อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

มุบาฮะละฮคืออะไร ทำไมต้องมุบาฮะละฮ




คำว่า “มุบาฮะละห์” คือการท้าสาบานให้ประสบกับความวิบัติ

อิบนุกอ็ยยิม ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน กล่าวว่า

إن السنة في مجادلة أهل الباطل إذا قامت عليهم حجة الله ، و لم يرجعوا ، بل أصروا على العناد ، أن يدعوهم إلى المباهلة ، و قد أمر الله سبحانه ، بذلك رسوله صلى الله عليه و سلم ، و لم يقُل : إن ذلك ليس لأمتك من بعدك . و دعا إليها ابنُ عمه عبد الله بن عباس ، من أنكر عليه بعض مسائل الفروع ، و لم يُنكر عليه الصحابة ، و دعا إليها الأوزاعي سفيان الثوري في مسألة رفع اليدين ، و لم يُنكَر عليه ذلك ، و هذا من تمام الحجة

แท้จริงในกรณีการโต้เถียงกับพวกอธรรม เมือหลักฐานของอัลลอฮ ได้โต้แย้งบนพวกเขาแล้ว และพวกเขาก็ไม่กลับตัว ตรงกันข้ามพวกเขายังคงดื้อรั้นต่อไป ตามสุนนะฮ ให้เชิญชวนพวกเขาไปสู่ อัลมุบาฮะละฮ( การวิงวอนเพื่อให้พระเจ้าสาปแช่งคนที่กล่าวเท็จ) และแท้จริงอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้บัญชาแก่รอซูลของพระองค์ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยการกระทำดังกล่าวนั้น โดยที่พระองค์ไม่เคยตรัสว่า “ แท้จริงการกระทำดังกล่าวนั้น ไม่อนุญาตแก่อุมมะฮของเจ้า หลังจากเจ้า” และลูกพี่ลูกน้องของท่าน คือ อับดุลลอฮ บิน อับบาส ได้เชิญชวนผู้ที่คัดค้านเขาในบางประเด็นที่เป็นปัญหาข้อปลีกย่อย โดยที่บรรดาเหล่าสาวก(คนอื่นๆ)ไม่ได้คัดค้านเขา และ อัลเอาซาอีย์ เคยเชิญชวนท่านอัษเษารีย์ ให้ไปสู่การทำอัลมุบาฮะละฮ ในประเด็นปัญหาการยกมือทั้งสอง และเขา(อัษเษารีย์)ก็ไม่ได้คัดค้านเขา(อัลเอาซาอีย์) ต่อการกระทำนั้น และนี้คือ เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้หลังฐาน(ที่นำมาอ้าง)สมบูรณ์ – ซาดุลมะอาด เล่ม 3 หน้า 643

อะหมัด บิน อิบรอฮีม กล่าวว่า

و أما حكم المباهلة فقد كتب بعض العلماء رسالة في شروطها المستنبطة من الكتاب و السنة و الآثار و كلام الأئمة ، و حاصل كلامه فيها أنها لا تجوز إلا في أمر مهم شرعاً وقَع فيه اشتباه و عناد لا يتيسر دفعه إلا بالمباهلة ، فيُشتَرط كونها بعد إقامة الحجة و السعي في إزالة الشبه و تقديم النصح و الإنذار

และสำหรับหุกุม(ข้อชี้ขาด) ของการมุบาฮะละฮ นั้น ส่วนหนึ่งของบรรดาอุลามาอฺ ได้เขียนเอกสาร เกี่ยวกับบรรดาเงื่อนไขของมัน ที่วิเคราะห์มาจากอัลกุรอ่าน ,อัสสุนนะฮ ,บรรดาอาษัร และคำพูดของบรรดาอิหม่าม และสรุปจากคำพูดของเขาในมันคือ ไม่อนุญาต นอกจากในเรื่องสำคัญ ในทางศาสนา ที่ความคลุมเครือและการดื้อรั้นเกิดขึ้นในมัน ไม่สะดวกที่จะขจัดมันได้ นอกจากด้วยการมุบาฮะละฮ โดยกำหนดเงื่อนไข ให้มีการมุบาฮะละฮได้นั้นคือ หลังจากที่ได้แสดงหลักฐาน ,การพยายามที่จะขจัดความคลุมเครือ แล้ว และให้มีการตักเตือน และตักเตือนให้ระวังก่อน-ชัรหุเกาะศิดะฮอิบนิกอ็ยยิม 1/37

والله أعلم بالصواب

.....................
อะสัน  หมัดอะด้ัม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น