แนวทางที่ถูกต้องและเที่ยงตรงนั้นมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากแนวทางที่เบี่ยงเบนที่มีความหลากหลายและมากมาย ดังที่อัลลอฮฺ ได้ตรัสในอัลกุรอานว่า
وَأَنَّ هَـذَا صِرَاطِي مُسْتَقِيماً فَاتَّبِعُوهُ وَلاَ تَتَّبِعُواْ السُّبُلَ فَتَفَرَّقَ بِكُمْ عَن سَبِيلِهِ ذَلِكُمْ وَصَّاكُم بِهِ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
ความว่า “และแท้จริงนี้คือทางของข้าอันเที่ยงตรงพวกเจ้าจงปฏิบัติตามมันเถิด และอย่าปฏิบัติตามหลายๆ ทาง เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกไปจากทางของพระองค์ นั่นแหละที่พระองค์ได้สั่งเสียมันไว้แก่พวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะยำเกรง” (อัลอันอาม : 153
มีหะดีษรายงานจากอับดุลลอฮฺ เบ็น มัสอูด เล่าว่า : ท่านเราะสูล ศอ็ลฯ ได้อธิบายถึงแนวทางที่เที่ยงตรงว่ามีทางเดียวเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากแนวทางที่เบี่ยงเบนที่มีมากและหลากหลายโดยใช้วิธีอธิบายที่ง่ายต่อการเข้าใจอย่างมาก ดังนี้
มีหะดีษรายงานจากอับดุลลอฮฺ เบ็น มัสอูด เล่าว่า : ท่านเราะสูล ศอ็ลฯ ได้อธิบายถึงแนวทางที่เที่ยงตรงว่ามีทางเดียวเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากแนวทางที่เบี่ยงเบนที่มีมากและหลากหลายโดยใช้วิธีอธิบายที่ง่ายต่อการเข้าใจอย่างมาก ดังนี้
((عن عبد الله بن مسعود قال:” خط لنا رسول الله صلى الله عليه وسلم خطا ثم قال: هذا سبيل الله، ثم خطّ خطوطا عن يمينه وعن شماله ثم قال: هذه سبل، قال: يزيد متفرقة على كل سبيل منها شيطان يدعو إليه ثم قرأ ( إن هذا صراطي مستقيما فاتبعوه ولا تتّبعوا السّبل فتفرق بكم عن سبيله) “ (رواه أحمد، رقم الحديث: 3928)
ความว่า “จากอับดุลลอฮฺ เบ็น มัสอูด เล่าว่า : “ท่านนบีมุหัมมัด ได้ขีดเส้นหนึ่งเส้นให้พวกเรา หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า “นี่คือทางของอัลลอฮฺ” หลังจากนั้นท่านได้ขีดอีกเส้นอีกหลายๆ เส้นจากทางขวาของท่าน และทางซ้ายของท่าน หลังจากนั้นท่านก็กล่าวว่า “ นี้คือแนวทางที่หลากหลาย” ท่านก็กล่าวต่อไปว่ามันจะเพิ่มขึ้นบนทุกๆ เส้นทางที่หลากหลายนั้นมีชัยฏอนที่คอยเชิญชวนไปกับมัน หลังจากนั้นท่านนบีก็ได้อ่านอายะฮฺอัลกุรอานความว่า “และแท้จริงนี้คือทางของข้าอันเที่ยงตรงพวกเจ้าจงปฏิบัติตามมันเถิด และอย่าปฏิบัติตามหลายทาง เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกจากทางของพระองค์” (บันทึกโดย อะหมัด หมายเลขหะดีษ 3928 )
จากอัลกุรอานและสุนนะฮข้างต้นพอจะสรุปได้ว่าแนวทางที่เที่ยงตรงคือแนวทางที่ท่านนบีมุหัมมัดเศาะหาบะฮฺ และบรรพชนรุ่นแรกที่ได้ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่างตามอัลกุรอานและสุนนะฮฺอย่างครบถ้วนในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นหลักการปฏิบัติ หลักการศรัทธา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับเตาฮีด ทั้งนี้เนื่องจากว่าแนวทางในเรื่องดังกล่าวมีความหลากหลาย อาทิแนวทางของมุอฺตะซิละฮฺ แนวทางของญะฮฺมิยฺยะฮฺ แนวทางของอะชาอิเราะฮฺ ซึ่งแนวทางทั้งหมดนี้ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับแนวทางของอัลกุรอาน
และสุนนะฮฺ ดังที่อิหม่ามอัรรอซีย์ ได้กล่าวในบั้นปลายชีวิตของท่านว่า
จากอัลกุรอานและสุนนะฮข้างต้นพอจะสรุปได้ว่าแนวทางที่เที่ยงตรงคือแนวทางที่ท่านนบีมุหัมมัดเศาะหาบะฮฺ และบรรพชนรุ่นแรกที่ได้ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่างตามอัลกุรอานและสุนนะฮฺอย่างครบถ้วนในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นหลักการปฏิบัติ หลักการศรัทธา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับเตาฮีด ทั้งนี้เนื่องจากว่าแนวทางในเรื่องดังกล่าวมีความหลากหลาย อาทิแนวทางของมุอฺตะซิละฮฺ แนวทางของญะฮฺมิยฺยะฮฺ แนวทางของอะชาอิเราะฮฺ ซึ่งแนวทางทั้งหมดนี้ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับแนวทางของอัลกุรอาน
และสุนนะฮฺ ดังที่อิหม่ามอัรรอซีย์ ได้กล่าวในบั้นปลายชีวิตของท่านว่า
لَقَدْ تَأَمَّلْتُ الطُّرُقَ الْكَلَامِيَّةَ وَالْمَنَاهِجَ الْفَلْسَفِيَّةَ فَمَا رَأَيْتُهَا تَشْفِي عَلِيلًا وَلَا تَرْوِي غَلِيلًا ، وَرَأَيْتُ أَقْرَبَ الطُّرُقِ طَرِيقَةَ الْقُرْآنِ ، أَقْرَأُ فِي الْإِثْبَاتِ : الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ ، وَأَقْرَأُ فِي النَّفْيِ لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ ، وَمِنْ جَرَّبَ مِثْلَ تَجْرِبَتِي عَرِفَ مِثْلَ مَعْرِفَتِي . ا
ความว่า“แท้จริงข้าพเจ้าได้สังเกตุแนวทางของกลุ่มอะฮฺลุลกะลาม และแนวทางของกลุ่มฟัลสะฟิยะฮฺ ข้าพเจ้าไม่เห็นเลยว่ามันสามารถรักษาผู้ป่วย(โรคเขลาได้) และไม่สามารถแก้กระหายความยากของผู้กระหายได้ และข้าพเจ้าเห็นว่าแนวทางที่ใกล้เคียง(กับความถูกต้องมากที่สุด) คือแนวทางของอัลกุรอาน จงอ่านในการยืนยัน(คุณลักษณะอัลลอฮ)ที่ว่า
الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ
พระเจ้าผู้ทรงเมตตา ทรงสถิตเหนือบัลลังค์ ,บรรดาถ้อยคำ ขึ้นไปยังพระองค์
และจงอ่านใน การปฏิเสธ คือ
لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ
ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์
และผู้ใดที่ผ่านประสบการณ์เหมือนข้าพเจ้า เขาจะได้รับรู้เหมือนกับความรู้ที่ข้าพเจ้าได้รับรู้
-ดู สิยะรุอัลเอียะลามอันนุบะลาอฺ ของอิหม่ามอัซซะฮะบีย์ 20/501 เรื่อง ประวัติฟัครุอัรรอซีย์
และจงอ่านใน การปฏิเสธ คือ
لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ
ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์
และผู้ใดที่ผ่านประสบการณ์เหมือนข้าพเจ้า เขาจะได้รับรู้เหมือนกับความรู้ที่ข้าพเจ้าได้รับรู้
-ดู สิยะรุอัลเอียะลามอันนุบะลาอฺ ของอิหม่ามอัซซะฮะบีย์ 20/501 เรื่อง ประวัติฟัครุอัรรอซีย์
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น