อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การตกเป็นกาฟิรฺของผู้ทิ้งละหมาด




นักวิชาการอิสลามทั้งหมดเห็นตรงกันว่าผู้ใดทิ้งละหมาด โดยไม่ยอมรับว่ามันเป็นหน้าที่ที่เขาต้องปฏิบัตินั้น ตกเป็นผู้ปฏิเสธ(กาฟิรฺ)

แต่บรรดานักวิชาการขัดแย้งกันกรณีทิ้งละหมาดเพราะเกียจคร้าน หรือไม่อยากละหมาด

ทัศนะที่ว่า มุสลิมคนใดทิ้งละหมาดถือว่าตกศาสนา แม้เขาจะยอมรับว่าการละหมาดเป็นหน้าที่ของเขาก็ตาม

ตามหลักฐานดังนี้

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“สิ่งที่กั้นระหว่างคนๆหนึ่งกับการตั้งภาคีและปฏิเสธศรัทธา คือการทิ้งละหมาด” (บันทึกหะดิษโดยอิมามมุสลิม)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“สัญญาณระหว่างพวกเรากับพวกปฏิเสธ(กาฟิรฺ) คือการละหมาด ผู้ใดทิ้งละหมาดผู้นั้นปฏิเสธ” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัตติรมีซีย์ อันนะซาอีย์ และอิบนุ มาญะฮฺ)

ผู้เห็นด้วยกับทัศนะนี้ได้แก่ ท่านอิมามอับดุลลอฮฺ อิบนุล มุบาร็อก ร่อหิมะฮุลลอฮฺ ท่านอิมามอะหฺมัด ร่อหิมะฮุลลอฮฺ ท่านอิมามอิสหาก อิบนุ รอฮาวัยฮฺ

ทัศนะที่สอง
เห็นว่าการทิ้งละหมาดเป็นบาปใหญ่มหันต์ แต่หากเขาไม่ปฏิเสธหลักการที่ว่ามุสลิมมีหน้าที่ต้องละหมาด แต่เขาไม่ทำเนื่องจากด้วยเหตุผลข้ออ้างต่างๆ ไม่ว่าเป็นการเกียจคร้าน หรืออ้างว่าไม่มีเวลา เป็นต้น

ผู้เห็นด้วยกับทัศนะนี้ ได้แก่ฝ่ายนักวิชาการหมู่มาก (ญุมฮูร) นำโดยผู้ก่อตั้งมัซฮับทั้งสาม คือ อิมามอบูฮะนีฟะฮฺ อิมามมาลิก และอิมามอัชชาฟิอีย์

โดยชี้แจ้งหลักฐานที่กล่าวไปข้างต้นว่า

>คำว่าปฏิเสธที่กล่าวถึงหะดิษ หมายถึงให้ลงโทษเช่นเดียวกับโทษของผู้ที่ตกสาสนา นั้นคือประหารชีวิต ดังนั้นผู้ทิ้งละหมาดหลังจากประวิงเวลาให้ใตรตรองเพื่อเตาบะฮฺแล้วจะถูกประหาร ไม่ใช่ด้วยเพราะเขาปฏิเสธ แต่เป็นบทลงโทษเฉพาะสำหรับผู้ทิ้งละหมาด เช่นเดียวกับฆาตกรต้องถูกประหาร แต่ไม่ใช่เพราะเขาตกศาสนา

>คำว่าปฏิเสธที่ถูกกล่าวถึง หมายถึงการทิ้งละหมาดเป็นสื่อที่จะนำไปสู้การปฏิเสธต่อไปในอนาคต เพราะผู้ที่กล้าทิ้งละหมาดหน้าที่สำคัญที่สุดในศาสนา ก็ย่อมกล้าที่ขะกระทำสิ่งอื่นตามมา และไม่แยแสต่อกฎเกณฑ์ใดทางศาสนา และความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างมุสลิมกับกาฟิรในกิจวัตรประจำวันก็คือการละหมาด ดังนั้น การที่มุสลิมไม่ละหมาดก็ทำตัวไม่ต่างอะไรกับกาฟิร

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า สิ่งนอกเหนือจากการตั้งภาคี พระองค์ให้ได้หากทรงประสงค์ นั้นรวมถึงการละหมาดด้วย

إِنَّ اللَّهَ لَا يَغْفِرُ أَن يُشْرَكَ بِهِ وَيَغْفِرُ مَا دُونَ ذَٰلِكَ لِمَن يَشَاءُ48 )

“แท้จริง อัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยให้กับการตั้งภาคีต่อพระองค์ แตะจะทรงอภัยให้สิ่งอื่นจากนี้แก่ผู้ที่ทรงประสงค์” (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอันนิสาอฺ 4:48)

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“ไม่มีผู้ใดปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดเว้นแต่อัลลออฺ และฉันเป็นศาสนทูตของพระองค์แล้วจะตกนรก” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)



والله أعلم بالصواب

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น