อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ข้อแตกต่างระหว่างบิดอะฮในทางศาสนากับบิดอะฮในทางดุนยา




มีคนบางส่วน มักจะย้อนถาม แก่ผู้ที่ห้ามเรื่องบิดอะฮว่า “ แล้วเล่นเฟส” บิดอะฮไหม ? เพราะนบี ศอ็ลฯ ไม่เคยสอนให้เล่นเฟส.....หรือโต้ว่า ถ้าตามนบี ทำไมไม่ไปขี่อูฐ ....คิดไปก็ขำไป คิดไปก็สงสารว่าเขาไม่รู้จักแยกแยะว่า อะไรคือ บิดอะฮทางศาสนา อะไรคือ บิดอะฮเกี่ยวกับทางโลก

มาดู คำอธิบายของ อิบนุอับดิลบัร (ฮ.ศ 368-463) ปราชญ์อวุโสผู้ลือนามแห่งมัซฮับมาลิกีย์ดังนี้

وَأَمَّا قَوْلُ عُمَرَ : نِعْمَتِ الْبِدْعَةُ فِي لِسَانِ الْعَرَبِ : اخْتِرَاعُ مَا لَمْ يَكُنْ وَابْتِدَاؤُهُ ، فَمَا كَانَ مِنْ ذَلِكَ فِي الدِّينِ خِلَافًا لِلسُّنَّةِ الَّتِي مَضَى عَلَيْهَا الْعَمَلُ فَتِلْكَ بِدَعَةٌ لَا خَيْرَ فِيهَا وَوَاجِبٌ ذَمُّهَا ، وَالنَّهْيُ عَنْهَا ، وَالْأَمْرُ بِاجْتِنَابِهَا ، وَهِجْرَانُ مُبْتَدِعِهَا ، إِذَا تَبَيَّنَ لَهُ سُوءُ مَذْهَبِهِ . وَمَا كَانَ مِنْ بِدْعَةٍ لَا تُخَالِفُ أَصْلَ الشَّرِيعَةِ وَالسُّنَّةِ فَتِلْكَ نِعْمَتِ الْبِدْعَةُ - كَمَا قَالَ عُمَرُ - لِأَنَّ أَصْلَ مَا فَعَلَهُ سُنَّةٌ .

สำหรับคำพูดของ อุมัร ที่ว่า “บิดอะฮที่ดี” ในทางภาษาอาหรับ คือ การประดิษฐ์สิ่งที่ไม่มีมาก่อน และการริเริ่มมันขึ้นมา ดังนั้น สิ่งใด จากดังกล่าว ในทางศาสนา ขัดแย้งกับ อัสสุนนะฮ ที่ได้มีการปฏิบัติผ่านมาแล้วบนมัน ,บิดอะฮนั้น ก็ไม่มีความดีใดๆในมัน ,จำเป็นจะต้องตำหนิมัน ,ห้ามจากมัน สั่งให้ห่างใกลจากมัน และปลีกตัวออกจากผู้ที่อุตริมัน เมื่อปรากฏ ว่าเขามีแนวทาง(มัซฮับ)ที่เลว และ สิ่งใด ก็ตามจากบิดอะฮ ที่ไม่ขัดแย้งกับรากฐานของศาสนบัญญัติและอัสสุนนะฮ นั้นคือ บิดอะฮที่ดี ดังสิ่งที่อุมัร ได้กล่าวไว้ เพราะว่าแท้จริง รากฐานของสิ่งที่เขา(อุมัร)กระทำนั้น คือ สุนนะฮ
>>>>>>>>>>

การริเริ่มทำสิ่งใดก็ตาม ในเรื่องของศาสนา หากขัดแย้งกับสุนนะฮที่เคยมีการปฏิบัติ มาก่อน มันคือบิดอะฮที่ไม่มีความดีใดๆและควรหลีกห่างแลตำหนิ ส่วนการริเริมในสิ่งที่มีรากฐานมาจากศาสนบัญญัติและอัสสุนนะฮนั้น มันคือ บิดอะฮที่ดี ดังที่ท่านอุมัรกล่าว เพราะรากฐานหรือที่มาของสิ่งที่ท่านอุมัรทำนั้น คือ สุนนะฮที่นบีศอ็ลฯ เคยทำมาก่อน

คำว่า “บิดอะฮ” ในคำพูดของท่านอุมัร คือ การริเริ่มขึ้นมาใหม่ จากสิ่งที่เคยมีการปฏิบัติมาก่อน
ส่วนกรณี การประดิษฐ์สิ่งใหม่ในทางดุนยานั้น ท่านอิบนุอับดิลบัร(ร.ฎ)ได้ชี้แจงชัดเจนว่า

وَأَمَّا ابْتِدَاعُ الْأَشْيَاءِ مِنْ أَعْمَالِ الدُّنْيَا فَهَذَا لَا حَرَجَ فِيهِ وَلَا عَيْبَ عَلَى فَاعِلِهِ
สำหรับ การประดิษฐสิ่งต่างๆ ขึ้นมาใหม่ ที่เกี่ยวกับบรรดาการกระทำ ทางดุนยา(หรือทางโลก)นั้น ไม่มีความผิดใดๆ ในมัน และไม่มีการตำหนิใดๆแก่ผู้ที่กระทำมัน - ดู อัลอิสติซกาซ เล่ม 2 หน้า 67

>>>>>>>>>>>>
จะเห็นได้ชัดเจนว่า ที่กล่าวถึง บิดอะฮที่ต้องห้ามคือ บิดอะฮทางศาสนา ไม่ใช่ทางโลก ต้องแยกให้ถูก ไม่ใช่ใช้วาทะกรรมว่า ถ้าตามนบี ทำไมไม่ไปขี่อูฐ หรือ ถามว่า เล่นเฟสบุคบิดอะฮไหม

والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดั้ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น