อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การอ่านบิสมิลลาเสียงดัง






เรื่องการอ่าน بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ เสียงดังในละหมาดที่ให้อ่านเสียงดัง เป็นปัญหาที่นักวิชาการขัดแย้งกันในเรื่องนี้ ทัศนะของยุมฮูร บอกว่าไม่ต้องอ่านเสียงดังโดยใช้หลักฐานหะดีษอนัสบินมาลิก ว่า

" แท้จริงท่านนบี อบูบักรและอุมัร พวกท่านทั้งหลายนี้ได้เริ่มการอ่านในละหมาดด้วย ( الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ ) "
(รายงานโดยบุคอรีหะดีษที่ 743)

อีกรายงานหนึ่งว่า ฉันได้ละหมาดพร้อมกับท่านอบูบักร อุมัร และท่านอุสมานฉันไม่ได้ยินใครอ่านบิสมิลลาเลย

และในรายงานของมุสลิมว่าฉันเคยละหมาดตามท่านนบี และเคยละหมาดตามท่านอบูบักรอุมัร อุสมาน พวกท่านทั้งหลายนี้ได้เริ่มอ่านด้วย ( الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ ) ไม่มีใครอ่านบิสมิลลาในตอนแรกและตอนท้ายเลย


ส่วนมัสฮับชาฟีอี และผู้ที่เห็นตรงกับมัสฮับนี้ ได้เห็นว่าต้องอ่านบิสมิลลาเสียงดัง หลักฐานของพวกเขาก็คือ

หะดีษอบูฮุรอยเราะห์ เล่าว่า ท่านนบี เคยอ่านขณะที่ท่านเป็นอีหม่ามโดยที่ท่านเริ่มด้วยบิสมิลลา (بسم الله الرحمن الرحيم )

ท่านอบูฮุรอยเราะห์ได้กล่าวว่า มันเป็นอายะห์หนึ่งจากอัลกุรอาน ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านฟาติฮะห์เถิดหากว่าพวกเจ้าต้องการ

พวกที่เห็นด้วยในทัศนะนี้ยังกล่าวอีกว่า บิสมิลลานั้นเป็นอายะห์หนึ่งจากซูเราะห์ฟาติฮะห์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอ่านเสียงดัง เพราะว่าท่านอีหม่ามบุคอรีย์ได้รายงานทางสายรายงานของท่านกอตาดะห์ไว้ว่า

ท่านอนัสได้ถูกถามว่า การอ่านของท่านนบี เป็นอย่างไร?

ท่านจึงกล่าวว่า อ่านยาว

ต่อมาท่านอนัสก็อ่าน (بسم الله الرحمن الرحيم ) โดยลากเสียงด้วย (بسم الله) และลากเสียงด้วย (الرحمن) และก็ลากเสียงด้วย (الرحيم )

ท่านดารุกุตนี และ ท่านบัยหะกี ได้รายงานจากหะดีษอบูฮุรอยเราะห์ถึงท่านนบี ว่า

"เมื่อพวกเจ้าอ่านอัลฮัมดุลิ้ลละห์ก็จงอ่านบิสมิลลาด้วย เพราะว่ามันเป็นอุมมุลกุรอาน(แม่ของกุรอาน) อุมมุลกิตาบ(แม่ของหนังสือ)

และเป็นเจ็ดอายะห์ที่ทรงเกียรติ และบิสมิลลาก็เป็นหนึ่งในซูเราะห์นี้”

(อัลบานีบอกว่าเป็นหะดีษที่เชื่อถือได้)

ดังหลักฐานและทรรศนะที่กล่าวมานี้มีสิ่งสำคัญที่เราจะต้องพิจารณาคือ

หนึ่ง ทรรศนะที่ถูกต้องในเรื่องนี้ก็คือ ไม่ต้องอ่านบิสมิลลาเสียงดัง เพราะว่าหลักฐานแข็งกว่าน่าเชื่อถือกว่า

สอง ทั้งๆที่ซุนนะห์ที่ถูกต้องนั้นคือการไม่อ่านบิสมิลลาเสียงดัง แต่การบิสมิลลาในละหมาดเสียงดังนั้นก็เป็นที่อนุญาต และไม่ใช่บิดอะห์ และไม่หะรอม เพราะว่ามีการรายงานว่าท่านนบีนั้นได้อ่านเสียงดังบางครั้ง

สาม การอ่านบิสมิลลาเสียงดังถือว่าไม่เป็นไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณไปเป็นอิหม่ามให้กับกลุ่มคนที่ยึดถือมัสฮับชาฟีอีดังทีเป็นกันอยู่ในบ้านเราเมืองไทย ทั้งนี้เพื่อเป็นการรวมพี่น้องให้เป็นหนึ่ง

อิบนุตัยมียะห์กล่าวว่า ทั้งนี้และทั้งนั้น ที่ถูกต้องคือ สิ่งที่ไม่ต้องอ่านเสียงดังบางทีก็ต้องอ่านเสียงดังบ้างเพื่อประโยชน์แก่ปวงชน และถือว่าเป้นหน้าที่ของอีหม่ามในบางครั้งเพื่อสอนมะมูม และเป็นที่อนุญาตให้ผู้ละหมาดออกเสียงบ้างเล็กๆน้อยๆ และเป็นที่อนุญาติที่เราจะทิ้งสิ่งที่ประเสริฐกว่าเพื่อเป็นการสร้างความเป็นหนึ่งเดียว เพื่อป้องกันการปฏิเสธความถูกต้อง

ดังเช่นที่ท่านนบี ได้ทิ้งการสร้างกะบะห์ตามรูปแบบของอิบรอฮีมเพราะว่าพวกกุเรชเป็นพวกที่พึ่งรับอิสลามใหม่ และเพื่อป้องกันการผินหลังจากพวกเขา และท่านได้เห็นว่าการรวมตัวและการเข้าใจนั้นต้องมาก่อนการที่จะสร้างตามแบบของนบีอิบรอฮีม

ท่านอิบนุมัสอู๊ดได้กล่าวในขณะที่เขาละหมาดเต็มตามหลังอุสมานว่าทั้งๆที่เขาไม่ต้องการสิ่งนั้น พอมีคนถามเค้าว่าทำไมทำอย่างนั้น ท่านก็กล่าวว่า การขัดแย้งกันนั้นมันเป็นสิ่งไม่ดี

เพราะเหตุนี้บรรดาอีหม่ามทั้งหลายเช่นอีหม่ามอะห์หมัดและท่านอื่นๆได้บอกเรื่องการบิสมิลลา และเรื่องการละหมาดวิเตรแบบสามรวด และเรื่องอื่นๆอีกที่เป็นการทิ้งสิ่งที่ดีกว่าไปยังการอนุญาตสิ่งที่ดีน้อยกว่า เพื่อเป็นการเอาใจใส่ผู้คน หรือเพื่อการทำให้เค้ารู้จักซุนนะห์ และเรื่องอื่นๆอีกมากมาย (จบ) จากหนังสือ มัจมั๊วะฟาตาวา 22/ 436และ437

ท่านได้กล่าวไว้อีกว่า การละทิ้งสิ่งที่ดีกว่านั้นเพื่อให้คนทั้งหลายไม่หนีออกห่าง เช่นกันการที่คนๆหนึ่งที่เห็นว่าการอ่านบิสมิลลาถูก และได้ไปเป็นอีหม่ามให้กับกลุ่มชนที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้หรือว่าตรงกันข้ามก็ให้ทำตามเขาถือว่าเป็นเรื่องที่ดีกว่า (จบ) มัจมั๊วะฟาตาวา 22/268 และ 269


สี่ ด้วยเหตุที่ว่าการอ่านบิสมิลลานี้เป็นปัญหาที่ขัดแย้งกัน ก็ไม่สมควรที่จะต่อต้านคนที่อ่านดังหรืออ่านค่อย


ทั้งสองนั้นมีหลักฐานจากกุรอานและหะดีษ ด้วยเหตุนี้ผมขอเตือนพี่น้องว่า อย่าให้ปัญหาปีกย่อยพวกนี้เป็นเหตุสร้างความแตกแยก และเป็นประตูแห่งความวุ่นวายการแบ่งกลุ่ม แต่จำเป็นที่เราจะต้องอธิบายถึงปัญหานี้สำหรับคนที่มีความเห็นตรงกันข้ามกับทัศนะที่ถูกต้องด้วยกับฮิกมะห์(วิธีการที่ดี) และการตักเตือนกันด้วยดี และด้วยความนุ่มนวลอ่อนโยน จะได้รับผลตอบแทนที่เป็นที่น่าพอใจ


**********************
เขียนโดย ดร.อาลี มาหามะ
แปลโดย ....ชุโก๊ร ดาณีสมัน

Credit : islammore.com

Islam is my Life

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น