อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

ทำไมถึงต้องเรียกตนว่า "สะละฟียฺ"



-----------------------------------------------
อุละมาอฺ: ชัยคฺ มุหัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานียฺ (ซีเรีย)
ที่มา: วารสาร อัล-อะซาละฮฺ Vol.9 
-----------------------------------------------

คำถาม: ทำไมถึงต้องใช้ชื่อว่า "สะละฟียะฮฺ" ? นี่คือการเรียกร้องไปสู่กลุ่ม(ฮิซบฺ) หรือ นิกายหนึ่ง(มัสฮาบียะฮฺ) หรือ นี่คือกลุ่มใหม่ในอิสลาม ?

ชัยคฺ อัล-บานียฺ ได้ตอบว่า:

แท้จริงแล้ว คำว่า "อัส-สะลัฟ" นั้นเป็นที่รู้จักกันดีในภาษาอาหรับ และในทางบทบัญญัติ(الشرع) และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพวกเราว่ามันมาจากมุมมองของบทบัญญัติ

มีการรายงานถึงท่านนบี ศอลฯ ในช่วงที่ท่านกำลังป่วยหนัก จะก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต ท่านได้บอกท่านหญิง ฟาฏิมะฮฺ รฎ. ว่า

فاتقي الله واصبري ، ونعم السلف أنا لك

" จงยำเกรงอัลลอฮฺ และจงอดทน ฉันนั้นเป็น 'สะลัฟ' ที่ดียิ่งสำหรับเจ้า "

และอุลามะอฺได้ใช้คำว่า "อัส-สะลัฟ" อย่างมากมาย และมากมายเกินกว่าที่จะแจกจง แต่เพียงพอแล้วสำหรับเราสำหรับตัวอย่างเดียวนี้ และมันเป็นสิ่งที่พวกเขาใช้เพื่อต่อต้านบิดอะฮฺ

وكل خير في اتباع من سلف وكل شر في ابتداع من خلف 

และทุกๆความดี คือ การดำเนินตามชนยุคสะลัฟ และทุกๆความชั่ว คือ อุตริกรรมใหม่ๆในยุคถัดมา(เคาะลัฟ)

อย่างไรก็ตามมีคนที่อ้างตนว่าเป็นผู้รู้ แต่เขาปฏิเสธที่จะอ้างตัวไปยังสิ่งนี้(สะลัฟ) โดยให้เหตุผลว่า มันไม่ใช่หลักการ ดังนั้นเขาจึงพูดว่า

"ไม่เป็นที่อนุญาตสำหรับมุสลิม ที่จะบอกว่า 'ฉันคือสะละฟียฺ " 

มันเหมือนกับการที่เขาจะพูดว่า 

"ไม่เป็นที่อนุญาตสำหรับมุสลิม ที่จะบอกว่า ฉันดำเนินตาม อัส-สะละฟุศศอลิหฺ ทั้งอะกีดะฮฺ อิบาดะฮฺ และแนวทาง"

ไม่เป็นที่สงสัยอันใดในการปฏิเสธนี้ ถ้าเขาตั้งมั่นในสิ่งนี้(การปฏิเสธสะลัฟ) มันมีผลทำให้คนๆนั้นออกจากอิสลามที่แท้จริง ที่บรรดาอัส-สะละฟุศศอลิหฺ ได้ดำรงอยู่ และหัวหน้าของพวกเขา(ชาวสะลัฟ)คือ ท่านนบี ศอลฯ และมีระบุไว้ในหะดีษ ระดับ มุตะวาตีร(เป็นหะดีษ ที่มีการรายงานเยอะมาก) อยู่ในศอฮีหฺทั้งสอง(บุคอรียฺ-มุสลิม) และอื่นๆ จากท่านรอซูลุลลอฮฺ ศอลฯ

خير الناس قرني ، ثم الذين يلونهم ، ثم الذين يلونهم

“กลุ่มชนที่ดีที่สุด คือกลุ่มชนในยุคของฉัน(เศาะหาบะฮฺ) และหลังจากนั้น(ตาบิอีน) และจากนั้น(ตาบิอิตตาบิอีน)"

แต่สำหรับคนๆหนึ่ง ที่อ้างตัวไปยังอัสสะละฟุศศอลิหฺ การอ้างตัวของเขานั้นไม่เป็นที่ผิดแต่อย่างใด ในเชิงทั่วๆไป และท่านนบี ศอลฯ ได้ระบุลักษณะของกลุ่มชนที่รอดพ้น(ฟิรเกาะตุนนาญิยะฮฺ) คือผู้ซึ่งยึดมั่นบนสิ่งที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศอลฯ และศอหาบะฮฺของท่านดำรงอยู่

ดังนั้น ใครก็ตามที่ยึดมั่นในสิ่งนี้ เมื่อนั้น เขาได้อยู่บนทางนำจากพระผู้อภิบาลของเขา ไม่เป็นที่ต้องสงสัยอันใด มันกระจ่าง ประจักษ์ชัด ไม่แตกต่างกัน ในการที่เราจะกล่าวว่า "ฉัน คือ มุสลิม ที่ตามกีตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺ บนแนวทาง(มันฮัจญ์)ของอัส-สะละฟุศศอลิหฺ" หรือเรียกสั้นๆว่า

أنا السلفي (ฉันเป็นสะละฟียฺ)

---------------------------------------------

إن كلمة السلف معروفة في لغة العرب وفي لغة الشرع ؛ وما يهمنا هنا هو بحثها من الناحية الشرعية :

فقد صح عن النبي صلى الله عليه وسلم أنه قال في مرض موته للسيدة فاطمة رضي الله عنها : "فاتقي الله واصبري ، ونعم السلف أنا لك " . ويكثر استعمال العلماء لكلمة السلف ، وهذا أكثر من أن يعد ويحصى ، وحسبنا مثالاً واحداً وهو ما يحتجون به في محاربة البدع :

وكل خير في اتباع من سلف وكل شر في ابتداع من خلف

ولكن هناك من مدعي العلم من ينكر هذه النسبة زاعماً أن لا أصل لها! فيقول : (لايجوز للمسلم أن يقول : أنا سلفي ) وكأنه يقول : (لا يجوز أن يقول مسلم : أنا متبع للسلف الصالح فيما كانوا عليه من عقيدة وعبادة وسلوك) .

لا شك أن مثل هذا الإنكار ـ لو كان يعنيه ـ يلزم منه التبرؤ من الإسلام الصحيح الذي كان عليه سلفنا الصالح ، وعلى رأسهم النبي صلى الله عليه وسلم كما يشير الحديث المتواتر الذي في الصحيحين وغيرهما عنه صلى الله عليه وسلم : "خير الناس قرني ، ثم الذين يلونهم ، ثم الذين يلونهم " . فلا يجوز لمسلم أن يتبرأ من الانتساب إلى السلف الصالح ، بينما لو تبرأ من أية نسبة أخرى لم يمكن لأحد من أهل العلم أن ينسبه إلى كفر أو فسوق . والذي ينكر هذه التسمية نفسه ، ترى ألا ينتسب إلى مذهب من المذاهب ؟! سواء أكان هذا المذهب متعلقاً بالعقيدة أو بالفقه ؟

فهو إما أن يكون أشعرياً أو ماتريدياً ، وإما أن يكون من أهل الحديث أو حنفياً أو شافعياً أو مالكياً أو حنبلياً ؛ مما يدخل في مسمى أهل السنة والجماعة ، مع أن الذي ينتسب إلى المذهب الأشعري أو المذاهب الأربعة ، فهو ينتسب إلى أشخاص غير معصومين بلا شك ، وإن كان منهم العلماء الذين يصيبون ، فليت شعري هلا أنكر مثل هذه الانتسابات إلى الأفراد غير المعصومين ؟

وأما الذي ينتسب إلى السلف الصالح ، فإنه ينتسب إلى العصمة ـ على وجه العموم ـ وقد ذكر النبي صلى الله عليه وسلم من علامات الفرقة الناجية أنها تتمسك بما كان عليه رسول الله صلى الله عليه وسلم وما كان عليه أصحابه .

فمن تمسك به كان يقيناً على هدى من ربه ولا شك أن التسمية الواضحة الجلية المميزة البينة هي أن نقول : أنا مسلم على الكتاب والسنة وعلى منهج سلفنا الصالح ، وهي أن تقول باختصار : أنا سلفي
ที่มาคำแปลhttps://www.facebook.com/salafiyouththailand/photos/a.336428283184271.1073741828.336424913184608/342370262590073/?type=1&theater






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น