อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จงสงบนิ่งฟังขณะคุฏบะฮฺวันศุกร์




                     นักวิชาการส่วนใหญ่มีทัศนะว่า จำเป็นที่ผู้ฟังคุฏบะฮฺวันศุกร์นิ่งสงบ พึ่งระวังการพูดคุยขณะอิมาม หรือเคาะฏีบกำลังคุฏบะฮฺอยู่นั่นเอง แม้ว่าเป็นการใช้ให้กระทำความดี ห้ามจากความชั่ว ตักเตือนผู้อื่นให้หยุดพูด หรือให้ฟังคุฏบะฮฺก็ตาม ผู้กระทำเช่นนี้ก็ไม่ได้รับผลบุญของวันศุกร์นั้นแล้ว ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่าผู้ที่พูดขณะอิมามคุฏบะฮฺอยู่ ก็เหมือนลาที่แบกกระดาษ มีตำราอยู่บนตัวที่มันช่างแสนหนัก แต่กลับไม่เข้าใจเนื้อหาสาระที่อยู่ในกระดาษนั้นเลย ส่วนผู้ที่กล่าวตักเตือนผู้อื่นให้สงบนิ่งฟัง การละหมาดของผู้นั้นก็เสียหายเป็นโมฆะเท่ากับไม่ได้อะไรเลยมาแต่ต้นเช่นกัน ในที่นี้ยังรวมถึงการรับพูดคุยทางโทรศัพท์ของผู้ฟังคุฏบะฮฺวันศุกร์ ที่ลืมปิดโทรศัพท์ขณะคุฏบะฮฺนั้นด้วย


ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า
“เมื่อท่านกล่าวแก่เพื่อนของท่านขณะอิมาม (หรือเคาะฏีบ) กำลังคุฏบะฮฺในวันศุกร์ว่า ท่านจงนิ่งเถิด แน่นอนยิ่งท่านก็ทำให้ (ผลบุญของการนมาซวันศุกร์) เป็นโมฆะแล้ว” (หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์ หะดีษที่ 882, มุสลิม หะดีษที่ 1404, อบูดาวูด หะดีษที่ 938, นะสาอีย์ หะดีษที่ 1385 และอิบนุมาญะฮฺ หะดีษที่ 1100
)

รายงานจากท่านอิบนุอับบาส ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าว่า
“ผู้ใดพูดคุยในขณะที่อิมาม(หรือเคาะฏีบ) กำลังกล่าวคุฏบะฮฺในวันศุกร์ เขาผู้นั้นเปรียบเสมือนลาที่แบกหนังสือ(โง่) และผู้ใดที่กล่าวกับผู้นั้นว่า “จงเงียบ” ก็เสมือนว่าเขาไม่ได้ละหมาดวันศุกร์” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด อิบนิ อะบี ชัยบะฮฺ , อัลบัซซาร และอัฏฏอบรอนีย์ ท่านอิบนิ ฮะญัร ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “บุลูฆุลมะรอม” ว่า สายสืบหะดิษนี้ใช้ได้)

รายงานจากท่านอับดิลลาฮฺ อิบนิ อัมรฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เล่าว่า แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าว่า
“มี 3 คน มาวันศุกร์ คนหนึ่งมาวันศุกร์ แต่ไม่ได้อะไรเลย เพราะส่วนของเขาเป็นอย่างนั้น อีกคนหนึ่ง มาวันศุกร์มาขอพร เขาเป็นคนขอพรต่ออัลลอฮฺ หากพระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ก็ประทานให้ และหากพระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ก็ไม่ทรงประทานให้ ส่วนอีกคนหนึ่ง มาวันศุกร์ด้วยความสงบและนิ่งเงียบ ไม่เดินข้ามบ่าของมุสลิมเข้าไป ไม่ให้อันตรายต่อผู้อื่น ซึ่งจะได้รับการลบล้างความผิดไปจนถึงวันศุกร์ถัดไป และยังเพิ่มอีก 3 วัน ทั้งนี้เพราะอัลลอฮฺ ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงสูงส่ง กล่าวว่า “ผู้ใดนำความดีมา(ปฏิบัติ)เขาจะได้รับถึง 10 เท่า” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด และอบูดาวูด ด้วยสายรายงานที่ดี)

รายงานจากอบีอัดดัรดาอฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าวว่า
ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้ขึ้นนั่งบนมิมบัร และปราศรัยกับผู้คน และอ่านโองการหนึ่งของอัลกุรอาน ข้างๆ ฉันนั้นมีอุบัย อิบนุกะอับ ฉันจึงกล่าวแก่เขาว่า : โอ้อุบัย โองการนี้ลงมาตั้งแต่เมื่อไร? อุบัยไม่ยอมพูดกับฉัน หลังจากนั้นฉันก้ถามเขาอีก แต่อุบัยก็ไม่ยอมพูดกับฉัน จนกระทั้งท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้ลงมาจากมิมบัร อุบัยจึงพูดกับฉันว่า : อะไรเจ้าทำอย่างนั้นได้อย่างไร ละหมาดวันศุกร์ของเจ้านั้นมันจะไม่ได้อะไรนอกจากเป็นโมฆะ เมื่อท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ออกมาแล้ว ฉันก็มาหาท่าน ฉันได้บอกให้ท่านฟัง ท่านกล่าวว่า
“อุบัยพูดถูกแล้ว เมื่อเจ้าได้ยินอิมามของเจ้าพูด ก็จงนิ่งจนกว่าจะเสร็จ” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอะหฺมัด และอัฎฎ็อบรอนีย์)

สำหรับกรณีการกล่าวรับสลาม การขอพรให้กับผู้จาม นักวิชาการถือว่าเป็นการผ่อนผันให้กระทำได้

ท่านอิมามอัตติรมีซีย์ ได้เล่ารายงานท่านอิมามอะหฺมัด อิสหาก ว่า
  “ผ่อนผันให้ในการรับสลาม ขอพรให้กับผู้ที่จาม โดยที่อิมามกำลังคุฏบะฮฺ”

ท่านอมามชาฟิอีย์ ร่หิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า
“หากคนหนึ่งจามในวันศุกร์ แล้วเขากล่าวตัซมีต (อัลฮัมดุลิลาฮฺ) หวังว่าจะได้รับการผ่อนผัน เพราะการตัซมีตนั้นเป็นสุนนะฮฺ”

ส่วนการพูดคุยกันที่ยังไม่อยู่ในเวลาคุฏบะฮฺ(ก่อนหรือหลังคุฎบะฮฺเสร็จแล้ว) ถือเป็นที่อนุญาตให้พูดคุยกันได้

รายงานจากท่านษะอฺละบะฮฺ อิบนิ อบีมาลิก กล่าวว่า
พวกเขาเคยพูดคุยกันในวันศุกร์ โดยที่อุมัรนั่งอยู่บนมิมบัร เมื่อมุอัซซินสงบลง อุมัรก็ได้ยืนขึ้น ก็ไม่มีคนใดสักคนหนึ่งพูดคุยกันจนกระทั้ง 2 คุฏบะฮฺเสร็จสิ้นลงทั้งสอง แล้วเมื่อละหมาดได้เริ่มขึ้น (ได้อกอมะฮฺ) อุมัรก็ลงมาจากมิมบัรพวกเขาก็พูดคุยกัน” (บันทึกหะดิษโดยอัชชาฟิอีย์ ในมุสนัดของเขา)

“แท้จริงท่านอุสมาน อิบนะอัฟฟาน ได้อยู่บนมิมบัร โดยที่มุอัซซินกำลังอิกอมะฮฺอยู่ ผู้คนก็ถามไถ่กันถึงคำโครงกลอนของกันและกัน” (บันทึกโดยอิมามอะหฺมัด ด้วยสายรายงานที่ถุกต้อง)


والله أعلم بالصواب

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น