อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หะดิษเศาะเฮียะที่เป็นหลักฐานการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ



حَدَّثَنَا أَحْمَدُ، حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ أَبِي بَكْرٍ الْمُقَدَّمِيُّ، حَدَّثَنَا حَمَّادُ بْنُ زَيْدٍ، عَنْ ثَابِتٍ، عَنْ أَنَسٍ، قَالَ جَاءَ زَيْدُ بْنُ حَارِثَةَ يَشْكُو فَجَعَلَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم يَقُولُ " اتَّقِ اللَّهَ، وَأَمْسِكْ عَلَيْكَ زَوْجَكَ ". قَالَتْ عَائِشَةُ لَوْ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم كَاتِمًا شَيْئًا لَكَتَمَ هَذِهِ. قَالَ فَكَانَتْ زَيْنَبُ تَفْخَرُ عَلَى أَزْوَاجِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم تَقُولُ زَوَّجَكُنَّ أَهَالِيكُنَّ، وَزَوَّجَنِي اللَّهُ تَعَالَى مِنْ فَوْقِ سَبْعِ سَمَوَاتٍ. وَعَنْ ثَابِتٍ {وَتُخْفِي فِي نَفْسِكَ مَا اللَّهُ مُبْدِيهِ وَتَخْشَى النَّاسَ} نَزَلَتْ فِي شَأْنِ زَيْنَبَ وَزَيْدِ بْنِ حَارِثَةَ.

อะหมัด ได้เล่าเรา ว่า มุหัมหมัด บิน อบีบักร อัลมุกอ็ดดิมีย์ ว่า หัมมาด บิน เซด ได้เล่าเราว่ารายงานจาก ษาบิด จากอะนัส เขากล่าวว่า “ เซด บิน หาริษะฮ ได้มาร้องทุกข์(เกี่ยวกับภรรยาของเขา) ทำให้นบี ศอ็ลฯ กล่าวแก่เขาว่า “ท่านจงยำเกรงต่ออัลลอฮ และจงดูแลรักษาภริยาของเจ้าไว้ให้อยู่กับเจ้าเถิด “ ,นางอาอีฉะฮ (ร.ฎ) กล่าวว่า หากปรากฏว่ารซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ปิดบังสิ่งใด เขาก็ปิดบังสิ่งนี้ เขา(ท่านนบี)กล่าวว่า “ซัยหนับ ได้แสดงความภาคภูมิใจอวด บรรดาภรรยาของนบี ศอ็ลฯ กล่าวว่า “โดยนางกล่าวว่า “ ครอบครัวของพวกเธอจัดการแต่งงานให้พวกเธอ (กับท่านนบี) โดยที่ อัลลอฮ ตะอาลา จัดการแต่งงานฉัน(กับนบี) จากเบื้องบน เจ็ดชั้นฟ้า และรายงานจากษาบีต ว่า (และเจ้าได้ซ่อนไว้ในจิตใจของเจ้าเรื่องที่อัลลอฮฺจะทรงเปิดเผยมัน) ว่า มัน(อายะฮนี้ )ถูก ประทานลงมาเกี่ยวกับ ซัยหนับและเซด บิน หาริษะฮ - รายงานโดยบุคอรี

>>>>
หะดิษข้างต้น ประโยคที่ว่า

وَزَوَّجَنِي اللَّهُ تَعَالَى مِنْ فَوْقِ سَبْعِ سَمَوَاتٍ.

โดยที่ อัลลอฮ ตะอาลา จัดการแต่งงานฉัน(กับนบี) จากเบื้องบน เจ็ดชั้นฟ้า
แสดงให้เห็นชัดเจนแก่ผู้มีสติปัญญาปกติว่า “อัลลอฮทรงอยู่เบื้องสูง เหนือบรรดาชั้นฟ้า
เรื่องนี้ อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงตรัส เกี่ยวกับ ไซหนับ บุตรีของ ญะฮ์ช ร่อฏิยัลลอฮุอันฮาว่า

فَلَمَّا قَضَى زَيْدٌ مِنْهَا وَطَرًا زَوَّجْنَاكَهَا لِكَيْ لا يَكونَ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ حَرَجٌ فِي أَزْوَاجِ أَدْعِيَائِهِمْ إِذَا قَضَوْا مِنْهُنَّ وَطَرًا وَكَانَ أَمْرُ اللَّهِ مَفْعُولاً.
"ครั้นเมื่อเซดได้หย่ากับนางแล้ว เราได้ให้เจ้าแต่งงานกับนางเพื่อที่จะไม่เป็นที่ลำบากใจแก่บรรดาผู้ศรัทธาชาย ในเรื่องการ (สมรสกับ) ภริยาของบุตรบุญธรรมของพวกเขา เมื่อพวกเขาหย่ากับพวกนางแล้ว และพระบัญชาของอัลลอฮฺนั้น จะต้องบรรลุผลเสมอ"- อัลอะหซาบ/37

......................................................

หะดิษรายงานโดยอิหม่ามมุสลิม /หมวดที่1/บทที่76/ฮะดีษเลขที่ 0309

ได้กล่าวถึงเหตุกรณ์ในคืนเมียะรอจญ ที่ท่านนบี ศอ็ลฯ ขึ้นไปรับบัญชาการละหมาดห้าเวลา ว่า
فَأَوْحَى اللَّهُ إِلَىَّ مَا أَوْحَى فَفَرَضَ عَلَىَّ خَمْسِينَ صَلاَةً فِي كُلِّ يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ فَنَزَلْتُ إِلَى مُوسَى صلى الله عليه وسلم فَقَالَ مَا فَرَضَ رَبُّكَ عَلَى أُمَّتِكَ قُلْتُ خَمْسِينَ صَلاَةً . قَالَ ارْجِعْ إِلَى رَبِّكَ فَاسْأَلْهُ التَّخْفِيفَ فَإِنَّ أُمَّتَكَ لاَ يُطِيقُونَ ذَلِكَ فَإِنِّي قَدْ بَلَوْتُ بَنِي إِسْرَائِيلَ وَخَبَرْتُهُمْ . قَالَ فَرَجَعْتُ إِلَى رَبِّي فَقُلْتُ يَا رَبِّ خَفِّفْ عَلَى أُمَّتِي . فَحَطَّ عَنِّي خَمْسًا فَرَجَعْتُ إِلَى مُوسَى فَقُلْتُ حَطَّ عَنِّي خَمْسًا . قَالَ إِنَّ أُمَّتَكَ لاَ يُطِيقُونَ ذَلِكَ فَارْجِعْ إِلَى رَبِّكَ فَاسْأَلْهُ التَّخْفِيفَ . - قَالَ - فَلَمْ أَزَلْ أَرْجِعُ بَيْنَ رَبِّي تَبَارَكَ وَتَعَالَى وَبَيْنَ مُوسَى - عَلَيْهِ السَّلاَمُ - حَتَّى قَالَ يَا مُحَمَّدُ إِنَّهُنَّ خَمْسُ صَلَوَاتٍ كُلَّ يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ لِكُلِّ صَلاَةٍ عَشْرٌ فَذَلِكَ خَمْسُونَ صَلاَةً . وَمَنْ هَمَّ بِحَسَنَةٍ فَلَمْ يَعْمَلْهَا كُتِبَتْ لَهُ حَسَنَةً فَإِنْ عَمِلَهَا كُتِبَتْ لَهُ عَشْرًا وَمَنْ هَمَّ بِسَيِّئَةٍ فَلَمْ يَعْمَلْهَا لَمْ تُكْتَبْ شَيْئًا فَإِنْ عَمِلَهَا كُتِبَتْ سَيِّئَةً وَاحِدَةً - قَالَ - فَنَزَلْتُ حَتَّى انْتَهَيْتُ إِلَى مُوسَى صلى الله عليه وسلم فَأَخْبَرْتُهُ فَقَالَ ارْجِعْ إِلَى رَبِّكَ فَاسْأَلْهُ التَّخْفِيفَ . فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فَقُلْتُ قَدْ رَجَعْتُ إِلَى رَبِّي حَتَّى اسْتَحْيَيْتُ مِنْهُ "

แล้วพระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงวะฮีย์ให้แก่ฉันว่า พระองค์ทรงกำหนดการละหมาดในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ห้าสิบเวลา หลังจากนั้นฉันก็ลงมาที่มูซา ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ท่านกล่าวว่า องค์อภิบาลของเจ้าบัญญัติเรื่องใดให้แก่ประชาชาติของเจ้า ฉันตอบว่า พระองค์บัญญัติการละหมาดห้าสิบเวลา ท่านกล่าวว่า เจ้าจงกลับไปยังองค์อภิบาลของเจ้าเถิด และขอลดหย่อนต่อพระองค์ เพราะประชาชาติของเจ้าย่อมไม่สามารถปฏิบัติได้ครบถ้วน และฉันเองก็เคยทดสอบและฝึกฝนชาวบะนีอิสรออีลมาแล้ว (และพบว่าพวกเขาอ่อนแอมากเกินกว่าที่จะรับภาระหนักเช่นนั้นได้) ท่านนบีกล่าวว่า ฉันจึงได้กลับไปยังองค์อภิบาลของฉัน โดยร้องขอว่า โอ้องค์อภิบาลของฉันได้โปรดลดหย่อนแก่ประชาชาติของฉันด้วยเถิด ดังนั้นพระองค์จึงทรงลดหย่อนให้แก่ฉันเหลือเพียงห้าเวลา หลังจากนั้นฉันก็กลับมาที่นบีมูซา แล้วกล่าวกับท่านว่า พระองค์ทรงลดหย่อนให้แก่ฉันเหลือเพียงห้าเวลา ท่านกล่าวว่า ประชาชาติของเจ้าจะไม่สามารถรับภาระนี้ จงกลับไปยังองค์อภิบาลของเจ้าอีกครั้งเถิด แล้วขอลดหย่อนต่อพระองค์อีก ดังนั้นฉันจึงเทียวไปเทียวมาระหว่างองค์อภิบาลของฉันผู้ทรงจำเริญและสูงส่ง กับนบีมูซา อลัยฮิสสลาม จนกระทั่งพระองค์ทรงตรัสว่า โอ้มูฮัมหมัดเอ๋ย การละหมาดห้าเวลาในวันหนึ่งกับคืนหนึ่งนั้น แต่ละเวลาละหมาดเทียบเท่ากับสิบ ดังนั้น (การละหมาดห้าเวลา) จึงเท่ากับการละหมาดห้าสิบเวลา และผู้ใดตั้งใจกระทำความดีโดยที่ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ก็จะถูกบันทึกให้กับเขาหนึ่งความดี แต่หากเขาได้กระทำความดีนั้น ก็จะถูกบันทึกให้กับเขาสิบเท่าตัว และผู้ใดตั้งใจกระทำความชั่ว แต่ยังไม่ได้ลงมือทำ ความชั่วนั้นก็จะยังไม่ถูกบันทึก แต่หากเขาลงมือกระทำมัน ก็จะถูกบันทึกเพียงความชั่วเดียว
แล้วฉันก็กลับลงมาจนกระทั่งมาถึงท่านนบีมูซา ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และแจ้งข่าวให้ท่านทราบ แต่ท่านก็ยังกล่าวอีกว่า จงกลับไปยังองค์อภิบาลของเจ้า และขอลดหย่อนต่อพระองค์อีก ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ฉันตอบกับท่านนบีมูซาว่า ฉันกลับไปหาองค์อภิบาลของฉัน (หลายครั้งเพื่อขอลดหย่อน) จนกระทั่งฉันละอายต่อพระองค์
มุสลิม/หมวดที่1/บทที่76/ฮะดีษเลขที่ 0309

มาดูหลักฐานที่ชี้ให้เห็นการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ จากข้อความตอนหนึ่งในหะดิษข้างต้นว่า

فَنَزَلْتُ حَتَّى انْتَهَيْتُ إِلَى مُوسَى صلى الله عليه وسلم فَأَخْبَرْتُهُ فَقَالَ ارْجِعْ إِلَى رَبِّكَ فَاسْأَلْهُ التَّخْفِيفَ
แล้วฉันก็กลับลงมาจนกระทั่งมาถึงท่านนบีมูซา ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และแจ้งข่าวให้ท่านทราบ แต่ท่านก็ยังกล่าวอีกว่า ท่านจงกลับไปยังองค์อภิบาลของเจ้า และขอลดหย่อนต่อพระองค์อีก

>>>>>>>>

คือ เมื่อท่านนบี ศอ็ลฯ ลงมา ถึงชั้นฟ้าที่ นบีมูซา (ศอลฯ)อยู่ นบีมูซา ก็สั่งให้นบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯ กลับขึ้นไปยังอัลลอฮ แสดงว่า นบี ทั้งสองท่านรู้ว่า อัลลอฮ อยู่ใหน เมื่อให้กลับขึ้นไป ก็แสดงถึงการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น ไม่มีใครรู้นอกจากอัลลอฮ


والله أعلم بالصواب


...............................
อะสัน  หมัดอะดั้ม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น