อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เชคอะหฺมัด วาฮาบ ผู้จุดประกายสุนนะฮฺในเมืองไทย



เชคอะหฺมัด วาฮาบ มะนังกะเบ ท่านเป็นชาวอินโดนีเซีย
เป็นลูกของเชคอับดุลฮามิด ท่านเกิดที่เมืองมะนังกะเบาราวปี พ.ศ. 2426

ท่านเรียนปอเนาะที่เปอซันเตร็น เรียนจบชั้นสูงสุดง
หลังจากนั้นท่านก็เดินทางไปมักกะฮฺเพื่อทำหัจญ์ แล้วท่านก็ศึกษาต่อที่นั่น

หลังจากศึกษาจบแล้ว ท่านก็กลับประเทศอินโดนิเซีย

แต่ขณะนั้นประเทศอินโดนิเซียถูกชาวฮอลแลนด์ หรือฮอลันดายึดเป็นประเทศเมืองขึ้นล่าอาณานิคม ก็ร่วมต่อต้านและเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยประเทศอินโดนิเซีย ไม่ให้เป็นเมืองขึ้นของฮอลแลนด์ ท่านจึงกลับเข้าประเทศอินโดนิเซียไม่ได้ ท่านก็เลยต้องมาหลบเข้ามาอยู่ที่ประเทศไทย ในช่วงราวปี พ.ศ. 2450 ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุประมาณ 20 ปี

เชคอะหฺมัด วาฮาบ ขึ้นฝั่งที่ท่า “บางกอกด๊อก” แถวยานนาวา และท่านมาสมัครงานที่โรงงานทำไม้ขีดไฟ ซึงอยู่ซอยกัมปะนี อยู่เยื้องซอยเจริญกรุง 103 เป็นโรงงานของนายฝรั่ง ทางโรงงานรับสมัครท่านให้เป็นยามเฝ้าโรงงาน แต่ท่านก็ถูกนายฝรั่งเจ้าของโรงงานไล่ออก อันเนื่องจากท่านละหมาดในเวลาทำงาน

  หลังจากนั้นท่านก็มาอาศัยอยู่ที่มัสยิด หรือสุเหร่าใหม่ถนนตก
โดยได้ช่วยงานสุเหร่าจิปาถะ ได้แก่ รับหน้าที่เป็นเด็กชงชา ชงกาแฟให้ผู้หลักผู้ใหญ่

วันหนึ่ง ขณะที่ครูคนหนึ่งกำลังสอนอัลกุรอาน ซึ่งเชคอะหมัด กำลังนอนเล่นอยู่บริเวณนั้น ก็บอกกับครูท่านนั้นว่า ที่ครูอ่านเมื่อกี้นี้ผิด ที่ถูกต้องอ่านแบบนี้

โต๊ะครูใหญ่ที่นั้นจึงได้สอบถามพูดคุยกับท่านเป็นภาษายาวี แล้วจึงทราบว่าท่านเป็นผู้มีความรู้ศาสนาเป็นอย่างดี จึงส่งท่านไปเป็นครูสอนศาสนาที่บางกอกน้อย เพราะที่บางกอกน้อย คนรู้ภาษาอาหรับก็มาก แหล่งวิชาการอิสลามล้วนไปรวมที่นั่นหมด  หากท่านเชคอะหมัดอยู่ที่สุเหร่าใหม่ถนนตก ท่านก็จะสื่อสารกับลูกศิษย์ไม่รู้เรื่อง

แต่เมื่อท่านได้เป็นครูสอนศาสนาที่บางกอกน้อย ก็เกิดปัญหา เพราะที่ท่านสอน บางอย่างแตกต่างจากบรรพบุรุษที่สั่งสอนกันมา เกิดความไม่พอใจของชาวบางกอกน้อยในช่วงนั้น แต่หลังจากนั้น ชาวบ้านก็เริ่มเข้าใจ ทำให้สุนนะฮฺเริ่มซึมลึกทีละนิดทีละน้อย กระทั่งชาวบางกอกน้อยเข้าใจเพิ่มมากขึ้น สุดท้ายก็ยอมรับคำสอนของท่าน และสุนนะฮฺได้ขยายวงกว้างในที่สุด

บุคคลที่เป็นศิษย์เชคอะหมัด ที่รู้จักกันดี ได้แก่  อาจารย์ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ และอาจารย์อิสมาอีล อะหฺมัด



เชคอะหฺมัด วาฮาบ ท่านได้เสียชีวิตในวันอังคารที่ 18 มีนาคม 2509 รวมอายุประมาณ 83 ปี   มัยยิตท่านละหมาดญะนาซะฮฺที่สุเหร่าอะตี๊ก แต่นำไปฝังที่อันซอริซซุนนะฮฺ บางกอกน้อย

รวมระยะเวลาที่เชคอะหฺมัด วาฮาบต่อสู้ยืนหยัดเพื่อเผยแพร่สุนนะฮฺ ในเมืองไทย เป็นเวลาประมาณ 65-66 ปี

เชคอะหฺมัด วาฮาบ ท่านคือผู้บุกเบิก ผู้มาเปลี่ยนสังคมอดีตที่งมงายให้เป็นสังคมที่ปฏิบัติศาสนาอันบริสุทธิ์...

><((((º><º))))><><((((º><º))))><

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น