อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความแตกต่างระหว่างหลักการอิบาดะฮและอาดะฮ

เช็คอิบนุอุษัยมีน (ร.ฮ) กล่าวว่า

أن العبادات الأصل فيها المنع والتحريم حتى يقوم دليل على أنها من العبادات ، لقول الله تعالى : (أَمْ لَهُمْ شُرَكَاءُ شَرَعُوا لَهُمْ مِنَ الدِّينِ مَا لَمْ يَأْذَنْ بِهِ الله) الشورى/21 ، أما العادات فالأصل فيها الحل إلا ما قام الدليل على منعه .
แท้จริง บรรดาอิบาดะฮนั้น หลักการ ในเรื่องของมัน คือ การห้ามและหะรอม(ห้ามปฏิบัติ) จนกว่า จะมีหลักฐานแสดงบอกว่ามัน เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาอิบาดะฮ เพราะอัลลอฮ ตาอาลา ตรัสว่า

أَمْ لَهُمْ شُرَكَاءُ شَرَعُوا لَهُمْ مِنَ الدِّينِ مَا لَمْ يَأْذَنْ بِهِ اللَّهُ

หรือว่าพวกเขามีภาคีต่าง ๆ ที่ได้กำหนดศาสนาแก่พวกเขา ซึ่งอัลลอฮฺมิได้ทรงอนุมัติและหากมิใช่ลิขิตแห่งการตัดสิน (ที่ได้กำหนดไว้ก่อนแล้ว) ก็คงมีการตัดสินใจในระหว่างพวกเขา แท้จริงบรรดาผู้อธรรมสำหรับพวกเขาได้รับการลงโทษอันเจ็บปวด “(อัชชูรอ / ๒๑)

สำหรับเรื่องอาดาต(เรื่องธรรมเนียมปฏิบัติในชีวิตปกติของมนุษย์ในทางโลก) นั้น หลักการในเรื่องของมัน คือ อนุญาต นอกจาก สิ่งที่มีหลักฐานบ่งบอก ถึงการห้ามมัน

وعلى هذا ، فإذا اعتاد الناس شيئاً وقال لهم بعض الناس : هذا حرام ، فإنه يطالب بالدليل ، يقال : أين الدليل على أنه حرام ؟ وأما العبادات فإذا قيل للإنسان : هذه العبادة بدعة ، فقال : ليست ببدعة ، قلنا له : أين الدليل على أنها ليست ببدعة ، لأن الأصل في العبادات المنع حتى يقوم دليل على أنها مشروعة " انتهى

และบนหลัการนี้ ดังนั้น เมื่อมนุษย์ได้ปฏิบัติสิ่งใดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ และ ผู้คนได้กล่าวแก่พวกเขาว่า “สิ่งนี้หะรอม(ต้องห้าม) แท้จริง เขาจะต้องขอหลักฐาน โดยถูกกล่าวว่า “ใหนหลักฐานที่แสดงบอกว่า มันคือสิ่งต้องห้าม ? และสำหรับบรรดาอิบาดะฮนั้น เมื่อมีผู้กล่าวแก่บรรดาผู้คนว่า “ อิบาดะฮนี้เป็นบิดอะฮ ,เขากล่าวว่า “มันไม่ใช่บิดอะฮ ,เราก็จะกล่าวแก่เขาว่า “ ใหนล่ะหลักฐาน แสดงบอกว่า มันไม่ใช่บิดอะฮ เพราะหลักการ(หรือหลักเดิม)ในเรื่อง อิบาดะฮนั้น คือการห้าม จนกว่าจะมีหลักฐานแสดงบอก ว่า มันคือสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ – ลิกออุลบาบ อัลมัฟตูหฺ 2/72

สรุปข้อแตกต่างระหว่างหลักการอิบาดะฮกับอาดะฮคือ
1. เรื่องอาดะฮ อนุญาตให้ทำได้ ยกเว้นสิ่งที่มีหลักฐานห้ามไว้
2. เรื่องอิบาดะฮ ไม่อนุญาตให้ทำ ยกเว้นมีบัญญัติหรือมีคำสั่งใช้ให้กระทำ
3. เรื่องอาดะฮ ต้องถามหาหลักฐานห้าม
4. เรื่องอิบาดะฮ ต้องถามหาหลักฐานที่มีบัญญัติสั่งให้ทำ

والله أعلم بالصواب

อะสัน หมัดอะดั้ม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น