِهِمْ
บรรดาประเด็นขัดแย้ง ที่อุมมะฮขัดแย้งกันในมัน ในเรื่อง อุศูล(หลักศรัทธา)และฟุรูอฺ(หมายหลักปฏิบัติ) เมื่อมันไม่ถูกนำกลับไปยังอัลลอฮ(อัลกุรอ่าน)และรอซูล(อัสสุนนะฮ) ความจริงก็จะไม่ปรากฏในมัน
ยิ่งไปกว่านั้น บรรดาผู้ที่ขัดแย้งในมัน ก็จะอยู่บนความไม่ชัดเจนจากกิจการ(ศาสนา)ของพวกเขา..ชัรหุอะกีดะฮอัฏเฏาะหาวียะฮ เล่ม 2 หน้า 778
@@@@
สรุป หากประเด็นขัดแย้ง ไม่ว่าในเรืองอะกีดะฮ หรือเรื่อง อิบาดะฮ หากไม่นำกลับไปให้อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ ตัดสินความจริงก็จะไมปรากฏ
والله أعلم بالصواب —
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น