อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

คุณสมบัติของคนดี




ความหมายของ "ซื่อสัตย์" ตามพจนานุกรมฉบับราช คือ ประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและหลอกลวง

มีข่าวอื้อฉาวในขณะนี้ึคือ การที่บริษัทใหญ่ ๆ ในอเมริกาไม่ซื่อสัตย์ หลอกลวงผู้ซื้อหัุน โดยแต่งตัวเลขและกำไรของบริษัทว่ามีกำไรมากมายทั้ง ๆ ที่ขาดทุน เป็นการพูดเท็จ ไม่ซื่อสัตย์ เป็นผลทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจ ตื่นตระหนก ขายหุ้นกัน ขายเงินดอลลาร์กันเป้นแถว จึงทำให้เงินดอลลาร์ตกต่ำลง นี่แหละคือตัวอย่างของความหายนะ ของความไม่ซื่อสัตย์

มีกลอนในหนังสือเล็ก ๆ

"มุสลิมที่ดี มีความสัตย์ซื่อ
เราไม่หยิบถือ เอาของคนอื่น"
(จากหนังสือ เด็กดีของอัลเลาะห์)

ความซื่อสัตย์เป็นคุณธรรมตามแบบฉบับของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ท่านนบีได้ชื่อว่า “อัลอามีน” ผู้ซื่อสัตย์ ซื่อสัตย์จนประชาชนนับถือไว้วางใจ

ความซื่อสัตย์เป็นคุณธรรมสูงสุด ใครที่ไม่ซื่อสัตย์จะเป็นอย่างไร ผลเสียนั้นมีมากมายจนถึงกับทำให้บ้านเมืองล่มจม

ชีวิตของเราทุกวันนี้มีสิ่งที่จะทำให้เราไขว้เขวมากมาย คนไม่ซื่อสัตย์ก็อยู่ได้อย่างมีหน้ามีตา เด็ก ๆ ก็รับเอาสิ่งที่ไม่ดีและเข้าใจว่าดี โกงกินก็คิดว่าดี คิดว่าก็ยังมีหน้ามีตาอยู่ได้

นอกจากนี้ยังมีคนที่ไม่ซื่อสัตย์ในการประกอบอาชีพอีก คนค้าขายคดโกง โกงตาชั่ง วัดตวง พูดพล่อย ๆ ของเสียก็บอกว่าเป็นของดี ทำจนติดเป็นนิสัย

เราต้องฝึกหัดให้เด็ก ๆ มีความซื่อสัตย์กันตั้งแต่เล็ก ๆ ต้องหัดเด็กจนติดเป็นนิสัย คือฝึกตั้งแต่เล็ก ๆ เห็นอะไรที่ไม่ใช้ของตนก็ไม่หยิบ ไม่ต้องการ ไม่ปรารถนา ถ้าเขาไปหยิบอะไรของใครมาก็ไม่ควรจะลงโทษรุนแรงนัก ต้องค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ ชี้แจง

เวลาเด็กไปหยิบอะไรของใครเข้ามาในบ้าน แม้จะเป็นของเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะต้องถามว่า นี่ของใคร ? เอามาจากไหน ? ถ้าไม่ใช่ของเราก็ให้เอาไปคืนเสีย และก็ไม่ต้องทำโทษเด็ก ให้ชี้แจงให้เข้าใจ เพราะว่าเด็ก ๆ เห็นของก็อยากได้ทั้งนั้น เขาไม่รู้ว่าเป็นของคนอื่น เขาไม่ควรจะหยิบถือเข้ามาในบ้าน นิสัยนี้จะติดไปใต้จิตสำนึก คือ ติดเป็นนิสัยว่า ถ้าเป็นของคนอื่นแล้วไม่เอา

ต่อไปแม้ว่าเขาเป็นผู้ใหญ่โตขึ้น เขาก็ไม่ต้องการของของคนอื่นจะเป็นเงินเป็นทอง ข้าวของที่ไม่ใช่ของเขา เขาไม่สนใจ ไม่นิยมอยากได้ของใคร เพราะเมื่อเป็นผู้ใหญ่เขาก็จะรู้ว่าเป็นบาปหนัก อัลเลาะห์ จะทรงลงโทษ

พ่อแม่บางคน พอเด็กไปเอาของคนอื่นมา เช่น ของเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็มองเลยไป คิดว่าไม่เป็นไรหรอก คงไม่มีใครว่า เพราะว่าของเล็กนิดเดียว แต่ไม่รู้ว่าจะก่อนิสัยให้เขาเป็นคนหยิบง่าย ไม่ซื่อสัตย์ เห็นอะไรพอใจก็หยิบได้ เขาไปเห็นว่าของคนอื่นมีค่านิดเดียวไม่เป็นไร

พอเป็นผู้ใหญ่ก็มองของใหญ่ต่อไปอีก หยิบได้สบาย เพราะว่านิสัยเคยชินตามที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ล่ะ เช่น ขโมย ปล้น ฉกชิงวิ่งราว เพราะว่านิสัยเดิมทั้งนั้น พ่อแม่ก็ต้องทำเป็นแบบอย่างในบ้านตั้งแต่เล็ก ๆ คือ พ่อแม่ก็ไม่หยิบของใครง่าย ๆ เหมือนกัน จะเป็นเครื่องใช้ในบ้าน อาหารการกิน เสื้อผ้า เด็ก ๆ เขามองเราทุกเวลานาที เขาช่างสังเกต ดีกว่าผู้ใหญ่เสียอีก

คนซื่อสัตย์ แม้จะอดอยาก กินข้าวกับน้ำปลา บางเวลาไม่มีข้าวสารจะหุงกิน เขาก็ไม่เอาของใคร คุณยายเคยเจอมาแล้ว เพราะว่าในใจเขาคิดเสมอว่าเป้นของคนอื่น คนอื่นเขาไม่อนุญาต เขาไม่อยากได้ ส่วนใหญ่คนที่ไม่ซื่อสัตย์ ในวันกิยามะฮฺก็จะถูกลงโทษ ถูกไฟเผา ตกนรก โกงไป กินไป กินดิน กินอูฐ กินทราย โกงไปก็ไม่เห็นโทษทันตาเห็นของตนประสบความเสียหาย

มีหะดีษของท่านนบี (ซ.ล.) เกี่ยวกับความซื่อสัตย์ว่า

“จงมีความซื่อสัตย์แก่ผู้ที่ไว้วางใจท่าน จงอย่าบิดพลิ้วคดโกงคนที่คดโกงท่าน” (บันทึกโดย อบูดาวูด, อัตติรมีซี และอัลฮากีม)

ความซื่อสัตย์นี่ละ ดีทุกอย่าง ไว้วางใจได้ มลาอิกะฮฺก็ขอพรให้เป็นคุณประโยชน์ เป็นที่นับถือและไว้วางใจของคนทั่วไป

มีเรื่องเล่าถึงคนมือไวไม่ซื่อสัตย์ ผู้ใหญ่โบราณเขาเล่าว่า

มีเศรษฐีคนหนึ่ง ไปบ้านใครเวลาจะกลับก็หยิบอะไรติดมือกลับไปด้วยทุกครั้งเลย แม้กระทั่งก้านไม่ขีดไฟบนโต๊ะรับแขก ก็ไม่ได้เป็นโทษ ขโมยหรืออะไรหรอก เพราะว่านิสัยเคยชินนั่นเอง นิสัยที่ใต้จิตสำนึกตอนเล็ก ๆ นั่นเอง ทั้ง ๆ ที่ตนก็ร่ำรวยเหลือล้น

“มุสลิมที่ดี มีความซื่อสัตย์
เราไม่หยิบถือ เอาของคนอื่น”

กลอนนี้ดี จำไว้สอนลูกหลานแต่เล็ก ๆ ตัวเรา ครอบครัว ลูกหลาน จะได้เป็นคนซื่อสัตย์ จะได้อยู่ร่วมกับท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ในสวรรค์


................................................
(จากหนังสือ : ของขวัญจากคุณยาย)
ซัยหนับ เพชรทองคำ : เขียน
อดทน เพื่อชัยชนะ  โพสต์





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น