อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สะลัฟมอบหมายความหมายคำศัพท์เกี่ยวกับสิฟาตจริงหรือ



สะลัฟ มอบหมายความหมายและรูปแบบวิธีการอายะฮและหะดิษสิฟาต ให้แก่อัลลอฮจริงหรือ
มีคนบางกลุ่ม บอกว่า บรรดาอายาตอัลกุรอ่านและหะดิษที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮ นั้น จะต่องปล่อยให้ผ่านไป ไม่ยุ่งกับความหมายไม่แปลความหมาย แต่จะมอบหมายความรู้เกี่ยวกับความหมายและรูปแบบของสิฟาตนั้น ให้แก่อัลลอฮ

การกล่าวอ้างเช่นนี้ หมายความว่า ถ้าเป็นอายะฮและหะดิษที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮ ก็ให้อ่านอย่างเดียว จำอย่างเดียว ไม่ต้องรู้ความหมาย ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร มาดูคำอธิบายต่อไปนี้
อัลมุบาเราะกะฟูรีย์ กล่าวว่า

قوله ( وأمروها بلا كيف ) بصيغة الأمر من الامرار أي أجردها على ظاهرها ولا تعرضوا لها بتأويل ولا تحريف بل فوضوا الكيف إلى الله سبحانه وتعالى ( وهكذا قول أهل العلم من أهل السنة والجماعة ) وهو الحق والصواب
และคำพูดของเขา(สะลัฟ)ที่ว่า( ปล่อยมันให้ผ่านไปโดยไม่อธิบายรูปแบบวิธีการ)ด้วยสำนวนของคำสั่ง ที่มาจากรากศัพท์คำว่า อัลอิมรอรุ หมายถึง ปล่อยมันให้คงอยู่บนความหมาย(ของคำศัพท์)ที่ปรากฏของมัน และพวกท่านอย่าแสดงมันด้วยการตีความ(ตะวีล)และเปลี่ยนแปลง แต่ทว่า จงมอบหมายรูปแบบวิธีการ แก่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา และนี่คือ คำพูดของนักวิชาการ จากอะฮลุสสุนนะฮวัลญะมาอะฮ) และมันคือ ความจริงและความถูกต้อง– ตุหฟะตุลอะหวะซีย เล่ม 3 หน้า 267

จากรายละเอียดข้างต้นสรุปว่า การมอบหมายสิฟัตที่ถูกต้องคือ การรับรองความหมายและการมอบหมายรูปแบบวิธีการ

การมอบหมายในบรรดาพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮนั้น มี 2 ความหมาย

الأول : معنى صحيح ، وهو إثبات اللفظ ومعناه الذي يدل عليه ، ثم تفويض علم كيفيته إلى الله ، فنثبت لله تعالى أسماءه الحسنى ، وصفاته العلى ، ونعرف معانيها ونؤمن بها ، غير أننا لا نعلم كيفيتها .
1. ความหมายที่ถูกต้อง(เศาะเฮียะ) คือ การรับรองถ้อยคำและความหมายที่แสดงบอกถึงมัน หลังจากนั้น มอบหมายความรู้เกียวกับรูปแบบวิธีการ ไปยังอัลลอฮ แล้วเรารับรองบรรดาพระนามอันสวยงามและบรรดาคุณลักษณะอันสูงส่งให้แก่อัลลอฮผู้ทรงสูงส่ง และเรารู้ความหมายของมันและศรัทธาด้วยมัน โดยที่เราไม่รู้ว่า รูปแบบวิธีการของมันเป็นอย่างไร
فنؤمن بأن الله تعالى قد استوى على العرش ، استواء حقيقيا يليق بجلاله سبحانه ، ليس كاستواء البشر ، ولكن كيفية الاستواء مجهولة بالنسبة لنا ؛ ولذا ، فإننا نفوض كيفيته إلى الله ، كما قال الإمام مالك وغيره لما سئل عن الاستواء : "الاستواء معلوم ، والكيف مجهول" .
แล้วเราศรัทธา ว่าอัลลอฮตะอาลา ทรงประทับเหนือบัลลังค์(อะรัช) เป็นการประทับจริง ที่เหมาะสมกับความยื่งใหญ่และความบริสุทธ์ของพระองค์ ไม่เหมือนกับการประทับของมนุษย์ แต่ว่า รูปแบบวิธีการประทับเป็นอย่างไรนั้น สำหรับเรา ไม่เป็นที่รู้กัน และเพราะเหตุนี้ เราจึงมอบหมาย(ความรู้เกี่ยวกับ)รูปแบบวิธีการของมัน ไปยังอัลลอฮ ดังที่อิหม่ามมาลิก และคนอื่นจากเขากล่าวต่อสิ่งที่ถูกถามเกี่ยวกับอัลอิสติวาอฺว่า “การประทับนั้น เป็นที่รู้กัน และรูปแบบวิธีการนั้น ไม่เป็นที่รู้กัน

انظر : "مجموع الفتاوى" لشيخ الإسلام (3/25) .
ดู มัจญมัวะอัลฟะตาวา ของชัยคุลอิสลาม เล่ม 3 หน้า 23

والمعنى الثاني للتفويض - وهو معنى باطل - : إثبات اللفظ من غير معرفة معناه

2.ความหมายที่สอง คือ การตัฟวีฟ และมันคือ ความหมายที่ไม่ถูกต้อง คือ ยืนยันถ้อยคำ โดยไม่รู้จักความหมาย
จึงสรุปว่า การอ้างว่า สลัฟ มอบหมายความหมาย พร้อมกับรูปแบบวิธีการนั้น ไม่เป็นความจริง


والله أعلم بالصواب

.......................
อะสัน หมัดอะดั้ม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น