อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หะดีษของอิบนฺอับบาส เกี่ยวกับการดูเดือน

ข้อสังเกตุจากหะดีษของอิบนฺอับบาส เกี่ยวกับการดูเดือน

عَنْ كُرَيْبٍ أَنَّ أُمَّ الْفَضْلِ بِنْتَ الْحَارِثِ بَعَثَتْهُ إِلَى مُعَاوِيَةَ بِالشَّامِ. قَالَ: فَقَدِمْتُ الشَّامَ فَقَضَيْتُ حَاجَتَهَا وَاسْتُهِلَّ عَلَيَّ رَمَضَانُ وَأَنَا بِالشَّامِ فَرَأَيْتُ الْهِلَالَ لَيْلَةَ الْجُمُعَةِ ثُمَّ قَدِمْتُ الْمَدِينَةَ فِي آخِرِ الشَّهْرِ فَسَأَلَنِي عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عَبَّاسٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا ثُمَّ ذَكَرَ الْهِلَالَ فَقَالَ مَتَى رَأَيْتُمْ الْهِلَالَ فَقُلْتُ رَأَيْنَاهُ لَيْلَةَ الْجُمُعَةِ فَقَالَ أَنْتَ رَأَيْتَهُ فَقُلْتُ نَعَمْ وَرَآهُ النَّاسُ وَصَامُوا وَصَامَ مُعَاوِيَةُ فَقَالَ لَكِنَّا رَأَيْنَاهُ لَيْلَةَ السَّبْتِ فَلَا نَزَالُ نَصُومُ حَتَّى نُكْمِلَ ثَلَاثِينَ أَوْ نَرَاهُ فَقُلْتُ أَوَ لَا تَكْتَفِي بِرُؤْيَةِ مُعَاوِيَةَ وَصِيَامِهِ فَقَالَ
لَا هَكَذَا أَمَرَنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ
وَشَكَّ يَحْيَى بْنُ يَحْيَى فِي نَكْتَفِي أَوْ تَكْتَفِي (رواه مسلم)
ความว่า จากกุรัยบ์ซึ่งอุมอัลฟัฎล์ บินต์ อัลหาริษ ได้ส่งท่านไปยังมุอาวียะห์ ณ ประเทศชาม เขา (กุรัยบ์) กล่าวว่า ฉันมาถึงชาม แล้วได้ทำภารกิจที่นางมอบมาย และรอมฎอนก็ได้เริ่มในขณะที่ฉันอยู่ ณ ชาม ฉันได้เห็นเดือนคืนวันศุกร์ หลังจากนั้น ฉันก็ได้กลับมายังมะดีนะห์ในช่วงท้ายของเดือนรอมฎอน ท่านอับดุลเลาะห์ อิบนฺ อับบาส ก็ได้ถามฉัน และได้พูดถึงการเห็นเดือน แล้วท่านก็ถามว่า พวกเจ้าเห็นเดือนคืนไหน ฉันก็ตอบเขาไปว่า พวกเราเห็นเดือนคืนวันศุกร์ อิบนฺอับบาสจึงถามย้ำอีกว่า เจ้าเห็นเองใช่หรือไม่ ฉันก็ตอบว่า ใช่ และมุสลิม (ที่ชาม) ก็เห็นกัน พวกเขาก็เริ่มถือศิลอด และมุอาวิยะห์ (ผู้นำ ณ ตอนนั้น) ก็ได้ถือศิลอดเช่นกัน อิบนฺอับบาสจึงกล่าวว่า แต่พวกเรา (ชาวมะดีนะห์) เห็นเดือนคืนวันเสาร์ และเราก็จะถือศิลอดต่อไปจนกว่าจะครบสามสิบวันหรือเห็นเดือน (ชัววาล) ฉันก็ได้ถามว่า เจ้าไม่เพียงพอดอกรึ กับการเห็นของมุอาวียะห์และการถือศิลอดของเขา อิบนฺอับบาสจึงตอบไปว่า ไม่ เช่นนี้แหละที่นะบีได้สั่งใช้พวกเรา
ยะห์ยา บิน ยะห์ยา (ผู้รายงานหะดีษนี้) ไม่แน่ใจว่า การรายงานที่ถูกต้อง เจ้าไม่เพียงพอ หรือ เราไม่เพียงพอ รายงานโดยอิหม่ามมุสลิม

อิหม่ามนะวาวีย์อธิบายหะดีษนี้ว่า
فِيهِ حَدِيث كُرَيْب عَنْ اِبْن عَبَّاس ، وَهُوَ ظَاهِر الدَّلَالَة لِلتَّرْجَمَةِ ، وَالصَّحِيح عِنْد أَصْحَابنَا أَنَّ الرُّؤْيَة لَا تَعُمّ النَّاس ، بَلْ تَخْتَصُّ بِمَنْ قَرُبَ عَلَى مَسَافَة لَا تُقْصَر فِيهَا الصَّلَاة ، وَقِيلَ : إِنْ اِتَّفَقَ الْمَطْلَع لَزِمَهُمْ ، وَقِيلَ : إِنْ اِتَّفَقَ الْإِقْلِيم وَإِلَّا فَلَا ، وَقَالَ بَعْض أَصْحَابنَا : تَعُمّ الرُّؤْيَة فِي مَوْضِع جَمِيع أَهْل الْأَرْض
فَعَلَى هَذَا نَقُول : إِنَّمَا لَمْ يَعْمَل اِبْن عَبَّاس بِخَبَرِ كُرَيْب ؛ لِأَنَّهُ شَهَادَة فَلَا تَثْبُت بِوَاحِدٍ ، لَكِنَّ ظَاهِر حَدِيثه أَنَّهُ لَمْ يَرُدَّهُ لِهَذَا ، وَإِنَّمَا رَدَّهُ لِأَنَّ الرُّؤْيَة لَمْ يَثْبُتْ حُكْمُهَا فِي حَقِّ الْبَعِيدِ .
شرح النووي على مسلم 4 / 60
ความว่า ในบทนี้มีหะดีษกุรัยบ์จากอิบนฺอับบาส ซึ่งมันตรงกับหัวข้ออย่างชัดเจน และทัศนะที่ศ่อหิห์ (ถูกต้อง) ณ เพื่อนๆของเรา (คืออุลามาอฺสายมัซหับชาฟีอีย์) คือ การเห็นเดือนจะไม่ใช้สำหรับมุสลิมทุกคน ทว่า จะใช้เฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้ (กับพื้นที่ที่เห็นเดือน) ในระยะทางไม่ถึงระยะทางก่อศัรละหมาด (คือ 83 ก.ม. โดยประมาณ) มีทัศนะที่ว่า หากมัตละอฺ (สถานที่ออกของเดือน) เหมือนกัน จำเป็นที่จะต้องรับการเห็นนั้น มีทัศนะที่ว่่า หากพื้นที่เหมือนกันก็ต้องใช้ ถ้าไม่เหมือนกันก็ไม่เป็นต้อง และส่วนหนึ่งของอุลามาอฺเรากล่าวว่า การเห็นเดือน ณ ที่ใดของโลก ใช้ได้กับชาวโลกทั้งหมด
ดังนั้น เราเห็นว่า แท้จริงแล้ว การที่อิบนฺอับบาสไม่รับข่าวจากกุรัยบ์ อันเนื่องจากมันเป็นชะฮาดะห์ (การเป็นพยานเพื่อรับรอง) ซึ่งมันมิอาจพิสูจย์ได้ด้วยจำนวนคนเดียว แต่สิ่งที่พบเห็นจากหะดีษนี้ อิบนฺอับบาสไม่ยอมรับ ไม่ใช่เพราะการเป็นชะฮาดะห์ แต่แท้จริงแล้ว ท่านไม่ยอมรับ เนื่องจากหุก่มการเห็นเดือนไม่สามารถใช้ได้กับคนที่อยู่ไกล

สิ่งที่เข้าใจจากหะดีษนี้ คือ
๑. อิบนฺบาส ผู้เป็นศ่อหะบะห์ อาศัยอยู่ในยุคสมัยการปกครองของมุอาวียะห์
๒. บรรดาชาวชามและผู้นำประเทศต่างถือศิลอดกันในวันศุกร์ แต่อิบนฺอับบาสและชาวมะดีนะห์ถือศิลอดในวันเสาร์
๓. อิบนฺอับบาสเห็นว่า แต่ละพื้นที่ที่มีมัตละต่างกัน แม้จะอยู่ภายใต้การปกครองเดี่ยวกัน ให้แต่ละพื้นที่ถือศิลอดตามพื้นที่นั้นๆ
๔. ข่าวการเห็นเดือนของผู้นำและคนที่อยู่ในพื้นที่กับผู้นำมิอาจเปลี่ยนแปลงมัตละของแต่พื้นที่ได้ ซึ่งแต่ละพื้นที่ควรยึดมัตละของตัวเอง
๕. ความห่างของมัตละจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่หนึ่งตามทัศนะของอิหม่ามนะวาวีย์ คือ 83 ก.ม
๖. ทัศนะที่ถูกต้องสำหรับอิหม่ามนะวาวีย์ คือ ผู้ที่อยู่ห่างกันประมาณ 83 ก.ม. ให้มีมัตละต่างจากพื้นที่ที่มีระยะห่าง 83 ก.ม.โดยประมาณ
๗. อุลามาอฺมีทัศนะแตกต่างกันในประเด็นนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งของอุลามาอฺสายมัซหับชาฟีอีย์เอง มีความเห็นเหมือนกับทัศนะอุลามาอฺส่วนใหญ่ คือ เมื่อเห็น ณ ที่ใด ก็ให้คนที่ได้รับข่าวนั้นใช้การมองเห็นนั้นในพื้นที่ของเขา
๘. สำหรับคนที่อยู่ไกล (ห่างกันประมาณ 83 ก.ม.) ไม่จำเป็นต้องใช้การเห็นเดือนของคนอีกพื้นที่หนึ่ง
๙. ไม่มีคำสั่งบังคับจากมุอาวียะห์ให้ทุกคนที่อยู่ภายใต้การปกครองถือศิลอดพร้อมๆกัน
เหล่านี้ คือ ข้อสังเกตุจากหะดีษนี้ ที่เป็นหลักฐานสำหรับอุลามาอฺที่เห็นว่า แต่ละประเทศยึดการเห็นเดือนของประเทศนั้นๆ และเป็นการอธิบายของอุลามาอฺสายชะฟีอียะห์ที่ทุกคนยอมรับ
ดังนั้น หากเข้าใจจากการอธิบายของอิหม่ามนะวาวีย์แล้ว คนที่อยู่ห่างจากพื้นที่ที่เห็นเดือนระยะทางละหมาดก่อศัรก็ไม่จำเป็นต้องใช้การเห็นนั้น เมื่อเกิดคีลาฟแล้ว จึงไม่ควรตำหนิฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่เขายึดทัศนะที่มีหลักฐานที่รับได้

ขอให้ทุกคนมีความสุขในอีดปีนี้ แม้จะมีการออกอีดต่างกัน

تقبل الله منا ومنكم صالح الأعمال

อย่าลืมมาอัฟซึ่งกันและกัน


..................................
ผศ.ดร.อิบรอเฮม สือแม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น