สะลัฟคืออะไร
คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยวิชาการฯ แห่งประเทศซะอุดีย์ กล่าวว่า
والسلف هم صحابة رسول الله (صلّى الله عليه وآله) وأئمة الهدى من أهل القرون الثلاثة الأولى (رضي الله عنهم
والرأي الأشهر بين العلماء أنّ السلف يراد بهم الصحابة والتابعين وتابعي التابعين
และคำว่า “สะลัฟ”คือ บรรดาเศาะหาบะฮของรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และบรรดาผู้นำ(อิหม่าม)ผู้ได้รับทางนำ จากผู้ที่อยู่ในศตวรรตที่สามแรก(ยุคสามร้อยปีแรกนับจากฮิจญเราะฮศักราชที่ 1 ) (ขออัลลอฮโปรดประทานความโปรดปรานแก่พวกเขาด้วยเถิด) และ ความเห็นที่แพร่หลายระหว่างบรรดานักวิชาการคือ แท้จริง คำว่า “สะลัฟ” หมายถึง เหล่าเศาะหาบะฮ,บรรดาตาบิอีน และตาบิอิตตาบิอีน(ผู้เจริญรอยตามบรรดากัลญานชนในยุคตาบิอีน) –
السلفية ودعوة الشيخ محمد بن عبد الوهاب: الدكتور عبد الحليم محمود: ص 9
แนวทางสลัฟ หมายถึงแนวทางอิสลามอันบริสุทธิ์ที่มาจากกิตาบุลลอฮ์และซุนนะห์ ตามคำอธิบายของท่านรอซุลุลลอฮ์และซอฮาบะห์และซาละฟุซซอและฮ์ (ในยุค 300 ปีแรก(ฮิจเราะฮ์) คือ
100 ปี แรก ยุครอซูลลุลลอฮ์-ซอฮาบะฮ์
100 ปีที่สอง ยุคตาบีอีน (ลูกศิษย์ซอฮาบะฮ์)
100 ปีที่สาม ยุคตาบีอิต-ตาบีอีน(ลูกศิษย์ตาบีอีน) ยุคนี้เรียกว่า สลัฟ
หลังจาก 300 ปี เรียกว่า ยุคคอลัฟ
จากอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนะบี ได้กล่าวว่า
:
;خَيْرُ النَّاسِ قَرْنِي، ثُمَّ الَّذِينَ يَلُونَهُمْ، ثُمَّ الَّذِينَ يَلُونَهُمْ، ثُمَّ يَجِيءُ أَقْوَامٌ تَسْبِقُ شَهَادَةُ أَحَدِهِمْ يَمِينَهُ وَيَمِينُهُ شَهَادَتَهُ متفق عليه.
ความว่า “ผู้คนที่ประเสริฐที่สุด คือ คนในศตวรรษของฉัน ถัดมาคือศตวรรษต่อจากนั้น ถัดมาก็คือศตวรรษต่อจากนั้นอีก จากนั้นจะมีบรรดากลุ่มพวกที่กำเนิดขึ้นมา พวกเขา(ไม่ให้ความสำคัญและทำเล่นๆ กับการสาบานและการยกอ้างอัลลอฮฺเป็นสักขีพยาน) บางครั้งก็ยกอ้าง(อัลลอฮฺ)ก่อนที่จะสาบานและบางครั้งก็สาบานก่อนจะยกอ้าง” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ : 2652 สำนวนนี้เป็นของท่าน, มุสลิม : 2533)
อิหม่ามเอาซาอีย์ ท่านเป็นผู้ที่ส่งเสริมให้ยึดมั่นตามสุนนะฮ
أَبُو إِسْحَاقَ ، قَالَ : سَأَلْتُ الْأَوْزَاعِيَّ فَقَالَ : " اصْبِرْ نَفْسَكَ عَلَى السُّنَّةِ ، وَقِفْ حَيْثُ وَقَفَ الْقَوْمُ ، وَقُلْ بِمَا قَالُوا ، وَكُفَّ عَمَّا كَفُّوا ، وَاسْلُكْ سَبِيلَ سَلَفِكَ الصَّالِحِ ، فَإِنَّهُ يَسَعُكَ مَا وَسِعَهُمْ
อบูอิสหากกล่าวว่า ฉันถามอัลเอาซาอีย์ แล้วเขากล่าวว่า ท่านจงอดตนตัวของท่านบนอัสสุนนะฮ และจงหยุดอยู่ ตามที่กลุมชนนั้น(หมายถึงเหล่าเศาะหาบะฮ)หยุดอยู่ และจงพูด(หมายถึงปฏิบัติ)ตามที่พวกเขาพูด(หมายถึงตามที่พวกเขาปฏิบัติ) และจงยับยั้งจากสิ่งที่พวกเขายับยั้ง และจงดำเนินตาม บรรพชนผู้ทรงธรรมยุคก่อนจากท่าน เพราะแท้จริง สิ่งที่เป็นทางออกแก่พวกเขา มันจะเป็นทางออกให้แก่ท่าน – ดู ชัรหศูลิดสุนนะฮ ของ อัฏฏฮ็บรีย์ เล่ม 1 หน้า 174 เรืองอะกีดะฮของอิหม่ามอัลเอาซาอีย์
2
สะละฟียะฮ คืออะไร
เช็ค อิบนุอุษัยมีนกล่าวว่า
السلف معناه المتقدمون فكل متقدم على غيره فهو سلف له ولكن إذا أطلق لفظ السلف فالمراد به القرون الثلاثة المفضلة الصحابة والتابعون وتابعوهم هؤلاء هم السلف الصالح ومن كان بعدهم وسار على منهاجهم فإنه مثلهم على طريقة السلف وإن كان متأخراً عنهم في الزمن لأن السلفية تطلق على المنهاج الذي سلكه السلف الصالح رضي الله عنهم كما قال النبي عليه الصلاة والسلام (إني أمتي ستفترق على ثلاثة وسبعين فرقة كلها في النار إلا واحدة وهي الجماعة) وفي لفظ (من كان على مثل ما أنا عليه وأصحابي) وبناء على ذلك تكون السلفية هنا مقيدة بالمعنى فكل من كان على منهاج الصحابة والتابعين وتابعيهم بإحسان فهو سلفي وإن كان في عصرنا هذا وهو القرن الرابع عشر بعد الهجرة نعم
สะลัฟ ความหมายของมันคือ บรรดาคนยุคก่อน ดังนั้น ทุกคนที่อยู่ก่อนผู้อื่น มันก็คือสะลัฟ สำหรับเขา แต่ว่า เมื่อกล่าวถึง คำว่า สะลัฟ ความมุ่งหมายด้วยมันคือ ศตวรรษที่สาม อันประเสริฐ คือ เหล่าเศาะหาบะฮ , ตาบิอูน และ บรรดาผู้เจริญรอยตามพวกเขา พวกเขาคือ บรรพชนผู้ทรงธรรม (สะละฟุศศอลิห) และผู้ใด อยู่หลังจากพวกเขา และดำเนินตามแนวทาง ของพวกเขา เขาก็เหมือนกับพวกนั้น บนแนวทางสะลัฟ และแม้ว่า เขาจะอยู่ยุคสุดท้ายหลังจากพวกเขาก็ตาม เพราะแท้จริง คำว่า สะละฟียะฮ ถูกกล่าว บนแนวทางที่ บรรดาสะลัฟผู้ทรงธรรม (ร.ฎ)ดำเนินอยู่ ดังที่นบี ศอ็ลฯกล่าวว่า
อุมมะฮของฉัน แตกออกเป็น 73 พวก ทั้งหมดนั้นอยู่ในนรก ยกเว้น พวกเดียวคืออัลญะมาอะฮ และในสำนวนหนึ่ง กล่าวว่า “ผู้ที่ อยู่บนสิ่งที่เหมือนฉันและ บรรดาสาวกของฉันยืนหยัดอยู่บนมัน “ ตามนัยยะ ดังกล่าว นั้น คำว่าสะละฟียะฮในที่นี้ ถูกจำกัด ด้วยความหมาย ดังนั้น ทุกคนที่อยู่บนแนวทาง เศาะหาบะฮ ,ตาบิอีน และบรรดาผู้เจริญรอยตามพวกเขาด้วยความดีงาม เขาก็คือ สะละฟีย์ และแม้เขาอยู่ในสมัยของเรานี้ คือ ศตวรรษที่ 14 หลังจากฮิจญเราะฮศักราช ก็ตาม
http://www.ibnothaimeen.com/all/noor/article_969.shtml
อัลอับบาส บิน วะลิด บิน มัซยัด กล่าวว่า บิดาของข้าพเจ้าได้บอกว่า ท่านได้ยินอิหม่ามอัลเอาซาอีย์กล่าวว่า
عَلَيْكَ بِآثَارِ مَنْ سَلَفَ وَإِنْ رَفَضَكَ النَّاسُ ، وَإِيَّاكَ وَآثَارَ الرِّجَالِ وَإِنْ زَخْرَفُوا لَكَ الْقَوْلَ
ท่านมีหน้าที่ปฏิบัติตามร่องรอย(หมายถึงคำพูด)ผู้ที่อยู่ก่อนหน้า (หมายถึงชาวสะลัฟ)และแม้บรรดาผู้คนจะปฏิเสธท่านก็ตาม และท่านจงระวังบรรดาร่องรอย(หมายถึงบรรดาคำพูด)ของบรรดาผู้คนและแม้พวกเขาจะเสริมแต่งคำพูดให้ท่านเห็นว่าดีก็ตาม – ดู ญิมิอุลบะยาน วัลอิลมิ ของอับดุลบัร หะดิษหมายเลข 1277 และ ในอีกสำนวนหนึ่งกล่าวว่า
وإيّاك وآراء الرجال وإن زخرفوها لك بالقول؛
และท่านจงระวังบรรดาความเห็นของบรรดาผู้คนและแม้พวกเขาจะเสริมแต่งมันด้วยคำพูดให้ท่านเห็นว่าดีก็ตาม
ดูเพิ่มเติมจากตำราต่อไปนี้
، الشريعة للآجري (124) ، سير أعلام النبلاء (7/120) ، طبقات الحنابلة (1/236)]
___________
والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดั้ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น