อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กฎการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ชาวมุสลิมค้นพบ


เรื่องที่อ้างกันว่า กฎของการเคลื่อนที่ในวิชากลศาสตร์เป็นผลงานการคิดค้นของไอแซค นิวตัน (Newton) นักปรชญ์ชาวอังกฤษ (ค.ศ.1642-1727) แต่ข้อเท็จจริงค้านกับคำกล่าวอ้างนั้นโดยสิ้นเชิง เพราะบรรดานักปราชญ์อาหรับและมุสลิมรู้ถึงกฎดังกล่าวก่อนหน้าไอแซคนิวตัน เป็นเวลาหลายร้อยปี นับแต่ยุคทองของอารยธรรมอิสลามในยุคกลาง


กฎการเคลื่อนที่ของวัตถุ ข้อที่ 1 อิบนุ สีนา( ابن سينا) (ฮ.ศ.371-428) เป็นผู้ค้นพบโดยระบุไว้ในตำราของเขาที่ชื่อ "อัล-อิชารอตฺ วัต-ตัมบีฮาตฺ" ว่า
"แท้จริงท่านย่อมรู้ดีว่าวัตถุนั้นเมื่อคุณสมบัติเฉพาะของมันเป็นไปโดยปกติ และไม่มีการส่งผลที่ผิดปกติจากภายนอกที่เกิดขึ้นกับมัน วัตถุนั้นก็ย่อมจำเป็นต้องมีที่เฉพาะและรูปทรงเฉพาะ ดังนั้นคุณสมบัติเฉพาะของวัตถุนั้นก็ย่อมจำเป็นจุดเริ่มต้นที่ตอบรับผลดังกล่าว"

ส่วนนิวตัน กล่าวถึงกฎข้อที่ 1 นี้ว่า "วัตถุนั้นจะคงอยู่ในสภาพที่หยุดนิ่ง(ไม่เคลื่อนไหว) หรืออยู่ในสภาพที่มีมีะระเบียบในเส้นตรงตราบใดที่ไม่มีพลัง หรือแรงจากภายนอกมาบังคับให้วัตถุนั้นมีการเปลัี่ยนแปลงสภาพนี้"

เห็นได้ชัดว่าการใช้สำนวนในการอธิบายกฎการเคลื่อนที่ของวัตถุข้อที่ 1 นี้ อิบนุสีนา อธิบายให้เห็นภาพได้ดีกว่านิวตัน

กฎการเคลื่อนที่ของวัตถุข้อที่ 2 นั้น ฮิบะตุลลอฮฺ อิบนุ มิลกา อัล-บัฆดาดียฺ (ฮ.ศ.480-560) กล่าวถึงไว้ในตำราของเขาที่ชื่อ "อัล-มุอฺตะบัรฺ ฟิล หิกมะฮฺ" ว่า
"ทุกการเคลื่อนที่นั้นย่อมอยู่ในเวลาหนึ่งอย่างไม่มีทางเป็นอื่น ดังนั้นแรงหรือพลังที่มีมากที่สุดย่อมทำให้มีการเคลื่อนที่ของวัตถุได้เร็วกว่า และอยู่ในเวลาที่สั้นกว่า... ทุกครั้งที่ความแรงมีพลังมาก ความเร็วย่อมเพิ่มขึ้น และเวลาย่อมสั้นลง ดังนั้นเมื่อแรงของพลังไม่สิ้นสุดลงความเร็วก็จะไม่สิ้นสุดลงด้วย และในกรณ๊ดังกล่าวการเคลื่อนที่จะแปรเปลี่ยนไปโดยแรงมากที่สุดเมื่อไร้เวลา เพราะการถอนเวลาออกไปในความเร็วนั้น คือที่สุดจองความแรง"

ส่วนไอแซค นิวตัน กล่าวถึงกฎข้อที่ 2 นี้ว่า
"แรงที่จำเป็นสำหรับการเคลื่อนที่จะมีความเหมาะสมที่แน่นอนกับแต่ละมวลของวัตถุและความเร็วของมัน สิ่งที่ตามมาก็คือแรงจะถูกวัดได้เช่นเดียวกับผลลัพธ์ที่ได้จากการคูณมวลกับความเร็ว โโยที่ความเร็วจะอยู่ในทิศทางเดียวกับแรงที่กระทำกับวัตถุและอยู่บนเส้นความเอียงของแรงนั้น"
แน่นอนความเห็นของนิวตันในขณะที่เขาวางกฎข้อที่ 2 นี้เป็นสิ่งที่ชัดเจน แต่เราก็สามารถที่จะกล่าวได้ว่า กฎข้อที่ 2 นี้ ทั้งฮิบะตุลลอฮฺ และไอแซค นิวตันมีส่วนในการค้นพบข้อนี้ด้วยกัน

ส่วนในกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 นั้น ฮิบะตุลลอฮฺ อิบนุ มิลกา อัล-บัฆดาดียฺ เป็นผู้คิดค้นเอาไว้ในตำรา "อัล-มุอฺตะบัรฺ ฟิล หิกมะฮฺ" ของเขานั้นเอง

ข้อมูลองค์ความรู้ส่วนใหญ่ที่นักปราชญ์ชาวอาหรับและมุสลิมกล่าวถึงวิชากลศาสตร์นั้นจะปรากฎอยู่ในตำราปรัชญา มิใช่ตำราวิทยาศาสตร์ เพราะนักปราชญ์ชาวอาหรับและมุสลิม ถือว่า ความคิดเกี่ยวกับเวลา สถานที่และการเคลื่อนที่ทั้งหมดเป็นความคิดเชิงปรัชญา







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น