อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พวกเขาถามว่ามันคือบิดอะฮฺดีไม่ถือเป็นซุนนะฮฺของท่านนบีหรอกหรือ?


ดูบาบอญิฮาด ถามว่า
ขอถามว่า..แล้วซุนนะของคอลีะฟะของซอฮาบะ(รฎ)เหล่านั้นที่อ้างว่ามันคือบิดอะที่ดี..ไม่ถือว่าเป็นซุนนะของท่านนบี(ซล)หรอกหรือ..ท่านครูมือฉมัง..
>>>
คนถามไม่เข้าใจคำว่าสุนนะฮเคาลิฟะฮเลย เพราะการปฏิบัติของเคาะลิฟะฮทั้งสี่ ไม่ใช่บิดอะฮ และไม่ใช่บิดอะฮที่ดี แต่มันคือสุนนะฮ แต่บาบอญิฮาด ต้องการเอาประเด็นการกระทำอุมัร มารับรองบิดอะฮที่ตัวเองอุตริขึ้นมาโดยเห็นว่าดี เช่น ทำอีซีกุโบร์ เป็นต้น มาดูคำอธิบ่ายต่อของอิบนุเราะญับครับ บาบอญิฮาด คือ
وروي عن أبي بن كعب ، قال له : إن هذا لم يكن ، فقال عمر : قد علمت ، ولكنه حسن
และได้ถูกรายงานจากอุบัย บิน กะอับ ว่า เขาได้กล่าวแก่เขา(แก่ท่านอุมัร)ว่า แท้จริงการกระทำนี้ไม่ปรากฏมาก่อน แล้วท่านอุมัร กล่าวว่า “ฉันรู้ แต่มันเป็นสิ่งที่ดี
แล้วท่านอิบนุเราญับกล่าวว่า
... ومراده أن هذا الفعل لم يكن على هذا الوجه قبل هذا الوقت ولكن له أصل في الشريعة يرجع إليها فمنها أن النبي صلى الله عليه وسلم كان يحث على قيام رمضان ويرغب فيه وكان الناس في زمنه يقومون في المسجد جماعات متفرقة ووحدانا وهو صلى الله عليه وسلم صلى بأصحابه في رمضان ليلة ثم امتنع من ذلك معللا بأنه خشي أن يكتب عليهم فيعجزوا عن القيام به وهذا قد أمن بعده صلى الله عليه وسلم .
ความหมายของมันคือ การกระทำแบบนี้ ไม่ปรากฏก่อนหน้านี้ แต่ว่า มันมีรากฐานในศาสนบัญญัติ ที่กลับไปหามันได้ แล้วส่วนหนึ่งจากมันคือ แท้จริงท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งเสริมให้ละหมาดในค่ำคืนเราะมะฎอนและกระตุ้นให้ปฏิบัติมัน และปรากฏว่าประชาชนในสมัยของท่านนบี ได้ละหมาดในมัสญิด เป็นหมู่คณะ แยกเป็นกลุ่มๆ และละหมาดคนเดียว โดยที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กับบรรดาเหล่าเศาะหาบะฮ ของท่านได้ละหมาด ตอนกลางคืนในเดือนเราะมะฎอน ต่อมาท่านนบีได้หยุดจากการกระทำดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า เกรงว่ามันจะถูกบัญญัติให้เป็นข้อบังคับแก่พวกเขาแล้วพวกเขาไม่สามารถที่จะดำรงการปฏิบัติมันได้ และกรณีนี้ (กรณีเกรงจะถูกบัญญัติ) มันปลอดภัย หลังจากนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เสียชีวิต –ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม เล่ม 1 หน้า 266-267
>>>>
ข้างต้น เป็นการอธิบายของอิบนุเราะญับ ตัวอย่างสิ่งที่มีรากฐานมาจากศาสนาบัญญัติ แล้ว บรรดาบิดอะฮต่างๆเช่น การทำบุญเนื่องจากการตาย ,การทำอีซีกุบูร ,การอ่านตัลกีนคนตายในหลุมศพ การทำเมาลิด มีรากฐานมาจากชะรีอัตไหม และเอาการกระทำข้างต้น ไปกิยาส กับการกระทำของเคาะลิฟะฮทั้งสี่ได้หรือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น