การขอดุอาอฺต่อพระองค์อัลลอฮฺนั้นในอัลกุรฺอานกำชับให้เราขออย่างนอบน้อมถ่อมตนและไม่ส่งเสียงดังไม่ว่าจะเป็นการขอหลังละหมาดฟัรฎุหรือนมาซสุนนะฮฺก็ตาม
การขอดุอาอฺให้ขอทางทิศกิบละฮฺ
การมีน้ำละหมาดไม่ใช่เงื่อนไขของการขอดุอาอฺในทุกรูปแบบ เพียงแต่เป็นความประเสริฐเท่านั้นหากมีน้ำละหมาดแล้วขอดุอาอฺ ซึ่งท่านรสูลุลลอฮฺเคยปฏิบัติเช่นนั้น
ก่อนที่เราจะขอดุอาอฺให้เรากล่าวนามของอัลลอฮฺ จากนั้นให้กล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ (กล่าวอัลหัมดุลิลลาฮฺ) จากนั้นให้เราเศาะละวาตนบี แล้วให้เราขออย่างที่เราต้องการเมื่อขอเสร็จให้เราเศาะละวาตบนีอีกครั้งหนึ่ง
การขอดุอาอฺที่ดีที่สุดคือการขอดุอาอฺอย่างที่นบีขอ ฉะนั้นการขอด้วยภาษาอฺรับหากมีสามารถให้กระทำเช่นนั้น แต่ถ้าหากไม่มีความสามารถก็ให้เราขอภาษาไทย แต่อย่างน้อยที่สุดให้เราพยายามขอเป็นภาษาอฺรับก่อนไม่ว่าจะอ่านจากหนังสือ หรือวิธีอื่นๆ ก็ตาม
ส่วนการขอดุอาอฺด้วยภาษาใดก็ตามหากเป็นการขอที่บริสุทธิ์ใจถือว่าได้ผลบุญทั้งสิ้น
การขอดุอาอ์ที่ท่านนบีขอหลังละหมาดฟัรฺฎู หากเราขอเป็นภาษาอฺรับไม่ได้ ก็ให้ขอดุอาอ์เป็นคำแปลภาษาไทย ส่วนการขอดุอาอ์ส่วนตัว มีสุนนะฮฺให้ขอก่อนให้สลาม (ละหมาดฟัรฺฎู) หรือขณะที่ก้มสุญูด ซึ่งเราสามารถขอเป็นภาษาไทยได้เช่นกัน
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
" صلوا كما رأيتموني أصلي "
ความว่า "พวกท่านจงละหมาดเสมือนพวกท่านเห็นฉันละหมาด" (บันทึกโดยบุคอรีย์)
หะดีษข้างต้นระบุชัดเจนว่าให้ละหมาดเสมือนเห็นท่านนบีละหมาดฉะนั้นทุกขั้นตอนในขณะละหมาดจะต้องกล่าวเป็นภาษาอฺรับ
ส่วนการขอดุอาอ์ในขณะละหมาด เช่น ขณะกำลังสุญูดในละหมาด(ภายหลังที่ขอดุอาอ์อย่างที่นบีขอเสร็จแล้ว) ก็อนุญาตให้เราขอดุอาอ์เป็นภาษาไทยได้
การขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺ คือดุอาอ์ที่เราเข้าใจความหมาย หากเราไม่เข้าใจความหมายคงไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็ต้องขอดุอาอ์ด้วยภาษาที่เราเข้าใจความหมายไม่ว่าจะเป็นภาษาอะไรก็ตาม เราได้ภาษาไทย (ไม่ได้ภาษาอฺรับ) เราก็สามารถขอดุอาอ์เป็นภาษาไทยได้ในขณะละหมาด ไม่ว่าจะขณะสุญูด หรือจะขอก่อนให้สลามก็ตาม ประเด็นข้างต้นนักวิชาการเค้าอนุญาตให้กระทำได้ โดยให้เหตุผลว่า นั่นคือการขอดุอาอ์ ขอให้สิ่งที่เราต้องการ ก็สามารถขอภาษาที่รู้ความหมายได้ แต่หากเป็นภาษาอื่นนอกจากภาษาอาหรับ หากกล่าวขณะสุญูด หรือก่อนให้สลาม ให้ขอในใจนั้นดีที่สุด
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น