อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

มุสลิมร่วมทำพิธี(ชีริก)ผูกผ้าหัวเรือเซ่นไหว้บูชาแม่ย่านางของต่างศาสนิกได้ด้วยหรือ.??



มุสลิมร่วมทำพิธี(ชีริก)ผูกผ้าหัวเรือเซ่นไหว้บูชาแม่ย่านางของต่างศาสนิกได้ด้วยหรือ.?? (นะอูซุบิลลาฮิ มินซาลิก)
งานประเพณีผูกผ้าเรือหัวโทง(จังหวัดกระบี่)
-------------------------------------------------------

เรือหัวโทง หนึ่งในสัญลักษณ์ของจังหวัดกระบี่
เรือหัวโทงทำจากไม้เนื้อแข็ง ส่วนใหญ่เป็นพวกตะเคียนหรือไม้ยอม ประกอบด้วยส่วนหลักๆ คือ หัวโทง ท้ายเรือ กระดูกงู และกงเรือ
ชาวเรือเชื่อกันว่า เรือหัวโทงทุกลำ(หรือเรือประเภทอื่น)มีเทพีสิงสถิตอยู่ นั่นก็คือ “แม่ย่านางเรือ” โดยเฉพาะในส่วนหัวโทงหรือหัวเรือนั้น ชาวเรือหลายคนถือเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามคนขึ้นไปเหยียบหรือนั่งคร่อมเด็ดขาด ยกเว้นจะทำการขอขมาเพื่อทำพิธีหรือเพื่อความจำเป็นอื่นๆ
“แต่ก่อนชาวประมงที่นี่เชื่อกันว่า แม่ย่านาง เป็นมุสลิม มีผิวคล้ำ ผมยาว ในเรือจะมีแม่ย่านางสถิตอยู่ถึง 3 แห่ง คือที่หัวเรือ กลางเรือ และท้ายเรือ” อ.สมาน วะจิดีย์ ที่ปรึกษาสมาคมเรือหางยาวอ่าวนาง เล่าให้ฟัง
ทุกๆปีชาวเรือในกระบี่จะจัดพิธีผูกผ้าเรือหัวโทงขึ้น เพื่อบูชาขอพรแม่ย่านาง เพื่อความเป็นสิริมงคล ขอพรให้แม่ย่านางช่วยคุ้มครองทุกครั้งยามออกทะเล ให้รอดพ้นจากคลื่นลมในทะเล
“สมัยก่อนชาวประมงยังขอพรแม่ย่านางให้ยามออกทะเล ขอให้จับกุ้ง หอย ปู ปลา ได้เยอะๆส่วนสมัยนี้ ชาวประมงจำนวนมากปรับเปลี่ยนวิถีไปวิ่งเรือเพื่อการท่องเที่ยว พวกเขาจึงปรับแนวคิดในการขอพรมาเป็นขอให้มีมีรายได้จากการวิ่งรับนักท่องเที่ยวเยอะๆ” อ.พะยอม จันนิ่ม วัฒนธรรมกระบี่เล่าให้ผมฟัง
พิธีผูกผ้าเรือหัวโทง เดิมชาวเรือต่างคนต่างทำ ผูกหัวเรือใครเรือมัน แต่ในปีนี้ทางจังหวัดกระบี่และอบต.อ่าวนาง มีแนวคิดว่าควรจัดเป็นงานใหญ่อย่างเป็นทางการให้ชาวเรือมาร่วมผูกหัวเรือร่วมกัน เพื่อสืบสานวัฒนธรรม และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวร่วมไปในวันเดียวกับ“งานกระบี่เบิกฟ้าอันดามัน”เพื่อบอกให้คนรู้ว่าฤดูกาลท่องเที่ยวกระบี่เริ่มแล้ว
สำหรับงานพิธีผูกผ้าเรือหัวโทงปีนี้จัดขึ้นที่ หน้าอ่าวนาง มีเรือเข้าร่วมทั้งหมด 406 ลำ โดยพิธีการผูกเรือหัวโทงมีการแถลงข่างข่าวเปิดตัว มีการแสดงผสมผสานทางวัฒนธรรม ด้วยการตีกลองสะบัดชัย ก่อนมีพิธีอ่านบทขอพร พรมน้ำมนต์ลงบนผ้าเพื่อความเป็นสิริมงคล แล้วจึงให้ผู้ชายที่เป็นเจ้าของเรือ คนขับเรือ นำผ้าแพร ผ้าผืน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผ้าสีจำนวนเลขคี่ 3 สีบ้าง 5 สีบ้าง ไปผูกที่หัวเรือ เรือบางลำนอกจากจะผูกผ้าแพรแล้วยังมีการประดับหัวเรือด้วยช่อดอกไม้ พวงมาลัยอย่างสวยงาม
หลังพิธีผูกผ้าหัวเรือเสร็จสิ้น ชาวเรือจะให้ตัวแทนนำเรือส่วนหนึ่งนำเครื่องสักการะไปทำ“พิธีบวงสรวงและขอพรเจ้าแม่พระนาง” ณ ถ้ำพระนาง อ่าวพระนาง ที่มีรีสอร์ทราคาแพงหรูระยับในหลักแสนตั้งอยู่บริเวณนี้
อ.สมาน ให้ความกระจ่าง ถึงที่มาของพิธีบวงสรวงและขอพรเจ้าแม่พระนางว่า สมัยก่อนหลังทำพิธีผูกผ้าหัวเรือเสร็จ จะมีการนำข้าวตอกดอกไม้ที่ใช้ในพิธีโปรยลงทะเล แต่น่าแปลกที่ปรากฏสิ่งของเหล่านั้นได้ลอยไปขึ้นฝั่งบริเวณถ้ำพระนางอยู่เสมอ นั่นจึงทำให้ชาวบ้านต่างเชื่อกันว่าสิ่งของเหล่านั้นลอยไปบูชาพระนาง จึงมีการจัดพิธีบูชาบวงสรวงเจ้าแม่พระนางขึ้นหลังพิธีผูกผ้า แต่เนื่องจากชาวเรือส่วนใหญ่เป็นมุสลิม จึงเรียกพิธีนี้ว่าเป็นการขอพรเจ้าแม่พระนางเพื่อไม่ให้ขัดกับหลักศาสนา
“พิธีผูกผ้าเรือหัวโทงและพิธีบวงสรวงและขอพรเจ้าแม่พระนาง ผมถือเป็น“จารีตร่วมสมัย” เพราะเป็นการประยุกต์วิถีความเชื่อแบบดั้งเดิมเข้ากับวิถีแห่งยุคสมัยใหม่”
อ.พยอมให้ความเห็น
ข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx…
http://www.aonang.go.th/index.php…
----------------------------------------------------------------------------------



ที่มาและความเชื่อเกี่ยวกับแม่ย่านาง
-------------------------------------------
แม่ย่านาง คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยเคารพนับถือว่าคอยคุ้มครองปกป้องกันภัย ให้แก่พาหนะ เช่น รถ เรือ หรือเชื่อว่าสิงสถิตอยู่ในรถ ในเรือ และให้คุณให้โทษแก่ผู้ขับขี่โดยสารได้
ตำนานความเชื่อเกี่ยวกับแม่ย่านางนั้นมีอยู่ว่า เมื่อพระอิศวรและพระแม่อุมาเสด็จประพาสทะเล กุ้งได้ออกมาร้องเรียนว่าตนเองเป็นสัตว์ที่ร่างกายมีแต่เนื้อ เปลือกห่อหุ้มบาง ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ ทำให้ถูกบรรดาสัตว์น้ำอื่นๆ จับกินเสียมาก พระแม่อุมาจึงประทานพรให้กุ้ง มีเลื่อยสองคมปลายแหลมอยู่บนหัว มีหอกปลายแหลมอยู่ที่หาง เมื่อสัตว์ใดกินเข้าไปจะได้ใช้หางเจาะออกมาให้เข็ดหลาบ ซึ่งอาหารที่กุ้งสามารถกินเองได้ จะต้องเป็นของที่ตายเน่าเปื่อยเท่านั้น
จากนั้น ประชากรกุ้งจึงมีมากจนเสียสมดุล กั้งจึงมาชักชวนผสมพันธ์แล้วออกอุบาย ให้กุ้งใช้อาวุธติดตัวเจาะท้องเรือสำเภาให้จม เมื่อจีนคนไหนว่ายน้ำไม่เป็นก็จะจมน้ำตาย กลายเป็นอาหารส่วนหัวกุ้งแบ่งให้กั้ง ส่วนตัวกุ้งเอาไปกิน ด้วยเหตุนี้ เรือสำเภาจึงตกเป็นเป้าและได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก พวกนายสำเภาจึงได้วิงวอนขอให้เจ้าหมาจ่อช่วยบอกกล่าวเทพเจ้าให้มาช่วยเหลือ เจ้าหมาจ่อสงสารชาวเรือ จึงบอกให้นำของมาเซ่นไหว้พลีกรรม ได้แก่ ผ้าแพรสีแดง สีทับทิม สิ่งละสิบพับ กับดอกไม้ธูปเทียน สำหรับเจ้าที่ เมื่อได้รับของถวายเจ้าหมาจ่อจึงให้นายทหารนำของไปถวายเจ้าทั้งแปดทิศ แล้วร่วมปรึกษาหารือกันว่าจะนำความไปกราบทูลพระอิศวรและพระแม่อุมาเทวีให้ ตัดสินปัญหา พระแม่อุมาจึงสั่งให้พระอนันตนาคราชไปปราบกุ้งที่ผิดคำสัตย์และใช้อุบายทำให้ มนุษย์เดือดร้อน จากนั้นพระอนันตนาคราชรับโองการ ลงไปถึงพระคงคา กุ้งที่ทำผิดก็ร้อนตัวกลัวจนกระเพาะและของเก่าใหม่ขึ้นมาบนสมอง จากนั้นจึงถูกสาปให้เรือสำเภาน้อยใหญ่ที่พวกตนเจาะให้ล่มเข้าไปอยู่ในแก้ม ซ้ายขวา ถ่วงหัวไม่ให้เงยขึ้นมาเจาะเรือสำเภาได้อีก แล้วพระอนันตนาคราชจึงสั่งให้จีนเดินสมุทรทั้งหลายนับถือเจ้ายอดสวรรค์ ให้คุ้มครองรักษาเรือสำเภาทุกเที่ยวไปมาจนติดมากระทั่งทุกวันนี้
ด้วยเหตุนี้ แม่ย่านาง จึงได้กลายเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของเทพ ผู้พิทักษ์ปกป้องคุ้มครอง พาหนะทุกประเภท ทั้งเรือ รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องบิน ฯลฯ ที่ให้คุณให้โทษได้ ผู้ขับขี่จึงมีความเคารพยำเกรงต่อแม่ย่านาง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ในสมัยที่การคมนาคมส่วนใหญ่ใช้ทางน้ำ ประชาชนนิยมโดยสารเรือเป็นหลัก ก็มีการบวงสรวงแม่ย่านางเรือ โดยเฉพาะเรือพระราชพิธีที่ใช้ในการพระราชพิธีที่สำคัญ เช่น กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ก่อนออกแล่นเรือจริงต้องมีการนำเครื่องบูชามาทำพิธีบวงสรวงเพื่อความเป็นสิริมงคล เข้าใจว่าเพื่อบอกกล่าวแม่ย่านางที่สิงสถิตอยู่กับเรือแต่ละลำได้รับรู้และ ปกปักรักษาอย่าให้เกิดอุบัติเหตุเภทภัยใดๆ เรือชาวบ้านก็มีการบวงสรวงเช่นกัน ผู้ที่มีความศรัทธามาก นิยมนำผ้าสามสีมาผูกที่หัวเรือ เพื่อแสดงความเคารพแก่แม่ย่านางและเพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่เรือนั้นๆ
ชาวประมงมีความเชื่อว่าแม่ย่านางจะคุ้มครองทุกคนให้ปลอดภัยในการเดินเรือและ ช่วยให้หาปลาได้มากๆ ดังนั้น ก่อนออกเรือจึงต้องมีการกราบไหว้แม่ย่านางทุกครั้งและเซ่นสังเวยแม่ย่านาง ก่อนที่จะนำเรือออกทำกิจการต่างๆ สังคมชาวประมงยังยึดมั่นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างเหนียวแน่น การปฏิบัติตามความเชื่อใดทำให้แม่ย่านางพอใจต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดที่สุด ไม่เช่นนั้นแม่ย่านางอาจจะไม่พอใจและจะนำความพินาศมาสู่เรือได้ เช่น
1.ไม่ทะเลาะกันขณะอยู่ในเรือ
2.ไม่ทำเรือสกปรก
3.ไม่ดื่มสุราก่อนออกจากเรือ
4.ไม่เหยียบโขนเรือ
5.ไม่นำผู้หญิงมาร่วมเพศในเรือ
-------------------------------------


การไหว้แม่ย่านางเรือ
ช่วงเวลา ทำทุกเดือน หรือนาน ๆ ครั้งก็ได้ พวกที่ทำทุกเดือนจะทำตอน "หยุดหงาย" คือเวลาที่หยุดออกเรือและเดือนหงาย
ทุกวันพระ 15 ค่ำ วันสงกรานต์ และวันตรุษจีน ไต้ก๋งจะเซ่นไหว้แม่ย่านางในตอนเช้า เครื่องเซ่นได้แก่ หัวหมู ไก่ ขนมเปี๊ยะ ขนมถ้วยฟู ผลไม้ต่าง ๆ ดอกไม้หนึ่งกำ ธูปเก้าดอก และต้องจุดประทัดบอกกล่าวด้วย
-----------------------------------------------------
ลักษณะความเชื่อ
แม่ย่านาง หรือ แม่ย่านนาง เป็นคำศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เชื่อกันว่าสถิตอยู่ประจำเรือแต่ละลำ ชาวเรือที่ออกเรือต้องบูชากราบไหว้ เพราะเชื่อว่าแม่ย่านางจะดลบันดาลให้ชาวประมงหรือผู้เป็นเจ้าของเรือมีโชคลาภ หรือประสบความสำเร็จตามปรารถนาได้สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์บอกให้รู้ว่าเรือลำใดมีแม่ย่านาง ก็คือ ที่หัวเรือจะผูกด้วยด้ายขาว ด้ายแดงและผ้าแดง ก่อนออกเรือทุกครั้ง จะพูดกับแม่ย่านางว่า "อย่าให้มันขัด อย่าให้มันข้อง ให้คล่อง ให้คล่อง ให้แคล้วให้แคล้วทุกอย่าง ออกถึงได้พบปลาทันที ให้สมปรารถนา จะให้รางวัลแก่แม่ย่านาง
-----------------------------------------------------------------------
ความสำคัญ
ทำให้มีโชคลาภ ประสบความสำเร็จสมปรารถนา
---------------------------
พิธีกรรม
เครื่องบูชาแม่ย่านางได้แก่ไก่ตัวผู้ ๑ ตัว เหล้า ๑ ขวด หัวหมู ๑ หัว ขนมโค (ขนมต้มขาว) ขนมถั่ว ขนมงา กล้วย ผลไม้อื่น ๆ ตามแต่จะหาได้ ปลามีหัวมีหาง ข้าวแกง แก้วเหล้า แก้วน้ำ สิ่งเหล่านี้เตรียมใส่ภาชนะให้เรียบร้อย แล้วเอาผ้าแดง ด้ายแดง ด้ายขาว ผูกหัวเรือ ใช้ธูป ๙ ดอกจุดไฟ พร้อมกับออกชื่อแม่ย่านาง โดยกล่าวเชิญมารับเครื่องเซ่น เครื่องบูชา ขอให้ช่วยคุ้มครองป้องกันอันตรายทุกอย่างและช่วยนำโชคลาภมาให้นอกจากการจัดเครื่องบูชา เครื่องเซ่นแม่ย่านางแล้ว จะต้องจัดอาหารให้แก่บริวารแม่ย่านางอีกส่วนหนึ่งด้วย โดยไม่รวมกับของแม่ย่านาง หลังจากนั้นต้องจุดประทัด แล้วรีบเบี่ยงหัวเรือออกทะเล อาหารที่เหลือจากการบูชาแม่ย่านางแบ่งให้พรรคพวกบนเรือรับประทานก็เป็นอันเสร็จพิธี
ถ้าเจ้าของเรือเป็นคนจีน เครื่องบูชาโดยเฉพาะไก่ ต้องนำไก่เป็นลงไปในเรือ ใช้มีดเชือดคอไก่ รองเอาเลือดราดหัวเรือไปจนตลอดท้ายเรือ แล้วนำซากไก่ทิ้งน้ำ ห้ามเก็บไปปรุงเป็นอาหารรับประทานโดยเด็ดขาด

http://board.postjung.com/556296.html
http://mayanang.blogspot.com/


............................................
Wansolaeh Salafi Samerphop







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น