อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วันอะรอฟะฮ์คือวันที่ผู้ที่ประกอบพิธีฮัจญ์ ทำการวุกูฟ ณ ทุ่งอะรอฟะฮ์



ท่านรสูลของอัลลอฮ์กล่าวว่า
"และวันอะรอฟะฮ์คือวันที่พวกท่านทั้งหลาย(ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์)ได้วุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะฮฺ" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัชชาฟิอีย์)

ชัดเจนตามที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)กล่าว วันอะรอฟะฮ์คือวันที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ได้วุกูฟ(หยุดอยู่) ณ ทุ่งอะรอฟะฮ์ อาราเบีย ไม่ใช้เวลาอะรอฟะฮฺ

ด้วยเหตุนี้วันที่อะรอฟะฮฺหรือวันที่ทำการวุกูฟ ของมุสลิมทั่วมุมโลกต้องตรงกันกับวันที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ทำการวุกูฟ  โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยให้มุสลิมที่ไม่ประกอบพิธีฮัจญ์ทำการถือสิลอดสุนนะฮฺวันอะรอฟะฮ์

ดังนั้น หากวันที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ทำการวุกูฟ ณ ทุงอะรอฟะฮ์ ในวันที่ 3 ตุลาคม ของปฏิทินปีสากล (ตรงกับวันที่ 9 เดือนซุลฮิจญะฮ์) โดยการเข้าเวลาวันดังกล่าวคือนับแต่เวลาเข้าเวลามักริบ หรือเมื่อดวงอาทิตย์ตกดิน หากเทียบกับเวลาของประเทศไทยก็ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม เวลา 22.00 น. ของประเทศไทยตามปฏิทินสากล สำหรับประเทศไทยเข้าวันอารอฟะฮ์ตั้งเแต่วลาเข้ามักริบ (ประมาณ 18.00 น.)ของวันที่ 2 ตุลาคม ตามวันเวลาของประเทศไทย เมื่อมุสลิมในประเทศไทยถือศิลอดวันอารอฟะฮ์โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 05.00 น. ของวันที่ 3 ตุลาคม ของปฏิทินสากล ซึ่งตรงกับเวลา 01.00 น. ของอาราเบีย อันเป็นวันอะรอฟะฮ์ ซึ่งยังอยู่ในช่วงวันที่ทำการวุกูฟ แต่หากมุสลิมคนใดในประเทศไทยถือศิลอดในวันที่ 4 ตุลาคม ตามปฏิทินสากล โดยเริ่มเวลา 05.00 น. ของวันดังกล่าว ก็เท่ากับว่าวันที่ทำการวุกูฟล่วงเลยมาแล้ว ตั้ง 6 ชั่วโมง (วันที่ทำการวุกูฟ สิ้นสุดลงในเวลา 22.00 น. ของวันที่ 3 ตุลาคม ตามวันเวลาของประเทศไทยซึ่งกำหนดตามปฏิทินสากล ซึ่งเวลาดังกล่าวเข้าเวลามักริบอันเป็นวันใหม่ถัดจากวันอะรอฟะฮ์คือวันอีด)

เมื่อวันอะรอฟะฮฺตรงกับวันที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ทำการวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะฮ์ ดังนั้นวันอีดจึงถัดจากวันที่ทำการวุกูฟ

วันอะรอฟะฮ์ = วันที่ทำการวุกูฟ  หรือ วันที่ทำการวุกูฟ =  วันอะรอฟะฮ์(วันที่ 9 ซุลฮิจญะฮ์)

และวันอีดเป็นวันที่ถัดจากวันอะรอฟะฮฺ หรือวันที่ทำการวุกูฟ (วันที่ 10 ซุลฮิจญะฮ์)


ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ (ร่อหิมะฮุลลอฮ์) กล่าวว่า
"วันอีดที่สองคือวันอีดอัฎฮาซึ่งเป็นวันที่สิบซุลหิจญะฮ์นั้นคือวันที่ถัดจากวันอารอฟะฮ์"
(อัลอุมม์ 1/230)




.......................................


มุมมองของ อ.ซิดดี๊ก มูฮัมหมัดสอิ๊ด เกี่ยวกับบทความของ WINAI DAHLAN ดร.วินัย ดะห์ลัน ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องวันอะรอฟะฮฺ และวันอีดิ้ลอัฎฮา








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น