ทองที่เป็นเครื่องประดับของสตรี
ว่าจำเป็นจะต้องออกซะกาตหรือไม่ เรื่องนี้นักวิชาการมีทัศนะแตกต่างกัน คือ
ทัศนะแรก
ไม่ต้องออกซะกาตทองที่เป็นเครื่องประดับของสตรี
ทัศนะที่สอง
จำเป็นต้องออกซะกาตทองที่เป็นเครื่องประดับของสตรี
ท่านเชค มุฮัมมัดอามีน อิบนิมุฮัมมัดมุคต๊าร
ซินคีฏียฺ ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ
อาจารย์อาวุโสในมหาลัยอิสลามแห่งนครมะดีนะอัลมุเนาว์วะเราะฮฺ กล่าวว่า
“ทัศนะที่มีน้ำหนัก และนี้คือทัศนะที่ว่า
จำเป็นต้องออกซะกาตทองที่เป็นเครื่องประดับของสตรี
เนื่องจากหะดิษที่ให้เห็นถึงว่าจำเป็นต้องชำระซะกาตนั้นมีหลายหะดิษ
ส่วนทัศนะที่เห็นว่าไม่ต้องออกซะกาตทองและเงินที่เป็นเครื่องประดับนั้น
ไม่มีหะดิษ
บรรดาหะดิษที่ระบุให้ชำระซะกาต
มีสายสืบที่แข่งแรงกว่า
ตัวบทจากอัลกุรอานและหะดิษชี้ว่าจำเป็นต้องชำระซะกาตทองคำและเงินนั้นชัดเจน
พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า
يَومَ يُحمىٰ عَلَيها فى نارِ جَهَنَّمَ فَتُكوىٰ بِها جِباهُهُم وَجُنوبُهُم وَظُهورُهُم ۖ هٰذا ما كَنَزتُم لِأَنفُسِكُم فَذوقوا ما كُنتُم تَكنِزونَ
"วันที่มันจะถูกเผาไฟนรกแห่งญะฮันนัม แล้วหน้าผากของพวกเขา และสีข้างของพวกเขา และหลังของพวกเขาจะถูกนาบด้วยมัน นี้แหละ คือสิ่งที่พวกเจ้าได้สะสมไว้ เพื่อตัวของพวกเจ้าเอง ดังนั้นจงลิ้มรสสิ่งที่พวกเจ้าสะสมไว้เถิด”
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ 9:35)
รายงานจากท่านอิบอับดุลลอฮฺ อิบนิอัมรฺ
อิบนิอ๊าศ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
“มีหญิงคนหนึ่งมาหาท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺุ อะลัยฮิวะซัลลัม พร้อมกับบุตรสาวของเธอ เมื่อท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺุ อะลัยฮิวะซัลลัม เห็นกำไลข้อมือที่ทำจากทองคำที่มือทั้งสองของบุตรสาวของหญิงนั้น ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺุ อะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า เธอชำระซะกาตสิ่งนี้หรือไม่ เธอตอบว่าไม่ได้ชำระซะกาต ท่านรสูลศ็อลลัลลอฮฺุ อะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวแก่หญิงนั้นว่า เธอชอบที่อัลลอฮฺจะสวมกำไลจากไฟนรกในมือทั้งสองข้างในวันกิยามะฮฺนั้นหรือ ทันใดนั้น นางได้ถอดกำไลทั้งสองข้างออกจากมือของลูกสาวของนางแล้วมอบให้แก่ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮฺุ อะลัยฮิวะซัลลัม โดยกล่าว่า กำไลทั้งสองข้างนี้ชำระไปเพื่อหนทางของอัลลอฮฺและรสูลของพระองค์” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด)
การชำระซะกาตเครื่องประดับของสตรี
ให้กระทำทุกๆปี เมื่อครอบครองไว้ครบรอบปี โดยถือพิกัตซะกาตที่เป็นทองคำ คือ 20 มิซกอล หรือ 96 กรัม หรือทองน้ำหนัก 6.4 บาท (หนึ่งมิซกอล เท่ากับ 4.8 กรัม 4.8x20=96 กรัม ทองคำหนัก 1 บาท = 15 กรัม )บางทัศนะ ถือน้ำหนักทอง 85 กรัม ให้นำน้ำหนักของเครื่องประดับนั้นตีราคาเทียบเป็นราคาของทองคำในปัจจุบัน
แล้วนำชำระเป็นซะกาตในอัตรา 2.5% ของมูลค่าเครื่องประดับ
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น