สำหรับเมาลิด ประเภทที่สองนั้น(18) เป็นซุนนะฮ์ เพราะมีบรรดาฮะดีษ ที่ได้รายงานเกี่ยวกับการซิกรุลลอฮ์ ตามนัยยะเฉพาะเจาะจง (มัคศูเศาะฮ์) และนัยยะโดยเปิดกว้าง (อามมะฮ์) เช่นคำกล่าวของท่านร่อซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า
لاَ يَقْعُدُ قَوْمٌ يَذْكُرُوْنَ اللهَ عَزَّ وَجَلَّ إِلَّا حَفَّتْهُمُ المَلاَئِكَةُ، وَغَشِيَتْهُمُ الرَّحْمَةُ، وَنَزَلَتْ عَلَيْهِمُ السَّكِيْنَةُ، وَذَكَرَهُمُ اللهُ فِيْمَنْ عِنْدَهُ
“ไม่มีชนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดทำการนั่งซิกรุลลอฮ์(19) อัซซะวะญัลล่า นอกจากว่า บรรดามะลาอิกะฮ์ จะห้อมล้อมพวกเขา ความเมตตาจะแผ่คลุมพวกเขา ความสงบสุข ก็ได้ลงมาบนพวกเขา และอัลเลาะฮ์ก็ทรงเอ่ยถึงพวกเขา แก่ผู้ที่อยู่ ณ พระองค์” (20)
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ชี้แจง
เหล่าเศาะหาบะฮ ,ตาบิอีน และบรรดาบรรพชนยุคสะลัฟ ผู้ทรงธรรม ยุคสามร้อยปีแรก ไม่ปรากฏว่า พวกเขาเอาหะดิษนี้มาเป็นหลักฐาน เฉลิมฉลองวันเกิดหรือเมาลิดนบี ศอ็ลฯ และไม่มีบรรดาอิหม่ามนักหะดิษอธิบายว่าหะดิษข้างต้น เป็นหลักฐาน การทำเมาลิด การอ้างหลักฐานข้างต้น ว่า เป็นหลักฐานอนุญาตให้ทำเมาลิดและ เมาลิด เป็นสุนนะฮ เป็นการใช้ความเห็นล้วนๆโดยไม่พิจาณาดูว่า สะลัฟเขาเอาหะดิษข้างต้นมาเป็นหลักฐานเรื่องอะไร
อิหม่ามนะวาวีย์เองได้กล่าวว่า
وَفِي هَذَا دَلِيلٌ لِفَضْلِ الِاجْتِمَاعِ عَلَى تِلَاوَةِ الْقُرْآنِ فِي الْمَسْجِدِ وَهُوَ مَذْهَبُنَا وَمَذْهَبُ الْجُمْهُورِ
ในหะดิษนี้ เป็นหลักฐานแสดงบอกถึงคุณค่าของการรวมตัวกัน อ่านอัลกุรอ่านในมัสญิด และมันคือ มัซฮับ(ทัศนะ/แนวทาง)ของเราและแนวทางของนักปราชญ์ส่วนใหญุ – ดูตุหฟะตุลอะวะซีย์ ชัรหุสุนันอัตติรมิซีย์ อธิบายหะดิษหมาย 3378 กิตาบุดดะอวาต
อิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وإنّما الاستحسان تلذذ، ولو جاز لأحد الاستحسان في الدين لجاز ذلك لأهل العقول من غير أهل العلم، ولجاز أن يشرع في الدين في كلّ باب، وأن يخرج كلّ أحد لنفسه شرعاً
ความจริง การอิสติหซาน (การกำหนดหุกุมศาสนาด้วยการเห็นว่าดี)นั้น คือการทำตามอารมณ์ เพราะหากอนุญาตให้คนใด ทำตามที่เห็นว่าดี(อิสติหซาน)ในเรื่องศาสนา แน่นอน ก็จะอนุญาตเรื่องดังกล่าว แก่นักใช้เหตุผล โดยไม่ใช่ผู้มีความรู้ และแน่นอน ก็จะอนุญาตให้เขาบัญญัติใน ศาสนา ในทุกๆเรื่อง และ ทุกคนก็จะสามารถออกศาสนบัญญัติให้แก่ตัวเองได้ – ดูอัรริสาละฮ หน้า 507
@@@
ข้างต้น ท่านอิหม่ามชาฟิอี อธิบายชัดเจนว่า หากให้คนเรากำหนดหุกุมศาสนา ตามความเห็นว่าสิ่งนั้นดี ก็แสดงว่าอนุญาตให้คนเราบัญญัติศาสนาให้แก่ตัวเองได้
เหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า
من استحسن فقد شرع
ผู้ใด กำหนดหุกุม ตามที่เห็นว่าดี แน่นอนเขาได้กำหนดศาสนบัญญัติขึ้นมา ใหม่ – ดูจากตำราเล่มเดียวกัน
อิบนุหัซมิน (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวไว้น่าสนใจคือ
الحق حق وإن استقبحه الناس، والباطل باطل وإن استحسنه الناس، فصح أن الاستحسان شهوة، واتباعُ للهوى وضلال، وبالله تعالى نعوذ من الخذلان.
ความจริง ก็คือความจริง แม้บรรดามนุษย์จะเกลียดชังมันก็ตาม และความเท็จ ก็คือความเท็จ แม้ว่ามนุษย์จะเห็นว่าดีก็ตาม ดังนั้น ที่ถูกต้องนั้น การกำหนดหุมกุมเพราะเห็นว่าดี นั้นเป็นการชะฮวัต(เป็นความปราถนาของอารมณ์) และ คือการตามอารมณ์ และเป็นการลุ่มหลง และขอวิงวอนต่ออัลลอฮตะอาลา ให้พ้นจากความสิ้นหวังด้วยเถิด – ดู อัลอะหกาม ฟี อุศูลิลอะหกาม เล่ม 2 หน้ 196
والله أعلم بالصواب
.......................
อะสัน หมัดอะดั้ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น