อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อิสลามส่งเสริมให้เด็กแรกเกิดดื่มนมแม่




อิสลามสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อิสลามไม่เพียงแต่ส่งเสริม แต่ยังเรียกร้องบรรดาผู้เป็นแม่ทั้งหลายให้เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจนครบ 2 สำหรับผู้ที่มีความสามารถจะให้ได้ วัยทารกคือช่วงวัยที่เด็กกินนมแม่เป็นอาหารหลักเริ่มตั้งแต่วันแรกที่เกิดไปจนถึงช่วงปลายของขวบปีที่สอง นั่นคือมีระยะเวลาทั้งหมด 2 ปีโดยประมาณ อัลลอฮฺ ซุบหานะฮูวะตะอาลา ได้ตรัสว่า ความว่า “และมารดาทั้งหลายนั้น จะให้นมแก่ลูกๆ ของนางภายใน 2 ปีเต็ม สำหรับผู้ที่ต้องการจะให้ครบถ้วนในการให้นม” (อัล-บากอเราะฮฺ 2 : 233)

ปัจจัยที่ส่งผลอย่างยิ่งต่อนิสัยของเด็กในช่วงวัยนี้ก็คือ การให้นม บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างยอมรับว่าเด็กทารกนั้น นอกจากจะได้รับประโยชน์จากนมที่เขาดูดแล้วเขายังได้รับอิทธิพลในด้านนิสัยจากแม่นมมาด้วย ผ่านนมที่นางให้เขา มีผู้กล่าวว่า การให้นมนั้นสามารถเปลี่ยนนิสัยได้

สิ่งที่ควรให้ความสำคัญอีกประการคือ ไม่ควรให้นมจากน้ำนมที่หะรอม ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายด้วยค่าตอบแทนที่หะรอม อิมาม อัล-เฆาะซาลีย์ กล่าวว่า แท้จริงน้ำนมที่ได้มาจากสิ่งหะรอมนั้นไม่มีความประเสริฐอยู่เลย เมื่อใดที่ทารกได้รับมันแล้ว เลือดเนื้อของเขาก็จะก่อตัวจากสิ่งที่เลวทราม นิสัยใจคอก็จะเอนเอียงไปสู่สิ่งที่เลวทรามเช่นกัน

การให้นมคือการสื่อสารระหว่างลูกกับแม่ เขาจะรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยในตักและอ้อมแขนทั้งสองของนาง การให้นมไม่เพียงให้ความอิ่มทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังให้ความอิ่มทางใจใส่แก่เด็กที่โหยหาความรัก การดูแลเอาใจใส่อีกด้วย

สำหรับการนำน้ำนมจากธนาคารน้ำนมมนุษย์ สภาเพื่อการวิจัยและศึกษาค้นคว้าปัญหาศาสนาแห่งยุโรป ได้กล่าวว่า ไม่มีข้อโต้แย้งในเรื่องของหลักกฎหมายอิสลามที่จะเอาน้ำนมในธนาคารน้ำนมมนุษย์มาใช้ประโยชน์เมื่อมีความจำเป็น การใช้ประโยชน์จากน้ำนมนี้ไม่มีผลผูกพันถึงการห้ามแต่งงาน เพราะการเลี้ยงดูทารกด้วย (เป็นแม่นม) เพราะว่าน้ำนมเหล่านั้นได้ถูกผสมปนเปกัน และก็ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของน้ำนมนั้น



ที่มา : หนังสือการแพทย์และการดูแลผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวิถีมุสลิม โดย ยูซูฟ นิมะ, สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น