อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

นบีกินอาหารบ้านผู้ตายจริงหรือ


มีคนอ้างหะดิษต่อไปนี้ เป็นหลักฐานการทำบุญเนื่องจากการตาย โดยอ้างว่า ภรรยาผู้ตาย เชิญนบี ศอ็ลฯ ไปกินอาหารที่บ้านนาง

ท่านชัยค์ อิสมาอีล ซัยนฺ อัลยามานีย์ ได้บันทึกในตำราของท่านดังกล่าว ถึงฮาดีษ ที่รายงานโดย อาบูดาวุด ในลำดับที่ 2894 ว่า

حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ الْعَلاَءِ أَخْبَرَنَا ابْنُ إِدْرِيسَ أَخْبَرَنَا عَاصِمُ بْنُ كُلَيْبٍ عَنْ أَبِيهِ عَنْ رَجُلٍ مِنْ اْلأَنْصَارِ قَالَ خَرَجْنَا مَعَ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي جَنَازَةٍ فَرَأَيْتُ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهُوَ عَلَى الْقَبْرِ يُوصِي الْحَافِرَ أَوْسِعْ مِنْ قِبَلِ رِجْلَيْهِ أَوْسِعْ مِنْ قِبَلِ رَأْسِهِ فَلَمَّا رَجَعَ اسْتَقْبَلَهُ دَاعِي امْرَأَةٍ فَجَاءَ وَجِيءَ بِالطَّعَامِ فَوَضَعَ يَدَهُ ثُمَّ وَضَعَ الْقَوْمُ فَأَكَلُوا فَنَظَرَ آبَاؤُنَا رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَلُوكُ لُقْمَةً فِي فَمِهِ ثُمَّ قَالَ أَجِدُ لَحْمَ شَاةٍ أُخِذَتْ بِغَيْرِ إِذْنِ أَهْلِهَا فَأَرْسَلَتْ الْمَرْأَةُ قَالَتْ يَا رَسُولَ اللهِ إِنِّي أَرْسَلْتُ إِلَى الْبَقِيعِ يَشْتَرِي لِي شَاةً فَلَمْ أَجِدْ فَأَرْسَلْتُ إِلَى جَارٍ لِي قَدْ اشْتَرَى شَاةً أَنْ أَرْسِلْ إِلَيَّ بِهَا بِثَمَنِهَا فَلَمْ يُوجَدْ فَأَرْسَلْتُ إِلَى امْرَأَتِهِ فَأَرْسَلَتْ إِلَيَّ بِهَا فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَطْعِمِيهِ اْلأُسَارَى
ความว่า “ ท่านมูฮัมหมัด บิน อัล-อาลาอฺ ได้เล่ามา จากท่าน (อับดุลลอฮ)บินอิดรีส จากท่าน อาซิม บิน กุลัยบฺ จาก บิดาของท่าน(ก็คือกุลัยบฺ) จากชายคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวอันซอร (และเป็นซอฮาบัต) ซึ่งเขาได้กล่าวว่า
“ เรา(เหล่าซอฮาบัต)ได้ออกเดินทางพร้อม ท่านศาสดา(ซอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม)(เพื่อแสดงความเสียใจต่อญาติ )ของศพๆหนึ่ง
ทันใดนั้นฉัน ก็แลเห็น ท่านศาสดา(ซอลลัลลอฮูอาลัยฮิวาซัลลัม) ซึ่งขณะนั้นท่านได้ยีนบน(ใกล้)หลุมฝังศพของคนๆนั้น พลางสั่งเสียต่อผู้ขุดหลุม(ว่า)
“ ท่านจงขยาย(หลุมศพ) บริเวณส่วนของสองเท้าของเขาให้กว้างขึ้นเถิด และจงขยาย(หลุมศพ)ส่วนของศีรษะให้กว้างขึ้นเถิด”
และเมื่อท่านนบีได้เดินทางกลับ ได้มีตัวแทนจากภรรยาของผู้ตายได้เข้ามาพบท่าน(เพื่อเชิญไปที่บ้าน)ดังนั้น ท่านก็ได้มา(ยังบ้านของนาง) และได้มีการนำอาหารมายังท่าน พลันท่านก็หยิบอาหารดังกล่าว(มารับประทาน) และบรรดาซอฮาบัตก็ได้หยิบอาหารนั้นเช่นกัน และพวกเขาก็ได้รับประทานกัน
จากนั้นไม่นานบรรดาผู้อาวุโสของพวกเราได้แลเห็นท่านศาสดากำลังเคี้ยวอาหารคำหนึ่งซึ่งอยู่ในปากของท่าน จากนั้นท่านได้กล่าวว่า
“ ฉันรู้สึกว่าได้พบเจอเนื้อแพะซึ่งได้ถูกนำมา(ปรุง)โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของๆมัน”
หลังจากนั้นผู้หญิงคนดังกล่าว(หมายถึง ภรรยาผู้ตาย)ได้กล่าวขึ้นว่า
“ โอ้ ท่านศาสดา.... จริงๆแล้วฉันได้ส่งคนไปซื้อแพะที่ตลาดบาเกียะ แต่ปรากฏว่าหาไม่เจอ จากนั้นฉันก็เลยส่งคนให้ไปหาซื้อจากเพื่อนบ้านของฉัน ซึ่งเขาได้ซื้อแพะไว้ก่อนหน้าแล้ว และขอให้เขาได้ส่งแพะมายังฉันด้วยราคาของมัน แต่ว่าไม่เจอ(เพื่อนบ้านคนดังกล่าว)ฉันเลยส่งคนให้ไปซื้อกับภรรยาของเขาด้วย ราคาของแพะดังกล่าวจากนั้นนาง ก็ได้ส่งแพะดังกล่าวมายังฉัน”หลังจากนั้นท่านศาสดาก็กล่าวขึ้นว่า
“ จงเอาอาหารเหล่านี้ไปแจกจ่ายกับเหล่าเชลยศึกเถิด”
>>>>>>>>

ชี้แจง

จริงๆแล้วในตัวบทเดิมๆของหะดิษนี้ ไม่มีฮาเฏาะมีร(ฮาที่เป็นคำสรรพนาม) โปรดดู
داعى امرأة من قريش
แปลว่า "หญิงชาวกุเรชคนหนึ่ง ได้เชิญ
- มุสนัดอิหม่ามอะหมัด เล่ม 5 หน้า 293

- داعي امرأة
แปลว่า ผู้หญิงคนหนึ่งได้เชิญ
- มุนตะกอ็ลอัคบาร เล่ม 2 หน้า 409

- สุนันอนัลลุ้ลเอาฏอร كتاب الغصب والضمانات
- อบีดาวูด เล่ม 3 หน้า 244

- نصب الراية في تخريج أحاديث الهداية - فصل فيما يتغير بفعل الغاصب-الجزء الخامس-صفحة 401 - 403
داعى امرأة من قريش
ผู้หญิงกุเรชคนหนึ่ง ได้เชิญ
- อัดดารุ้ลกุฏนีย เล่ม 5 หน้า 545

لفظ داعي امرأته باضافة امرأة الى الضمير وهوليس بصحيح
คำที่ว่า داعي امرأته โดยการนำคำว่า “อิมเราะอะตุ้น” ไปประกอบกับคำสรรพนามนั้น มันไม่เศาะเฮียะ - ดู ตุหฟะตุ้ลอะหวะซีย์ เล่ม 4 หน้า 78

- และตัวบทที่เศาะเหียะ คือ คำว่า داعي امرأة ที่เป็นสามานยนาม(อิสมุนนะกิเราะอ) ดู มิชกาตอัลมะศอเบียะ เล่ม 2 /1771-1772
..................

มาดูคำอธิบายครับ

อัลมุบาเราะกะฟูรีย์ กล่าวว่า

قُلْتُ : قَدْ وَقَعَ فِي الْمِشْكَاةِ لَفْظُ دَاعِي امْرَأَتِهِ بِإِضَافَةِ لَفْظِ امْرَأَةٍ إِلَى الضَّمِيرِ ، وَهُوَ لَيْسَ بِصَحِيحٍ ، بَلِ الصَّحِيحُ ( دَاعِي امْرَأَةٍ ) بِغَيْرِ الْإِضَافَةِ ، وَالدَّلِيلُ عَلَيْهِ أَنَّهُ قَدْ وَقَعَ فِي سُنَنِ أَبِي دَاوُدَ : ( دَاعِي امْرَأَةٍ ) بِغَيْرِ الْإِضَافَةِ ، قَالَ فِي عَوْنِ الْمَعْبُودِ : دَاعِي امْرَأَةٍ

ข้าพเจ้า ขอกล่าวว่า “แท้จริง ได้ปรากฏใน อัลมิชกาต คำว่า
داعي امرأته
ภรรยาของเขาได้เชิญ
โดยนำคำว่า “อิมเราะอะติน “ไปประสม(สนธิ)กับ คำสรรพนาม เฎาะมีร) โดยที่มันไม่ถูกต้อง แต่ทว่า ที่ถูกต้องนั้น คือ
داعي امرأة
ผู้หญิงคนหนึ่งได้เชิญ
โดยไม่มีการประสมคำ และหลักฐาน ที่ยืนยันบนมันคือ แท้จริงได้ปรากฏใน สุนันอบี ดาวูด ว่า
داعي امرأة
ผู้หญิงคนหนึ่งได้เชิญ
โดยไม่มีการผสมคำ(อิฏอฟะฮ)
ดู ตะหฟะตุลอะหวะซีย์ เล่ม 4 หน้า 67
...................

มาดูคำอธิบาย อัลมุบาเราะกะฟูรีย์ ต่อครับ

وَقَدْ وَقَعَ فِيهِ أَيْضًا : دَاعِي امْرَأَةٍ بِغَيْرِ الْإِضَافَةِ ، بَلْ زَادَ فِيهِ بَعْدَ دَاعِي امْرَأَةٍ لَفْظَ : مِنْ قُرَيْشٍ ، فَلَمَّا ثَبَتَ أَنَّ الصَّحِيحَ فِي حَدِيثِ عَاصِمِ بْنِ كُلَيْبٍ هَذَا لَفْظُ : دَاعِي امْرَأَةٍ بِغَيْرِ إِضَافَةِ امْرَأَةٍ إِلَى الضَّمِيرِ ، ظَهَرَ أَنَّ حَدِيثَ جَرِيرٍ الْمَذْكُورَ لَيْسَ بِمُخَالِفٍ لِحَدِيثِ عَاصِمِ بْنِ كُلَيْبٍ هَذَا فَتَفَكَّرْ . هَذَا مَا عِنْدِي ، وَاللَّهُ تَعَالَى أَعْلَمُ

และปรากฏในมัน (ในมุสนัดอิหม่ามอะหมัด )อีก ว่า
دَاعِي امْرَأَةٍ
ผู้หญิงคนหนึ่งได้เชิญ
โดยไม่มีการประสมคำ(อิฎอฟะฮ) แต่ทว่า คำว่า
مِنْ قُرَيْشٍ
จากกุเรช
ได้เพิ่มเติมในมัน หลังจากคำว่า
دَاعِي امْرَأَةٍ (ก็จะมีความหมายว่า หญิงคนหนึ่งจากกุเรช – ผู้แปล)
และ เมื่อ ได้ยืนยัน ว่า ที่ถูกต้อง ในหะดิษ อาศิม บิน กุลัยบฺ คือ คำนี้ “
دَاعِي امْرَأَةٍ
โดยไม่มีการประสมคำ(อิฎอฟะฮ) คำว่า “อิมเราะอะฮ” กับคำสรรพนาม(เฎาะมีร) ก็ปรากฏชัดเจนว่า หะดิษญะรีร ที่ถูกกล่าวถึง ไม่ขัดขัดแย้งกับหะดิษ อาศิม บิน กุลัยบฺ นี้คือ จงพิจารณา และนี้คือสิ่งที่เป็นทัศนะของข้าพเจ้า – วัลลอฮุอะลัม
ดู ตะหฟะตุลอะหวะซีย์ เล่ม 4 หน้า 68

................
คือ เมื่อหะดิษ หะดิษ อาศิม บิน กุลัยบฺ ที่เศาะเฮียะ มีสำนวนว่า
دَاعِي امْرَأَةٍ
ผู้หญิงคนหนึ่งได้เชิญ
ก็จะไม่ขัดแย้งกับหะดิษที่ว่า
كُنَّا نَعُدُّ الِاجْتِمَاعَ إِلَى أَهْلِ الْمَيِّتِ ، وَصَنْعَةَ الطَّعَامِ بَعْدَ دَفْنِهِ مِنَ النِّيَاحَةِ
พวกเรานับว่า การชุมนุมที่ครอบครัวผู้ตายและทำอาหารกินกันหลังจากฝังมัยยิตนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากอัลนิยาหะฮ(ที่ต้องห้าม)

>>>>>

สรุปว่า หะดิษที่มีสำนวนว่า ผู้หญิงของเขา หรือ ภรรยาของผู้ตายนั้น ไม่เศาะเฮียะ และที่เศาะเฮียะ ไม่มีสรรพนาม ฮา มาประกอบ และมีความหมายว่าผู้หญิงคนหนึ่ง ไม่ใช่ภรรยาผู้ตาย และ หะดิษญะรีร ได้ยืนยันว่า ห้ามชุมนุมรับประทานอาหารที่ครอบครัวผู้ตาย หะดิษทั้งสองจึงไม่ขัดแย้งกัน


والله أعلم بالصواب

......................
อะสัน  หมัดอะดั้ม




1 ความคิดเห็น:

  1. หมายเหตุ

    1.คำว่า "دَاعِي امْرَأَةٍ
    ผู้หญิงคนหนึ่งได้เชิญ

    แก้เป็น ผู้เชิญของผู้หญิงคนหนึ่ง

    2.داعى امرأة من قريش
    ผู้หญิงกุเรชคนหนึ่ง ได้เชิญ
    แก้เป็น ผู้เชิญของหญิงชาวกุเรชคนหนึ่ง
    3.داعي امرأته
    ภรรยาของเขาได้เชิญ
    แก้เป็น ผู้ถูกเชิญของภรรยาของเขา

    ตอบลบ