อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เขากล่าวหาว่า วะฮบีย์สายสุดโต่งกล่าวหาอิบนุเราะญับเกี่ยวกับบิดอะฮ์



ญิฮาด อัลอักซอ
13 ชม. · มีการแก้ไข
เมื่อกลุ่มวะฮาบีย์สายสุดโต่งที่ชอบกระทำบิดอะดอลาละฮ์ ได้กล่าวหาท่าน
อิบนุเราะญับปราชญ์มัสหับสลัฟว่า.ท่านปฏิเสธการบิดอะฮ์ที่อยู่บนหลักการของศาสนา..
เป็นที่รู้ว่า นักวิชาการส่วนมากจากปราชญ์มัสหับสลัฟ กล่าวว่า บิดอะฮนั้นได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามมติ คือบิดอะฮาสานะ(สิ่งที่เกิดขึ้นในทางที่ดีไม่ขัดกับกีตาบุลลอฮ์และอัชซุนนะ และบิดอะซัยยีอะคือสิงที่เกิดขึ้นในทางไม่ดีและขัดกับกีตาบุลลอฮ์และอัชซุนนะ

จากอิบนุเราะญับ(รฮ)กล่าวว่า
وأمَّا ما وقع في كلام السلف من استحسان بعض البدع، فإنما ذلك في البدع اللغوية لا الشرعية، فمن ذلك قول عمر - رضي الله عنه - لما جمع الناس في قيام رمضان على إمام واحد في المسجد، وخرج ورآهم يصلون كذلك، فقال: نعمت البدعة هذه
“ สำหรับสิ่งที่ปรากฏในคำพูดของสะลัฟ จากการที่เห็นว่าบางส่วนของบิดอะฮเป็นสิ่งที่ดีนั้น ความจริง ดังกล่าวนั้น เกี่ยวกับบิดอะฮในเชิงภาษา ที่บ่งชี้สื่อไปถึงการ
กระทำ แล้วส่วนหนึ่งจากดังกล่าวนั้น คือ คำพูดของอุมัร (ร.ฎ)เมื่อได้รวมผู้คนให้มาละหมาดตะรอเวียะโดยเจาะจงจำนวนนำของอิหม่ามคนเดียวกัน ในมัสญิด และท่านได้ออกมาเห็นพวกเขา กำลังละห20รอกาอะฮ์และให้มีอีหม่ามนำละหมาดคนเดียว..ในคืนต่อมาท่านเดินออกมาดูสิ่งนั้นแล้วกล่าวชมเชยสิ่งนั้นว่าเช่นนั้น จึงกล่าวว่า “ นี่คือ บิดอะฮที่ดี – ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม 1/129..
................

ฉนั้น การที่กลุ่มวะฮาบีย์สายสุดโต่งกล่าวหาว่า..ท่านอิบนุเราะญับได้ปฎิเสธบิดอะฮ์ในเชิงศาสนานั้นถือว่าเป็นการซอลิมและกล่าวหาปราชญ์มัสหับสลัฟท่านนี้อย่างไร้ความสัจจริง
>>>>>>>>>>>

ชี้แจง
มาอัฟนะครับ บาบอญิฮาด อักซอ ผมเคยบอกไว้แล้วว่า ท่านเชิ่อแบบใหนก็นำหลักฐานเสนอไป แต่อย่ากล่าวหาพี่น้องอีกส่วนหนึ่งในสิ่งที่เป็นเท็จ เพราะไม่อย่างนั้น ก็จะเกิดความเข้าใจว่าเป็นเรื่องจริง เพราะมีผู้อ่านจำนวนไม่น้อยได้อ่านที่ท่านโพสต์กล่าวหา
พี่น้องผู้อ่านครับมาดู ข้อเท็จจริงดังนี้

อิหม่ามอิบนุเราะญับ (ร.ฮ) กล่าวว่า
อิบนุเราะญับ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

وأمَّا ما وقع في كلام السلف من استحسان بعض البدع، فإنما ذلك في البدع اللغوية لا الشرعية، فمن ذلك قول عمر - رضي الله عنه - لما جمع الناس في قيام رمضان على إمام واحد في المسجد، وخرج ورآهم يصلون كذلك، فقال: نعمت البدعة هذه
“ สำหรับสิ่งที่ปรากฏในคำพูดของสะลัฟ จากการที่เห็นว่าบางส่วนของบิดอะฮเป็นสิ่งที่ดีนั้น ความจริง ดังกล่าวนั้น เกี่ยวกับบิดอะฮในเชิงภาษา ไม่ใช่ ในด้านศาสนา แล้วส่วนหนึ่งจากดังกล่าวนั้น คือ คำพูดของอุมัร (ร.ฎ)เมื่อได้รวมผู้คนให้มาละหมาดกิยามุเราะมะฏอน(ตะรอเวียะ) ภายใต้การนำของอิหม่ามคนเดียวกัน ในมัสญิด และท่านได้ออกมาเห็นพวกเขา กำลังละหมาดเช่นนั้น จึงกล่าวว่า “ นี่คือ บิดอะฮที่ดี – ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม 1/129

แล้วท่านอิบนุเราะญับ กล่าวต่อไปว่า

وَمُرَادُهُ أَنَّ هَذَا الْفِعْلَ لَمْ يَكُنْ عَلَى هَذَا الْوَجْهِ قَبْلَ هَذَا الْوَقْتِ ، وَلَكِنَّ لَهُ أُصُولٌ مِنَ الشَّرِيعَةِ يُرْجَعُ إِلَيْهَا ، فَمِنْهَا أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يَحُثُّ عَلَى قِيَامِ رَمَضَانَ ، وَيُرَغِّبُ فِيهِ ، وَكَانَ النَّاسُ فِي زَمَنِهِ يَقُومُونَ فِي الْمَسْجِدِ جَمَاعَاتٍ مُتَفَرِّقَةً وَوُحْدَانًا ، وَهُوَ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ صَلَّى بِأَصْحَابِهِ فِي رَمَضَانَ غَيْرَ لَيْلَةٍ ، ثُمَّ امْتَنَعَ مِنْ ذَلِكَ مُعَلِّلًا بِأَنَّهُ خَشِيَ أَنْ يُكْتَبَ عَلَيْهِمْ ، فَيَعْجِزُوا عَنِ الْقِيَامِ بِهِ ، وَهَذَا قَدْ أُمِنَ بَعْدَهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، وَرُوِيَ عَنْهُ أَنَّهُ كَانَ يَقُومُ بِأَصْحَابِهِ لَيَالِيَ الْأَفْرَادِ فِي الْعَشْرِ الْأَوَاخِرِ .

ความหมายของมันคือ การกระทำแบบนี้ ไม่ปรากฏก่อนหน้านี้ แต่ว่า มันมีรากฐานในศาสนบัญญัติ ที่กลับไปหามันได้ แล้วส่วนหนึ่งจากมันคือ แท้จริงท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งเสริมให้ละหมาดในค่ำคืนเราะมะฎอนและกระตุ้นให้ปฏิบัติมัน และปรากฏว่าประชาชนในสมัยของท่านนบี ได้ละหมาดในมัสญิด เป็นหมู่คณะ แยกเป็นกลุ่มๆ และละหมาดคนเดียว โดยที่ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กับบรรดาเหล่าเศาะหาบะฮ ของท่านได้ละหมาด ตอนกลางคืนในเดือนเราะมะฎอน ต่อมาท่านนบีได้หยุดจากการกระทำดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า เกรงว่ามันจะถูกบัญญัติให้เป็นข้อบังคับแก่พวกเขาแล้วพวกเขาไม่สามารถที่จะดำรงการปฏิบัติมันได้ และกรณีนี้ (กรณีเกรงจะถูกบัญญัติ) มันปลอดภัย หลังจากนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เสียชีวิต –ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม เล่ม 1 หน้า 266-267

มาดูคำยืนยันในหนังสืออธิบายหะดิษสุนันอัตติรมิซีย์ ของ อัลมุบาเราะกะฟูรีย ว่า

قَالَ الْحَافِظُ ابْنُ رَجَبٍ فِي كِتَابِ جَامِعِ الْعُلُومِ : وَالْحِكَمِ فِيهِ تَحْذِيرٌ لِلْأُمَّةِ مِنَ اتِّبَاعِ الْأُمُورِ الْمُحْدَثَةِ الْمُبْتَدَعَةِ وَأَكَّدَ ذَلِكَ بِقَوْلِهِ : كُلَّ بِدْعَةٍ ضَلَالَةٌ ، وَالْمُرَادُ بِالْبِدْعَةِ مَا أُحْدِثَ مِمَّا لَا أَصْلَ لَهُ فِي الشَّرِيعَةِ يَدُلُّ عَلَيْهِ ، وَأَمَّا مَا كَانَ لَهُ أَصْلٌ مِنَ الشَّرْعِ يَدُلُّ عَلَيْهِ فَلَيْسَ بِبِدْعَةٍ شَرْعًا وَإِنْ كَانَ بِدْعَةً لُغَةً فَقَوْلُهُ -صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ- كُلَّ بِدْعَةٍ ضَلَالَةٌ مِنْ جَوَامِعِ الْكَلِمِ لَا يَخْرُجُ عَنْهُ شَيْءٌ وَهُوَ أَصْلٌ عَظِيمٌ مِنْ أُصُولِ الدِّينِ ، وَأَمَّا مَا وَقَعَ فِي كَلَامِ السَّلَفِ مِنَ اسْتِحْسَانِ بَعْضِ الْبِدَعِ ، فَإِنَّمَا ذَلِكَ فِي الْبِدَعِ اللُّغَوِيَّةِ لَا الشَّرْعِيَّةِ ، فَمِنْ ذَلِكَ قَوْلُ عُمَرَ -رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ- فِي التَّرَاوِيحِ : نِعْمَتِ الْبِدْعَةُ هَذِهِ
อัลหาฟิซ อิบนุเราะญับ ได้กล่าวใน หนัง
สือญามิอุลอุลูม วัลหิกัม ว่า และข้อชี้ขาดในมัน (ในหะดิษที่ว่า وَإِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ الْأُمُورِ.....จนจบ) คือ การเตือนอุมมะฮ ให้ระวังการตามบรรดาสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ที่ถูกอุตริขึ้นมา และ ได้เน้นดังกล่าวด้วยคำพูดของท่านที่ว่า "ทุกบิดอะฮ คือการลุ่มหลง" และความหมายของ คำว่าบิดอะฮ คือ สิ่งที่ถูกประดิษขึ้นใหม่ จากสิ่งที่ไม่มีรากฐาน ในศาสนบัญญัติ แสดงบอกไว้ บนมัน และสำหรับ สิ่งที่ปรากฏรากฐานสำหรับมันจากศาสนบัญญัติ ที่แสดงบอกบนมัน ก็ไม่ใช่บิดอะฮ ในทางศาสนบัญญัติ และแม้ เป็นบิดอะฮ ในทางภาษา
ดังนั้น คำพูดของท่านนบี ศอ็ลฯ ที่ว่า “ทุกบิดอะฮ คือการลุ่มหลง เป็นส่วนหนึ่งจากคำพูดโดยรวม ซึ่งไม่มีสิ่งใดออกจากความหมายของมัน และมันคือ รากฐานสำคัญ จากบรรดารากฐานของศาสนา และสำหรับ สิ่งที่ปรากฏในคำพูดสะลัฟ จากการนับว่าดีบ่างส่วนของบิดอะฮนั้น ความจริง ดังกล่าวนั้น อยู่ในประเภทบิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนบัญญัติ ดังนั้นส่วนหนึ่งจากดังกล่าว (จากตัวอย่างบิดอะฮในทางภาษา)คือ คำพูดของอุมัร(ร.ฎ) ในเรื่องละหมาดตะรอเวียะว่า “เนียะมะตุลบิดอะฮ(บิดอะฮที่ดี) – ดู ตะฟะตุลอะวะซีย์ เล่ม 5 หน้า 366 สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบอัลอิลมียะฮ
>>>>>>

ข้างต้นเป็นหลักฐานชัดเจนว่า ท่านอิบนุเราะญับ ได้ปฏิเสธบิดอะฮในทางศาสนา (ชัรอีย) ส่วนสิ่งที่มีรากฐานทางศาสนา ท่านยืนยันว่าไม่ใช่บิดอะฮ ในทางศาสนาแต่เป็นบิดอะฮในทางภาษา และได้ยกตัวอย่างคำพูดของ ท่านอุมัร ที่ว่า นี้คือบิดอะฮที่ดี ทั้งนี้เพราะความจริงแล้วการกระทำอุมัรไม่ใช่บิดอะฮ ซึ่ง ไม่มีวะฮบียคนใหนบอกว่า ท่านเคาะลิฟะฮอุมัรทำบิดอะฮ เลยแม้แต่คนเดียว
หยุดโกหกปั้นเรื่องใส่ร้ายเสียทีเถอะครับ บาบอญิฮาด อักซอ

والله أعلم بالصواب



................
อะสัน หมัดอะดั้ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น