อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สะลัฟห้ามแปลความหมายสิฟาตจริงหรือ?



เจ้าของตำรา ชื่อว่า “อะกีดะฮ์พระเจ้ามีรูปร่างจากยิวสู่ความเชื่อกลุ่มบิดอะฮ์ หน้า 61 ได้อ้างหลักฐานต่อไปนี้ห้ามแปลความหมายสิฟาต คือ
ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้กล่าวรายงานถึงท่าน ซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์ ว่า
مَا وَصَفَ اللهُ تَبَارَكَ وَتَعَالَى بِنَفْسِهِ فِىْ كِتَابِهِ فَقِرَاءَتُهُ تَفْسِيْرُهُ ، لَيْسَ لِأَحَدٍ أَنْ يُفَسِّرَهُ بِالْعَرَبِيَّةِ وَلاَ بِالْفَارِسِيَّةِ
“สิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาด้วยกับพระองค์เองในคำภีร์ของพระองค์นั้น การอ่าน(ผ่าน)มันก็คือการอธิบายมันแล้ว โดยที่ไม่อนุญาติให้คนใดคนหนึ่ง ทำการอธิบายมันด้วยภาษาอาหรับหรือภาษาเปอร์เซีย” ดู อัลอัศมาอ์ วะ อัสศิฟาต หน้า 298
ผู้เขียนบอกว่า “คำว่า “ซาต” ให้เขียนทับศัพท์ ห้ามแปล โดยอ้างหลักฐานข้างต้น
@@@@@
ชี้แจง
คำพูดของอิบนุอุยัยนะฮไม่ใช่ห้ามแปลความหมายทางภาษา เกี่ยวกับสิฟาตอัลลอฮ แต่หมายถึงการอธิบายรูปแบบสิฟาต ว่าเป็นอย่างไร มาดูหลักฐานต่อไปนี้
ซูฟยาน บิน อุยัยนะฮ(ฮ.ศ 198) กล่าวว่า
كُلُّ شَيْءٍ وَصَفَ اللَّهُ بِهِ نَفْسَهُ فِي الْقُرْآنِ ، فَقِرَاءَتُهُ تَفْسِيرُهُ ، لا كَيْفَ وَلا مِثْلَ
ทุกสิ่งที่อัลอฮ พรรณนาคุณลักษณะแก่ตัวของพระองค์ด้วยมัน การอ่านมัน คือ การอธิบายมัน ไม่มีการถามว่าเป็นอย่างไร และไม่มีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบ
كتاب الصفات للدارقطني (ص70)؛ شرح أصول اعتقاد أهل السنة والجماعة للالكائي (ج3 ص431)
อัลอัศบะฮานีย์ (ฮ.ศ 538) อธิบายคำพูดอิบนุอุยัยนะฮว่า
فقراءته تفسيره" : « أي هو على ظاهره لا يجوز صرفه إلى المجاز بنوع من التأويل
การอ่านของมัน คือการตัฟสีรมัน หมายถึง มันอยู่บนความหมายที่ปรากฏของมัน ไม่อนุญาตให้ผันมันไปสู่ความหมายเชิงอุปมา (มะญาซ) ด้วยชนิดใดๆ จากการตีความ
العلو للعلي الغفار للذهبي (ص263)؛ وكتاب العرش له (ج2 ص359-360
ยกตัวอย่าง หะดิษนูซูล (หะดิษที่กล่าวถึงทรงเสด็จลงมา) ท่าน อบูสุลัยมัน อัลคิฏอบีย์ (ฮ.ศ 388) อธิบายว่า
هذا الحديث وما أشبهه من الأحاديث في الصفات كان مذهب السلف فيها الإيمان بها، وإجراءها على ظاهرها ونفي الكيفية عنها.
หะดิษนี้ และ สิ่งที่คล้ายคลึงกับมัน จากบรรดาหะดิษสิฟาต ปรากฏว่า มัซฮับสะลัฟ ในมัน(ในบรรดาหะดิษสิฟาต) คือ การศรัทธาด้วยมัน และปล่อยให้ดำเนินไปตามความหมายที่ปรากฏของมัน และปฏิเสธการอธิบายรูปแบบวิธีการจากมัน – ดู
الأسماء والصفات للبيهقي (ج2 ص377)
เพราะฉะนั้น คำพูดสะลัฟ ไม่ได้หมายถึงห้ามแปลความหมายในทางภาษา โดยให้อ่านทับศัพท์อย่างที่ท่านเจ้าของหนังสืออ้าง


والله أعلم بالصواب

......................
อะสัน  หมัดอะดั้ม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น