อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อิสติวาอฺ



คำว่า “อิสติวาอฺ” มีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงมากมากมายที่บอกว่า มีความหมายว่า الاستقرار (การสถิต)
คำว่า สถิต[สะถิด] ในภาษาไทย แปลว่า “ อยู่ ยืนอยู่ ตั้งอยู่ (ใช้เป็นคํายกย่องแก่สิ่งหรือบุคคลที่อยู่ในฐานะสูง) ความจริง เมื่อแปลเป็นภาษาสามัญทั่วไป ก็คือ อัลลอฮ สถิต บนอะรัช ก็คือ อัลลอฮ อยู่บน อะรัช นั้นเอง ส่วนอยู่แบบใหน อัลลอฮเท่านั้นผู้ทรงรู้
อิบนุอับดุลบัร กล่าวว่า
الاستواء الاستقرار في العلو وبهذا خاطبنا الله عز وجل وقال :{لِتَسْتَوُوا عَلَى ظُهُورِهِ ثُمَّ تَذْكُرُوا نِعْمَةَ رَبِّكُمْ إِذَا اسْتَوَيْتُمْ عَلَيْهِا} [الزخرف:13]
คำว่า อิสติวาอฺ คือ อิสติกรอ (การอยู่)ในเบื้องสูง ด้วยคำสำนวนนี้ อัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่งและทรงเลิศยิ่ง ได้สนทนากับพวกเรา และพระองค์ตรัสว่า
لِتَسْتَوُوا عَلَىٰ ظُهُورِهِ ثُمَّ تَذْكُرُوا نِعْمَةَ رَبِّكُمْ إِذَا اسْتَوَيْتُمْ عَلَيْهِ
เพื่อพวกเจ้าจักได้ขี่บนหลังมัน หลังจากนั้นพวกเจ้าจะได้ระลึกถึงความโปรดปรานแห่งองค์อภิบาลของเจ้าเมื่อพวกเจ้าขึ้นขี่มัน –อัซซุครุฟ/๑๓ - อัตตัมฮีด ๗/๑๓๑
คำว่า อิสติวาอฺ ก็คิอ การอยู่ เบื้องสูง استوى على แปลว่าอยู่บน
อิบนุกุตัยบะอ ปราชญยุคสะลัฟ กล่าวว่า
قوله الرحمن على العرش استوى أي استقر كما قال فإذا استويت أنت ومن معك على الفلك
คำตรัสของพระองค์ที่ว่า “พระเจ้าผู้ทรงเมตตา อิสติวาอ บบอะรัช หมายถึง استقر (สถิต บนอะรัช) ดังที่ทรงตรัสว่า
فَإِذَا اسْتَوَيْتَ أَنتَ وَمَن مَّعَكَ عَلَى الْفُلْكِ
ครั้นเมื่อเจ้า และผู้ที่อยู่ร่วมกับเจ้าได้ขึ้นไปอยู่บนเรือแล้ว .... ดู ตะวิลมุคตะลิฟ อัลหะดิษ หน้า ๕๑๒
คำว่า “อิสติวาอฺ ในภาษาอาหรับ ประกอบกับ สรรพนาม على ก็แปลว่า อยู่บนนั้นเอง นักวิชาการได้อธิบายคำว่าอยู่บนในที่นี้ คือ อยู่เหนืออะรัช แยกจากบรรดามัคลูคทั้งหลาย ไม่ได้หมายถึง การพึ่งมัคลูคเป็นที่อาศัย ดังนั้น ถ้านายอิสมัญมีความอิคลาศ ไม่มีอคติ แล้วศึกษา ก็จะไม่สร้างฟิตนะฮ ใส่ร้ายนักปราชญ์แบบนี้

ให้มาคุยกันในเชิงวิชาการ เพื่อหาข้อยุติ ก็ไม่ยอมมา บอกว่า ไม่อยากลดตัวลงมาคุย (น้องคนที่ผมให้ไปเชิญเขาบอกผม) ผมไม่เข้าใจว่า ใครยกให้เขาสูงถึงขนาดลงมาเสวนากับเราไม่ได้

ความแตกต่างระหว่างทัศนะของเชคอัลบานีย์กับเชคอิบนุอุษัยมีนเกี่ยวกับการพาดพิงลักษณะ อิสติกรอร ยังอัลลอฮฺ นั้นเป็นความขัดแย้งด้านการมองต่างมุมเท่านั้น กล่าวคือ เชคอัลบานีย์มองว่า ในเมื่อไม่มีหลักฐานที่ถุกต้องระบุลักษณะของอัลลอฮฺด้วยสำนวน อิสตะก็อรรอ เราก็ไม่อนุญาตให้ยืนยันคุณลักษณะของอัลลอฮิด้วยสำนวนนั้น

ในขณะที่เชคอิบนุอุษัยมีน มองว่า ถึงแม้ว่า อิสติกรอร ไม่มีระบุในหลักฐานที่ถุกต้อง แต่เนื่องจาก คำว่า อิสตะก็อรรอ เป็นหนึ่งในความหมายทางภาษาของ "อิสตะวะ" ดังนั้น จึงอนุญาตให้ใช้สำนวน อิสตะก็อรรอ เพื่ออธิบายความหมายของอิสตะวะ ก็เท่านั้น

ความจริงคำว่า อิสติกรอร (การสถิต) เป็นความหมายหนึ่ง ของอัลอิสติวาอฺ ที่สะลัฟได้ให้การยืนยัน
อิบนุกุตัยบะฮ (ฮ.ศ ๒๑๓-๒๗๖) ปราชญืยุคสะลัฟ กล่าวว่า

وَكَيْفَ يَسُوغُ لِأَحَدٍ أَنْ يَقُولَ : إِنَّهُ بِكُلِّ مَكَانٍ عَلَى الْحُلُولِ مَعَ قَوْلِهِ : الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى ، أَيِ : اسْتَقَرَّ ، كَمَا قَالَ : فَإِذَا اسْتَوَيْتَ أَنْتَ وَمَنْ مَعَكَ عَلَى الْفُلْكِ ، أَيِ : اسْتَقْرَرْتَ
และจะอนุญาต ให้คนหนึ่งคนใด กว่าวว่า แท้จริง พระองค์ ทรงอยูทุกสถานที่ บนการตั้งถิ่นฐาน ได้อย่างไร ทั้งๆที่ พระองค์ตรัสว่า “ พระเจ้าผู้ทรงเมตตา อิสตะวะ” เหนือ บัลลังค์ “ หมายถึง ทรงสถิต(เหนือบัลลังค์) ดังที่ทรงตรัสว่า
إِذَا اسْتَوَيْتَ أَنتَ وَمَن مَّعَكَ عَلَى الْفُلْكِ
ครั้นเมื่อเจ้า และผู้ที่อยู่ร่วมกับเจ้าได้ขึ้นไปอยู่บนเรือแล้ว .หมายถึง اسْتَقْرَرْتَ..(อิสตักรอ็รตะ.) ดู ตะวิลมุคตะลิฟ อัลหะดิษ หน้า ๕๑๒
คือ ว่า اسْتَوَيْتَ หมายถึง اسْتَقْرَرْتَ (ท่านอยู่......)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น