อิสลามส่งเสริมให้เด็กแรกเกิดดื่มนมแม่ แต่หากผู้เป็นแม่ไม่สามารถจะให้นมเลี้ยงดูบุตรของตนได้ ศาสนาได้ผ่อนผันให้นำบุตรของตนไปให้หญิงอื่น เพื่อให้นมแทนการให้นมของตน ที่เรียกว่า "แม่นม"
"และถ้าพวกท่านต่างประสบความลำบาก ก็จงให้หญิงอื่นให้นมเพื่อเชา"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัฏ-เฏาะลากฺ :6)
สำหรับแม่นมที่ให้นมแก่ทารกคนนั้น ถือเป็นเป็นที่ต้องห้ามสำหรับหญิงนั้นที่จะแต่งงานกับทารกที่ตนให้นม รวมถึงทารกอื่นที่ร่วมดื่มนมกับทารกนั้นด้วย
حُرِّمَتْ عَلَيْكُمْ أُمَّهَاتُكُمْ وَبَنَاتُكُمْ وَأَخَوَاتُكُمْ وَعَمَّاتُكُمْ وَخَالَاتُكُمْ وَبَنَاتُ الْأَخِ وَبَنَاتُ الْأُخْتِ وَأُمَّهَاتُكُمُ اللَّاتِي أَرْضَعْنَكُمْ وَأَخَوَاتُكُم مِّنَ الرَّضَاعَةِ وَأُمَّهَاتُ نِسَائِكُمْ وَرَبَائِبُكُمُ اللَّاتِي فِي حُجُورِكُم مِّن نِّسَائِكُمُ اللَّاتِي دَخَلْتُم بِهِنَّ فَإِن لَّمْ تَكُونُوا دَخَلْتُم بِهِنَّ فَلَا جُنَاحَ عَلَيْكُمْ وَحَلَائِلُ أَبْنَائِكُمُ الَّذِينَ مِنْ أَصْلَابِكُمْ وَأَن تَجْمَعُوا بَيْنَ الْأُخْتَيْنِ إِلَّا مَا قَدْ سَلَفَ إِنَّ اللَّهَ كَانَ غَفُورًا رَّحِيمًا ( 23 )
ที่ได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้านั้นคือมารดา ของพวกเจ้า ลูกหญิงของพวกเจ้า พี่น้องหญิงของพวกเจ้า พี่น้องหญิงแห่งบิดาของพวกเจ้า และพี่น้องหญิงแห่งมารดาของพวกเจ้า บุตรหญิงของพี่หรือน้องชายของพวกเจ้า บุตรหญิงของพี่หรือน้องหญิงของพวกเจ้า และมารดาของพวกเจ้าที่ให้นมแก่พวกเจ้าและพี่น้องหญิงของพวกเจ้าเนื่องจากการดื่มนม และมารดาภรรยาของพวกเจ้าแลลูกเลี้ยงของพวกเจ้าที่อยู่ในตักของพวกเจ้า จากภรรยาของพวกเจ้าที่พวกเจ้ามิได้สมสู่นาง แต่ถ้าพวกเจ้ามิได้สมสู่นางแล้ว ก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่พวกเจ้าและภรรยาของบุตรพวกเจ้าที่มาจากเชื้อสายของพวกเจ้า และการที่พวกเจ้ารวมระหว่างหญิงสองพี่น้องไว้ด้วยกัน นอกจากที่ได้ผ่านพ้นไปแล้วเท่านั้น แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยผู้เมตตาเสมอ" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัน-นิสาอฺ 4:23)
เงื่อนไขของการห้ามแต่งงานระหว่างแม่นมกับทารกที่ดื่มนม คือ
-ทารกผุ้นั้นต้องไม่เกิน 2 ปี
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ไม่เรียกว่าเป็นการดูดนม (ที่มีผลบังคับใช้ตามหลักศาสนา) ยกเว้น(ทารก) มีอายุได้ 2 ขวบแล้ว" (บันทึกหะดิษโดยอิมามดารุ กุฏนีย์)
-ทารกจะต้องดูดนมของนางจำนวน 5 ครั้งขึ้นไป
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮา) เล่าว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ไม่ถือว่าต้องห้าม หากการดูดนมเพียงครั้งเดียว และดูดนมเพียง 2 ครั้ง (คือไม่ถือมีผลบังคับใช้)" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด เลขที่ 2063)
-การให้นมแก่ทารก จะต้องทิ้งช่วงในการดื่มแต่ละครั้ง
(จากหนังสือ "อัลวารุล มะสาลิก" หน้า 237 "กฎเกณฑ์การทิ้งช่วงห่าง ใช้ประเพณีของท้องถิ่นนั้นๆ เป็นมาตราฐานวัด)
-น้ำนมต้องลงสู่กระเพาะของทารก
บรรดานักวิชาการส่วนใหญ่กล่าวว่า
"น้ำนมของแม่นมจะต้องเขาสู่กระเพาะของทารกถึงจะมีผลบังคับใช้ตามหลักการ ไม่ว่าด้วยวิธีดูดกรือการบีบนมแล้วป้อนทางปากทารก หรือเทเข้าทางจมูกแล้วลงสู่กระเพาะก็ถือว่ามีผลเช่นกัน" (หนังสือ "นีรุล เอาฏอร์" เล่ม 6 หน้า 350)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น