อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

มั่นขอดุอาอ์ให้ลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์


การขอดุอาอ์ให้แก่ลูกจากผู้เป็นเจ้าของผู้เป็นพ่อเป็นแม่ คือลู่ทางการตอบรับจากพระองค์อัลลอฮฺ และเป็นตัวแปลสำคัญยิ่งสำหรับผู้พ่อแม่ที่จะขอดุอาให้แก่บุตรของเขา ทั้งก่อนร่วมประเวณีระหว่างสามีภรรยา ขณะที่ตั้งครรภ์ หรือขณะคลอดหรือหลังคลอดทารกน้อยลืมตาดูโลกแล้ว ทั้งดุอาอ์นั้นคืออิบาดะฮฺ

พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า

وَقَالَ رَبُّكُمُ ادْعُونِي أَسْتَجِبْ لَكُمْ إِنَّ الَّذِينَ يَسْتَكْبِرُونَ عَنْ عِبَادَتِي سَيَدْخُلُونَ جَهَنَّمَ دَاخِرِينَ

"และพระเจ้าของพวกเจ้าตรัสว่า จงวิงวอนขอต่อข่า ข้าจะตอบรับแก่พวกเจ้า ส่วนบรรดาผู้โอหังกต่อการเคารพภักดีข้านั้น จะเข้าไปอยู่ในนรกอย่างต่ำต้อย" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺฆอฟิร 40: 60)

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)กล่าวว่า
"การขอดุอาอ์ คืออิบาดะฮฺ" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัตติรฺมีซีย์ เลขที่ 3596)

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)กล่าวว่า
"บุคคลใดที่ไม่ยอมขอดุอาอ์ต่อพระองค์อัลลอฮฺ พระองค์ก็กริ้วโกรธต่อบุคคลดังกล่าว" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัตติรฺมีซีย์ เลขที่ 3597)

ซึ่งในช่วงตั้งครรภ์หญิงที่อุ่มครรภ์สมควรขอดุอาอ์ให้ลูกน้อยของตนมากๆ ได้แก่  การขอให้้ทารกของตนเป็นเด็กที่อีมาน ประกอบการงานที่ศอลิหฺ เป็นความเย็นตาเย็นใจของผู้เป็นแม่ ให้เขาปฏิบัติการงานที่อยู่ตามครรลองของอิสลาม ให้เขาเป็นลูกที่ศอลิหฺ เชื่อฟังพ่อแม่ ตลอดจนให้ตนผู้เป็นแม่คลอดลูกที่สะดวกง่ายดาย เป็นต้น ซึ่งผลของการขอดุอาอ์ อาจจะส่งผลให้พระองค์อัลลอฮ์ทรงรับดุอาอ์และกำหนดให้ทารกในครรภ์เป็นอย่างที่พ่อแม่ของทารกขอก็เป็นได้

ดั่งตัวอย่างของบรรพชนรุ่นก่อนได้ขอดุอาอ์ให้แก่ลูกขอพวกเขา


إِذْ قَالَتِ امْرَأَتُ عِمْرَانَ رَبِّ إِنِّي نَذَرْتُ لَكَ مَا فِي بَطْنِي مُحَرَّرًا فَتَقَبَّلْ مِنِّي إِنَّكَ أَنتَ السَّمِيعُ الْعَلِيمُ 

"จงรำลึกถึงขณะที่ภรรยาของอิมรอน กล่าวว่า โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์! แท้จริงข้าพระองค์ได้บนไว้ว่าให้สิ่ง(บุตร)ที่อยู่ในครรภ์ของข้าพระองค์ ถูกเจาะจงอยู่ในฐานะผู้เคารพอิบาดะฮ์ต่อพระองค์และรับใช้พระองค์เท่านั้น ดังนั้นขอพระองค์ได้โปรดรับจากข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้"

فَتَقَبَّلَهَا رَبُّهَا بِقَبُولٍ حَسَنٍ وَأَنبَتَهَا نَبَاتًا حَسَنًا وَكَفَّلَهَا زَكَرِيَّا كُلَّمَا دَخَلَ عَلَيْهَا زَكَرِيَّا الْمِحْرَابَ وَجَدَ عِندَهَا رِزْقًا قَالَ يَا مَرْيَمُ أَنَّىٰ لَكِ هَٰذَا قَالَتْ هُوَ مِنْ عِندِ اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ يَرْزُقُ مَن يَشَاءُ بِغَيْرِ حِسَابٍ 

"แล้วพระเจ้าของนางก็ทรงรับมัรยัมไว้อย่างดี และทรงให้นางเจริญวัยอย่างดีด้วยและได้ทรงให้ซะกะรียาอุปการะนาง คราใดที่ซะกะรียาเข้าไปหานางที่อัลมิห์รอบ เขาก็พบปัจจัยยังชีพ อยู่ที่นาง เขากล่าวว่า มัรยัมเอ๋ย! เธอได้สิ่งนี้มาอย่างไร?นางกล่าวว่า มันมาจากที่อัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์โดยปราศจากการคิดคำนวณ"

هُنَالِكَ دَعَا زَكَرِيَّا رَبَّهُ قَالَ رَبِّ هَبْ لِي مِن لَّدُنكَ ذُرِّيَّةً طَيِّبَةً إِنَّكَ سَمِيعُ الدُّعَاءِ 

"ที่โน่น แหละ ซะกะรียาได้วิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาโดยกล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดได้ทรงประทานแก่ข้าพระองค์ซึ่งบุตรที่ดีคนหนึ่งจากที่พระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินคำวิงวอน"  (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อาล อิมรอน 3: 35, 37-38)


ดุอาอ์จากอัลกุรอาน ที่ผู้เป็นพ่อหรือผู้เป็นแม่ควรขอให้กับทารกในครรภ์


 رَبَّنَا هَبْ لَنَا مِنْ أَزْوَاجِنَا وَذُرِّيَّاتِنَا قُرَّةَ أَعْيُنٍ وَاجْعَلْنَا لِلْمُتَّقِينَ إِمَامًا 

 “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของเรา ขอพระองค์โปรดประทานแก่เรา ซึ่งคู่ครองของเราและลูกหลานของเรา ให้เป็นที่รื่นรมย์แก่สายตาของเรา และทรงทำให้เราเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้ยำเกรง" (สูเราะฮ์อัล-ฟุรฺกอน 25:74)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น