สิ่งที่ท่านรสูล ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ไม่ทำ หรือละทิ้ง ทั้งที่ขณะนั้นไม่มีอุปสรรคใดๆที่ทำให้ท่านรสูลไม่สามารถกระทำสิ่งนั้นได้ ถือว่าเป็นสุนนะฮฺของท่านรสูลด้วยเช่นกัน ศัพท์ทางวิชาการเรียกว่า "สุนนะฮฺตัรกียะฮฺ"
เช่น ท่านรสูล ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ไม่จัดวันคล้ายวันเกิดของท่านหรือผู้ใดเลย แม้สักครั้งเดียวขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ทั้งที่ไม่มีอุปสรรคใดๆ ที่ทำให้ท่านไม่สามารถที่จัดวันคล้ายวันเกิดของท่านได้ ถือว่าการละทิ้ง หรือไม่จัดวันคล้ายวันเกิดเป็นสุนนะฮฺตัรกียะฮฺ
หรือท่านนบี ศ็อลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ไม่ได้ หรือไม่เคยจัดพิธีทำบุญบ้านคนตาย ไม่ว่า 7 วัน หรือกี่วันก็ตาม หรือไม่เคยทำพิธีอุทิศส่วนกุศล(อิซีกุโบร์) ทั้งที่ไม่มีอุปสรรคใดๆ ที่ทำให้ท่านไม่สามารถที่จัดพิธีทำบุญบ้านคนตาย หรือพิธีอุทิศส่วนกุศลให้คนตายเลย ถือว่าการละทิ้ง หรือไม่จัดจัดพิธีทำบุญบ้านคนตาย หรือพิธีอุทิศส่วนกุศลให้คนตายเป็นสุนนะฮฺตัรกียะฮฺ เป็นต้น
ท่านอิมามอัซ-เชากานียฺ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ.1255) ได้กล่าวในหนังสือ “อิรฺชาด อัล-ฟุหูล” อันเป็นหนังสืออธิบายเกี่ยวกับกฏเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของนิติศาสตร์อิสลาม ว่า
“การละทิ้งสิ่งใดของท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะวัลลัม ก็เหมือนกับการกระทำของท่านต่อสิ่งนั้น ในแง่ที่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตาม ท่านอินุ อัซ-ซัมอาน ได้กล่าวว่า เมื่อท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะวัลลัม ได้ละทิ้งสิ่งใด วายิบ ต่อพวกเรา จะต้องปฏิบัติตามท่านใน(การละทิ้ง)สิ่งนันด้วย...”
ท่านเชค อะลีย์ มะหฺฟูศ ยังได้กล่าวในหนังสือเล่มเดียวกัน หน้า38 อีกว่า
“แน่นอนว่าการละทิ้ง(ไม่กระทำ) ของท่านท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะวัลลัม คือสุนนะฮฺ เหมือนอย่างการกระทำของท่าน ก็คือสุนนะฮฺ เมื่อเราถือว่าการกระทำในสิ่งที่ท่านละทิ้งเป็นเรื่องที่ชอบ ก็อุปมาเหมือนอย่างเรา ถือว่าการละทิ้งสิ่งที่ท่านกระทำเป็นเรื่องที่ชอบเช่นเดียวกัน ไม่มีข้อแตกต่างกันเลย...”
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น