อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

ยาขนานเดียว รักษาได้ทุกโรค




หะดิษต่อไปนี้มักจะถูกคนบางกลุ่มนำมาใช้เป็นหลักฐานทุกบิดอะฮที่เขาสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น การฉลองเมาลิดนบี ,การทำอีซีกุบูร,การทำบุญเนื่องจากการตาย ๓ วัน ๗ วัน ,การเฝ้ากบูร ,การอ่านอัลกุรอ่านอุทิศบุญให้คนตาย อะไรต่อมิอะไร มากมาย ก็เอาหะดิษนี้เป็นหลักฐาน คล้ายกับยาขนาดเอก รักษาได้ทุกโรค หะดิษที่ว่าคือ

ท่านนบี ศอลฯ กล่าวว่า
من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

" ผู้ใด ที่ได้ทำแบบอย่างที่ดี ในอิสลาม แน่นอน เขาจะได้รับ ผลตอบแทนของมัน และผลตอบแทนของผู้ที่ได้ปฏิบัติด้วยกับมัน จากหลังเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ได้กับเขา) โดยไม่มีสิ่งใดลดลงไปเลย จากผลการตอบของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำแบบอย่างที่เลว ในอิสลาม แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่ 1017)
..............................

ขอชี้แจงหะดิษข้างต้นดังนี้

หะดิษนี้ ไม่ได้หมายถึง การอุตริบิดอะฮที่ดีในอิสลาม แต่หมายถึง การฟื้นฟูสุนนะฮ และ การเป็นแบบอย่าง ในการทำดี ทีศาสนามีบัญญัติไว้ เพราะที่มาของคำพูดของท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ข้างต้นเนื่องจากมีเศาะหาบะฮท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวอันศอร ได้ทำการเศาะดะฮเกาะฮ ในยามวิกฤต แล้วคนอื่นๆก็เอาเยี่ยงอย่าง

ดังสำนวนหะดิษข้างล่างนี้

ما جاء في صحيح عن جرير بن عبد الله رضي الله عنه قال : كنا عند رسول الله صلى الله عليه وسلم في صدر النهار ، قال : فجاءه قوم حُفاة عراة ، مجتابي النمار أو العباء ، متقلدي السيوف ، عامتهم من مُضَر ، بل كلهم من مُضَر ، فتمعّر وجه رسول الله صلى الله عليه وسلم لما رأى بهم من الفاقة ، فدخل ثم خرج ، فأمر بلالا فأذن وأقام فصلى ثم خطب ، فقال : (يَا أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُوا رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ مِنْ نَفْسٍ وَاحِدَةٍ) إلى آخر الآية . (إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلَيْكُمْ رَقِيبًا) ، والآية التي في الحشر : (اتَّقُوا اللَّهَ وَلْتَنْظُرْ نَفْسٌ مَا قَدَّمَتْ لِغَدٍ وَاتَّقُوا اللَّهَ) . تَصَدَّق رجل من ديناره ، من درهمه ، من ثوبه ، من صاع بُرّه ، من صاع تمره ، حتى قال : ولو بِشِقّ تمرة . قال : فجاء رجل من الأنصار بِصُرّة كادَتْ كَفّـه تعجز عنها بل قد عجزت . قال : ثم تتابَع الناس حتى رأيت كومين من طعام وثياب ، حتى رأيت وجه رسول الله صلى الله عليه وسلم يتهلل كأنه مذهبة ، فقال رسول الله صلى الله عليه وسلم : من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء

มาดูตอนหนึ่งของขอความในหะดิษ

قَالَ فَجَاءَ رَجُلٌ مِنْ الْأَنْصَارِ بِصُرَّةٍ كَادَتْ كَفُّهُ تَعْجِزُ عَنْهَا بَلْ قَدْ عَجَزَتْ قَالَ ثُمَّ تَتَابَعَ النَّاسُ حَتَّى رَأَيْتُ كَوْمَيْنِ مِنْ طَعَامٍ وَثِيَابٍ حَتَّى رَأَيْتُ وَجْهَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَتَهَلَّلُ كَأَنَّهُ مُذْهَبَةٌ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَنْ سَنَّ فِي الْإِسْلَامِ سُنَّةً حَسَنَةً

เขา(ญาบีร) กล่าวว่า "แล้วมีชายคนหนึ่งจากชาวอันศอร นำถุงเงิน จน จนฝ่ามือของเขาเกือบกำไม่ได้ แต่ทว่า มันไม่สามารถกำได้
เขา(ญาบีร)กล่าวว่า "หลังจากนั้น บรรดาผู้คนได้ติดตามกันมา จนกระทั่งข้าพเจ้า เห็น อาหารและเสื้อผ้ากองพะเนิน ดังเช่นภูเขาสองลูก จนกระทั้งข้าพเจ้ามองเห็นใบหน้ารซูลลุลลอฮ เปล่งประกายเสมือนหนึ่งทองคำ แล้วรซูลุลลอฮ กล่าวว่า "ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม.....จนจบหะดิษ
........
จะเห็นได้ว่า ข้างต้น เป็นเรื่องของคนที่ปฏิบัติตามสิ่งที่มีบัญญัติไว้ตือ การให้ทาน และมีคนเอาเยี่ยงอย่าง ไม่ใช่ คิดแบบอย่างที่อารมณ์ตัวเองเห็นว่าดี แล้วให้คนอื่นเอาเยี่ยงอย่างหรือปฏิบัติตาม

ท่านบินบาซ ได้อธิบายคำว่า "سن ในหะดิษว่า أحيا อีกความหมายหนึ่ง หมายถึงฟื้นฟูสุนนะฮที่ดี เพราะเรื่องราวมันเกี่ยวกับคนที่ทำแบบอย่างในคำสอนที่มีอยู่แล้ว
เพราะมีหะดิษหนึ่งระบุว่า

من دعا إلى هدى كان له من الأجر مثل أجور من تبعه لا ينقص ذلك من أجورهم شيئا

ผู้ใดเชิญชวนไปสู่ทางนำ เขาจะได้รับผลตอบแทน เหมือนกับผู้ที่ปฏิบัติตามเขา และดังกล่าวนั้นไม่ได้ลดน้อยจากผลตอบแทนของพวกเขา(พวกที่ปฏิบัติตาม)แม้แต่น้อย

ท่านบินบาซ ได้กล่าวถึง คำว่า من سن سنة حسنة ว่า

وليس معناها الابتداع في الدين

ความหมายของมัน ไม่ใช่อุตริบิดอะฮในศาสนา

ท่านอิบนุอุษัยมีให้ความหมายไว้สองแนวทางคือ

1. أي: من ابتدأ العمل بالسنة، หมายถึง ผู้ริเริมปฏิบัติตามสุนนะฮ

2. أي: سن الوصول إلى شيء مشروع หมายถึง ทำแบบอย่างที่นำไปสู่สิ่งที่ถูกบัญญัติไว้แล้ว- ดู ชัรหุหะดิษอัรบะอีน ของ อิบนุอุษัยมีน หน้า 311-312

.......

والله أعلم بالصواب


.......................
อะสัน หมัดอะดั้ม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น