อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อำนาจของฟิรฺเอาน์ผู้ที่จมอยู่ใต้น้ำ




“เช่นเดียวกับสภาพแห่งวงศ์วานฟิรฺเอาน์และบรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเขา ซึ่งพวกเขาปฏิเสธบรรดาโองการแห่งพระเจ้าของพวกเขา แล้วเราก็ได้ทำลายพวกเขา เนื่องด้วยความผิดของพวกเขา และเราได้ให้วงศ์วานฟิรฺเอาน์จมน้ำตาย และทั้งหมดนั้นพวกเขาเป็นผู้อธรรม” (ซูเราะฮฺ อัลอัมฟาล : 54)

อารยธรรมอียิฟต์ยุคโบราณเป็นอารยธรรมที่รุ่งเรืองในยุคเดียวกันกับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์โบราณเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นหนึ่งในอารยธรรมเก่าที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นอารยธรรมที่มีการจัดระเบียบสังคมชั้นสูงเมื่อเทียบกับอารยธรรมอื่น ๆ ในยุคเดียวกัน ชาวอียิปต์โบราณมีการประดิษฐ์ตัวอักษรและใช้เพื่อการสื่อสารมาตั้งแต่ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล พวกเขามีการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์เพื่อการปกป้องจากอันตรายจากภายนอก รวมทั้งมีการจัดการชลประทานเพื่อการเพาะปลูก อีกทั้งลักษณะภูมิประเทศที่มีธรรมชาติอันงดงามได้ส่งเสริมให้ชาวอียิปต์โบราณพัฒนาอารยธรรมของพวกเขาจนถึงขั้นสูงสุด (1) (อ้างอิง : เออร์เนสต์ เอช. กอมบริช, Gemc;rt icin Kisa Bir Dtinya Tarihi, (ฉบับแปลเป็นภาษาเติร์กิช โดย อะฮฺเมด มัมคู โด.เคอเซ 1985), อิสตันบูล : อินคิแลป พับลิชชิ่ง เฮาส์, 1997, หน้า 25

แต่ทว่า สังคมที่มีอารยธรรมเช่นนี้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของฟาโรห์ ระบบการปกครองของฟาโรห์นั้น เป็นการปกครองที่ปฏิเสธแนวทางที่ถูกต้อง เที่ยงตรง ยุติธรรม ดังที่อัลกุรอานได้กล่าวถึง พวกเขาหยิ่งผยองในอารยธรรมของตนเอง และดูหมิ่นแนวทางของพระผู้เป็นเจ้า ในที่สุด ไม่ว่าพวกเขาจะมีอารยธรรมระบบสังคม ระบบการเมืองที่สูงส่ง หรือกองกำลังทหารมหาศาลเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจช่วยให้พวกเขาปลอดภัยจากการถูกทำลาย
.....................

......อำนาจของฟาโรห์.....

อารยธรรมของอียิปต์โบราณนั้นเกิดขึ้นริมฝั่งแม่น้ำไนล์อันอุดมสมบูรณ์ ชาวอียิปต์ได้ตั้งถิ่นฐานในบริเวณแม่น้ำไนล์ เนื่องจากน้ำในแม่น้ำไนล์มากมายไม่มีวันหมด

พวกเขาสามารถทำการเพราะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ โดยอาศัยน้ำจากแม่น้ำแห่งนี้ ไม่จำเป็นต้องพี่งพาฝน นักประวัติศาสตร์ที่ชื่อ เอิร์นส์ เอช กอมบริช (Ernst H.Gombrich) ได้กล่าวถึงอารยธรรมอียิปต์โบราณไว้ในงานเขียนของเขาว่าทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่ร้อนมาก จนบางครั้งในไม่ตกเป็นเวลาหลายเดือน ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี่เองทำให้หลายพื้นที่ของทวีปนี้จึงกลายเป็นพื้นที่แห้งแล้งขนาดใหญ่ บางส่วนของทวีปนี้ปกคลุมไปด้วยทะเลทรายขนาดใหญ่ แม้กระทั่งทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ก็เต็มไปด้วยทะเลทราย เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากที่ฝนจะตกในดินแดนอียิปต์ แต่ประเทศนี้ ฝนไม่จำเป็นมากนัก เนื่องจากแม่น้ำไนล์ไหลผ่านผ่ากลางประเทศ

ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่สามารถควบคุมแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นสายน้ำที่สำคัญอย่างมาก ก็เท่ากับสามารถควบคุมแหล่งธุรกิจการค้าและการเกษตรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในแถบนี้ ฟาโรห์องค์ต่าง ๆ สามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่อำนาจของพวกเขาเหนือบรรดาประชาชนได้ด้วยเหตุดังนี้

พื้นที่ลุ่มน้ำไนล์มีพื้นที่ไม่มากนักในการก่อสร้างบ้านเรือนกระจายรอบ ๆ ตลอดลำน้ำ บริเวณรอบ ๆ แม่น้ำไม่สามารถขยายชุมชนให้เป็นชุมชนใหญ่ ดังนั้น ชาวอียิปต์จึงสร้างเมืองและหมู่บ้านที่เป็นชุมชนเล็ก ๆ กระจายตลอดลำน้ำแทนที่จะสร้างเมืองใหญ่ ด้วยเหตุดังกล่าวกษัตริย์เมเนส (King Menes) เป็นที่รู้จักกันดีว่าในประวัติศาตร์ว่าเป็นฟาโรห์ปกครองอียิปต์เป็นองค์แรก พระองค์เป็นผู้รวบรวมอียิปต์ยุคโบราณให้เป็นปึกแผ่นเมื่อสามพันปีก่อนคริสตกาล ความเป็นจริงแล้วคำว่า “ฟาโรห์” เดิมเป็นคำที่อ้างถึงพระราชวังที่กษัตริย์อียิปต์อาศัยอยู่ แต่ในช่วงเวลาต่อมาคำนี้กลายเป็นคำที่ใช้เรียกกษัตรยฺแห่งอียิปต์ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมกษัตริย์ต่าง ๆ ที่ปกครองอียิปต์โบราณเริ่มที่จะเรียกว่า “ฟาโรห์”

ฟาโรห์นั้นนอกจากมีอำนาจในการปกครอง ผู้บริหาร เจ้าผู้ครองนครและดินแดนทั้งหมดแล้ว ฟาโรห์เหล่านี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นพระเจ้าที่ใหญ่ที่สุดในสังคมอียิปต์โบราณที่แปรเปลี่ยนไปเป็นสังคมที่นับถือพระเจ้าหลายองค์หรือที่เรียกว่าสังคมพหุเทวนิยม การบริหารจัดการ ผลประโยชน์ รายได้ทรัพย์สมบัติและผลิตผลต่าง ๆ บนดินแดนของอาณาจักรอียิปต์ทั้งหมดเป็นของฟาโรห์

การปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของฟาโรห์เหนืออาณาจักอียิปต์ทำให้มีอำนาจมากมายมหาศาลสามารถที่จะบันดาลสิ่งใดก็ได้ตามใจปรารถนา ความชอบธรรมในการสร้างราชวงศ์แรกขึ้นมาครอบครองดินแดนอียิปต์นั้นเริ่มต้นโดยกษัตริย์เมเนส พระองค์สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์องค์แรกโดยรวบรวมดินแดนจากตอนเหนือไปจนถึงตอนล่างของอียิปต์ให้เป็นปึกแผ่น

น้ำในแม่น้ำไนล์ได้รับการปันส่วนแก่ประชาชนโดยผ่านการขุดคูคลองในขณะเดียวกันผลผลิต สินค้าและผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้ จะถูกควบคุมและนำไปบรรณาการแก่กษัตริย์ กษัตริย์จะทำการแจกจ่ายและปันส่วนสินค้าเหล่านี้ตามความต้องการของประชาชน จึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับกษัตริย์ในการสร้างอำนาจในพื้นที่ต่าง ๆ เหนือประชาชนเพื่อให้พวกเขายอมจำนนต่อกษัตริย์ กษัตริย์แห่งอียิปต์หรือที่เรากำลังจะเรียกว่าฟาโรห์ จึงดูราวกับว่าเป็นผู้วิเศษ ผู้เป็นเจ้าแห่งอำนาจที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ และในที่สุดก้กลายเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของประชาชน ซึ่งฟาโรห์เองก็มีความเชื่อเช่นนั้นเหมือนกันว่าพวกเขาคือพระเจ้าจริง ๆ

มีบางคำพูดของฟาโรห์ที่ได้ระบุไว้ในอัลกุรอานซึ่งเป็นบทสนทนากับมูซา พิสูจน์ได้ว่าเขาได้ยึดถือต่อความเชื่อนี้ เขาพยายามที่จะขู่มูซาด้วยการกล่าวว่า “เขากล่าวว่า หากเจ้ายึดถือพระเจ้าอื่นจากฉัน ฉันจะให้เจ้าอยู่ในหมู่ผู้ต้องขัง” (ซูเราะฮฺ อัชชุอะรออฺ : 29) และเขาได้กล่าวแก่ประชาชนรอบตัวเขาว่า “โอ้ปวงบริพารเอ๋ย ! ฉันไม่เคยรู้จักพระเจ้าอื่นใดของพวกท่านนอกจากฉัน โอ้ ฮามานเอ๋ย ! จงเผาดินให้ฉันด้วยแล้วสร้างหอสูงระฟ้า เพื่อที่ฉันจะได้ขึ้นไปดูพระเจ้าของมูซา และแท้จริงฉันคิดว่าเขานั้นอยู่ในหมู่ผู้กล่าวเท็จ” (ซูเราะฮฺ อัลเกาะศอศ : 38) การกล่าวเช่นนี้ก็เนื่องจากว่าเขาเห็นว่าฐานะของตัวเขาเองคือพระเจ้า


....................................
ฮารูน ยะฮฺยา : เขียน
ซากี เริงสมุทร์ และกอมารียะฮ์ อิสมาแอ : แปล
(จากหนังสือ : ประชาชาติที่ถูกทำลาย)
อดทน สู่ชัยชนะ โพสต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น