อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ปีนี้ จะถือศิลอดวันอะร่อฟะห์วันไหน


การเริ่มวันใหม่จะเริ่มนับเมื่อพระอาทิตย์ตกดินตามหลักการอิสลาม ซึ่งทัศนะของนักวิชาการอิสลามส่วนมากนั้น เมื่อมีการเห็นเดือนรอมฎอนหรือชัววาลหรือซุลหิจจะห์ในคืนหนึ่งคืนใด ณ มุมไหนของโลกก็ตาม ประเทศที่มีค่ำคืนเดี่ยวกันก็จะเริ่มถือศิลอดหรืออีดพร้อมๆกัน แม้บางประเทศอาจจะเริ่มช้าหรือเร็วกว่าประเทศอื่น แต่ทั้งหมดก็เริ่มวันเดี่ยวกัน
เช่น เมื่อประเทศสาอุเห็นเดือนซุลหิจจะห์ในคืนวันพุธ (นับตามหลักสากล) หรือคืนวันพฤหัส (นับแบบอิสลาม) คืนนั้นก็จะเริ่มวันแรกของซุลหิจจะห์ ซึ่งประเทศไทยกับประเทศสาอุนั้นต่างกันเพียง ๔ ชั่วโมง หากสาอุเห็นเวลา ๑๘.๓๐ น. ประเทศไทยก็เวลา ๒๒.๓๐ น. ซึ่งทั้งสองประเทศยังอยู่ในค่ำคืนเดี่ยวกัน จึงจำเป็นที่จะต้องเริ่มซุลหิจจะห์พร้อมๆกันในคืนนั้น ตามทัศนะอุลามาอฺเสียงส่วนมาก
ดังนั้น วันที่ ๙ ซุลหิจจะฮฺ ของสาอุก็จะเริ่มในคืนวันศุกร์ (นับแบบอิสลาม) หรือคืนวันพฤหัส (นับแบบสากล) ประเทศไทยก็เช่นเดี่ยวกันจะเริ่มในคืนวันศุกร์ตามทัศนะอุลามาอฺส่วนมาก เพียงแต่คืนวันวันอะร่อฟะห์ใน ประเทศไทยจะเริ่มก่อนสาอุ ๔ ชั่วโมง
เมื่อมีการเริ่มถือศิลอดวันอะร่อฟะห์ คนในประเทศไทยจะเริ่มถือศิลอดก่อนคนในประเทศอื่นที่มีโซลเวลาเดี่ยวกันและมีค่ำคืนเดี่ยวกันกับสาอุเป็นเวลา ๔ ชั่วโมง หรือเร็วกว่าผู้ที่ทำหัจออกจากมีนาในช่วงเช้าไปยังทุ่งอะร่อฟะห์เป็นเวลา ๔ ชั่วโมง ซึ่งผู้ทำฮัจญ์บางคนบางกลุ่มอาจจะไม่ได้นอนที่มีนาในคืนนั้น แต่จะออกไปยังอะร่อฟะห์เลยในคืนนั้น
ซึ่งช่วงเวลาของการวูกูฟ ณ ทุ่งอะร่อฟะห์จะเริ่มจากช่วงซุฮฺรีของวันอะร่อฟะห์ไปจนถึงซุบฮฺ (คือก่อนซุบฮฺ) หรือเข้าคืนวันอีดอัฏหา ซึ่งตามทัศนะของอุลามาอฺสายมัซหับอิหม่ามอะห์มัดนั้น การวูกูฟก่อนเทียงวันอะร่อฟะห์นั้นสามารถกระทำได้ แต่ต้องเชือดสัตว์ แต่ทัศนะอุลามาอฺส่วนมากจะถือว่าหัจของเขาเป็นโมฆะ
จากที่ได้กล่าวมานั้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ทำการถือศิลอดในวันศุกร์ที่ ๓ ต.ค. นี้ เขาได้เริ่มเข้าคืนอะร่อฟะห์พร้อมๆกับสาอุ แต่จะเร็วกว่าสาอุ ๔ ชั่วโมง และทำการถือศิลอดในวันอะร่อฟะห์แน่นอน คือ ตรงกับวันอะร่อฟะห์ของสาอุอย่างแน่นอน เพียงแต่จะทันกับการวูกูฟของบรรดาผู้ทำฮัจญ์ ณ ทุ่งอะร่อฟะห์ในช่วงกลางวันเพียง ๒ ชั่วโมงกว่าโดยประมาณ เพราะการวูกูฟ ณ ทุ่งอะร่อฟะห์ตามทัศนะส่วนมากจะเริ่มเวลาในประเทศไทยประมาณ ๑๖.๑๑ น.
ซึ่งหากคนหนึ่งคนใดถือศิลอดในวันเสาร์ที่ ๔ ต.ค. เขาจะถือศิลอดในคืนวันอีดของประเทศสาอุ เพราะคืนวันเสาร์ (นับแบบอิสลาม) หรือคืนวันศุกร์ (นับแบบสากล) เป็นคืนวันอีด ซึ่งประเทศที่อยู่ในโซลเดี่ยวกันและมีค่ำคืนเดี่ยวกันกับสาอุจะเริ่มทำการตักบีรอีดตั้งแต่เวลาซุบฮฺ เช้าตรู่ของวันอีด แต่เขาจะทันกับการวูกูฟของบรรดาผู้ทำฮัจญ์ ณ ทุ่งอะร่อฟะห์ในช่วงค่ำเป็นเวลา ๔ ชั่วโมง และอีก ๙ ชั่วโมงก็จะเป็นวันอีดของสาอุ
ดังนั้น คนที่จะถือศิลอดวันเสาร์ จะเริ่มในคืนวันอีดของสาอุ แม้จะทันกับการวูกูฟ แต่จะทันในคืนอีดเป็นเวลา ๔ ชั่วโมง นอกจากนั้น ก็เป็นวันอีดของสาอุทันที
นี้คือข้อเท็จจริง ที่ทุกคนก็ทราบดี ลองเปิดดูทีวีดาวเทียมหรือโทรไปถามญาติๆที่อยู่ ณ มักกะห์ ก็จะรู้ทันทีว่า สิ่งที่ผมกล่าวไปทั้งหมดนั้น ความจริง ไม่ใช่ว่าเราถือศิลอดวันเสาร์จะตรงกับวันอะร่อฟะห์ของสาอุ เพราะวันอะร่อฟะห์จะเริ่มจากคืนวันศุกร์ (นับแบบอิสลาม) และจะจบลงด้วยการเข้าของคืนวันอีด ซึ่งต่างจากการวูกูฟที่จะเริ่มจากซุฮฺรีของวันที่ ๙ ซุลหิจจะห์ และจะจบลงด้วยการเข้าของเวลาซุบฮฺของวันอีด
จึงไม่ควรสับสนระหว่าง วันอะร่อฟะห์ที่นะบีให้เราผู้ที่ไม่ได้ปฎิบัติหัจญ์ให้ถือศิลอดในวันนั้น ท่านนะบีกล่าวความว่า การถือศิลอดวันอะร่อฟะห์จะลบล้างบาปสองปี ปีที่ผ่านมาและปีที่จะมา (รายงานโดยมุสลิม เลขที่ ๑๑๖๒)
การตั้งนิยัตถือศิลอดจะเริ่มในค่ำคืนวันอะร่อฟะห์ จะถือศิลอดจากซุบฮฺของวันอะร่อฟะห์จนถึงมัฆริบของคืนวันอีด จึงแตกต่างจากการวูกูฟที่เริ่มจากซุฮฺรีของวันอะร่อฟะห์ และจบลงด้วยการเข้าของซุบฮฺของวันอีด
ซึ่งผู้ที่เห็นว่า วันเสาร์ของสาอุและของไทยนั้นเป็นวันอีดก็ไม่สามารถที่จะถือศิลอดได้ เพราะเป็นวันอีด เว้นแต่ผู้ยึดทัศนะที่ว่า วันเสาร์คือวันที่ ๙ ซุลหิจจะห์ ไม่ใช่วันอีด ก็สามารถที่จะถือศิลอดได้ แต่เป็นวันอะร่อฟะห์สำหรับประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นวันอะร่อฟะห์ที่ช้ากว่าวันอะร่อฟะห์ของผู้ทำฮัจญ์ ณ ทุ่งอะร่อฟะห์ หนึ่งวัน
ท่านคิดว่า ท่านจะถือศิลอดวันอะร่อฟะห์ในวันศุกร์หรือวันเสาร์ ขอให้ทบทวนให้ดี วัลลอฮูอะลัม


.............................
ผศ.ดร.อิบรอเฮม สือแม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น