อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แนวทางการรักษาโรคไข้หวัดของท่านนบี



ท่านนบี (ซ.ล.) มีแนวทางการรักษาโรคไข้หวัดไว้อย่างไร ?


ปรากฏในหนังสือ “ซอฮีฮัยนฺ” จากนาเฟียะอฺ จากอิบนิอุมัรฺ ได้เล่าว่า ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า

“แท้จริง ไข้หรือไข้สูงมาจากไฟนรก ดังนั้น จงทำให้มันเย็นลงด้วยน้ำ” (บันทึกโดย อัลบุคอรี และ มุสลิม)

แท้จริง ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า

“แท้จริง ไข้มาจากไฟนรก ดังนั้นจงทำให้เย็นลงด้วยน้ำ” หรือ อีกรายงานว่า “ด้วยน้ำซัมซัม” (บันทึกโดย อัลบุคอรี)

ไข้หรือความร้อนในร่างกายนั้นจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ไข้ภายนอก คือ ความร้อนในร่างกายที่พบเห็น หรือเกิดมาจากสาเหตุภายนอกร่างกาย ได้แก่ มีก้อนบวมอักเสบ การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หรือความร้อนที่ได้รับจากแสงอาทิตย์โดยตรง หรืออากาศที่ร้อนจัดมาก ๆ

2. ไข้ภายใน สาเหตุเกิดจากความป่วยไข้ภายใน ซึ่งเกิดในอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง แล้วแพร่กระจายออกไปทั่วร่างกาย ถ้าหากเป็นไข้ที่เริ่มด้วยลม หรือเกี่ยวพันกับลมในร่างกาย เรียกว่า ไข้วัน เนื่องจากมันจะหายภายในวันเดียวหรือไม่เกินสามวัน ถ้าหากเป็นชนิดที่เกิดจากส่วนผสมที่เป็นอันตราย เรียกว่าแผลเน่าเปื่อย ซึ่งมีอยู่สี่แบบ แบบน้ำดีเหลือง แบบน้ำดีดำ แบบเป็นก้อนเมือก เสมหะและแบบเป็นคล้ายก้อนเลือดเสีย ถ้าเป็นไข้ที่เกิดจากกระดูกสันหลังเรียกว่า ไข้ดักกุน นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งย่อยไปอีกหลายอย่างมากมาย

แนวทางในการรักษาโรคไข้หวัดคือ น้ำที่เย็นและน้ำซัมซัม จะช่วยบรรเทาไข้ให้หายลงได้และบรรเทาอาการป่วยไข้ได้ แต่ต้องเป็นไข้ชนิดไม่มีก้อนเนื้ออักเสบ และไม่ควรใช้ในเวลามีบาดแผลอยู่ ถ้าทำได้ดังนี้เขาจะหายป่วยด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของท่านนบี ซึ่งเต็มไปด้วยโรคภัยต่าง ๆ มากมาย และมีบ้านเรือนอยู่กันหนาแน่น และมีการแพร่กระจายโรคได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่มียาที่ให้ผลดีนั่นเอง
.................................................................

**** ท่านนบี (ซ.ล.) มีแนวทางการรักษาโรคท้องเสียไว้อย่างไร ? ****
ในหนังสือ “ซอฮีฮียนฺ” มีฮะดีษของ อบีมุตะวักกิล จาก อบีซะอีล อัลคุดรียฺ ว่า

มีชายคนหนึ่งมาหาท่านนบี (ซ.ล.) และกล่าวว่า พี่ชายของฉันปวดท้อง บางรายงานบอกว่า ท้องเสีย ท่านนบีจึงกล่าวว่า “เอาน้ำผึ้งให้เขาดื่มเถิด” ชายคนนั้นกลับไป และกลับมาอีก บอกว่าอาการไม่ดีขึ้น บางรายงานบอกว่ายังมีอาการท้องเสียอีกสองถึงสามครั้ง และกลับมาหมาท่านนบีอีก ซึ่งทุก ๆ ครั้งท่านนบี กล่าวว่า “จงเอาน้ำผึ้งให้ดื่มเถิด” จนกระทั่งครั้งที่สี่ ท่านนบีจึงกล่าวว่า “อัลลอฮฺทรงกล่าวไว้ถูกต้องดีแล้ว แต่ท้องของพี่ชายท่านนั้นโกหก” (บันทึกโดย อัลบุคอรี)

และในบันทึกมุสลิมกล่าวว่า “แท้จริงท้องเขาผิดปกติไป” คือระบบย่อยอาหารเสียและลำไส้ของเขาป่วย

ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวอีกว่า

“มี 2 ประการจะช่วยบำบัดพวกท่านคือ น้ำผึ้งและอัลกุรอาน” (บันทึกโดย อิบนิมาญะฮฺ)

การรวมระหว่างแพทย์ทางด้านร่างกายกับแพทย์ทางด้านจิตวิญญาณ ระหว่างอายุรแพทย์กับจิตแพทย์ และระหว่างยาตามธรรมชาติ (สมุนไพร) กับยาที่ได้จากอัลลอฮฺ นี่คือสิ่งที่ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวถึง น้ำผึ้ง ซึ่งมันสามารถช่วยขจัดของเสียออกจากท้อง เนื่องจากรับประทานอาหารอิ่มเกินไป

การรับประทานน้ำผึ้งเพื่อขจัดของเสียต่าง ๆ ที่หลั่งไหลอกมาจากกระเพาะอาหารและลำไส้ให้อกไป

น้ำผึ้งยังมีสารที่ทำให้ลำไส้สะอาด ขจัดสิ่งสกปรกและของเสียต่าง ๆ ที่รวมตัวกันในกระเพาะอาหารจนข้นเป็นก้อนเหนี่ยว จนเป็นสาเหตุให้อาหารเคลื่อนผ่านและย่อยไม่ได้ ในกระเพาะอาหารนั้นจะมีเส้นขนเล็ก ๆ อยู่มากมายคล้ายกับเส้นขนบนผ้ากำมะหยี่เพื่อเอาไว้ดูดซึมอาหาร เมื่อของเสียที่ข้นเหล่านี้มาเกาะติด กระเพาะอาหารจะทำงานไม่สะดวก ระบบย่อยอาหารจึงเสียไปด้วย ดังนั้น กระเพาะอาหารจึงต้องการบางสิ่งมาขจัดได้อย่างดียิ่ง

น้ำผึ้งเป็นยาที่ดีที่สุดสำหรับโรคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำน้ำผึ้งมาผสมกับน้ำร้อน แล้วดื่มเป็นประจำทุกวัน สามารถทำให้หายป่วยด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) วัลลอฮุอะลัม


.............................................................
(จากหนังสือ : ศาสตร์การแพทย์ ของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.)
ศอลาฮฺ ซัยฟุดดีน อับดุลฮักกฺ : เขียน
มุสตอฟา มานะ : แปลและเรียบเรียง
อดทน เพื่อชัยชนะ  โพสต์








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น