ที่ว่า บิดอะฮที่สะลัฟแบ่ง คือ บิดอะฮในทางศาสนบัญญัติ และบิดอะฮในทางภาษา แต่บาบอญิฮาดไม่เข้าใจ
คำพูดของอิหม่ามชาฟิอีย์ที่เชื่อถือได้ คือ
الْمُحْدَثَاتُ مِنَ الأُمُورِ ضَرْبَانِ : أَحَدُهُمَا : مَا أُحْدِثَ يُخَالِفُ كِتَابًا , أَوْ سَنَةً , أَوْ أَثَرًا , أَوْ إِجْمَاعًا , فَهَذِهِ لَبِدْعَةُ الضَّلالَةِ . وَالثَّانِيةُ : مَا أُحْدِثَ مِنَ الْخَيْرِ لا خِلافَ فِيهِ لِوَاحِدٍ مِنْ هَذَا , فَهَذِهِ مُحْدَثَةٌ غَيْرُ مَذْمُومَةٍ
บรรดาสิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่นั้น มี 2 ประเภทคือ 1. สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ขัดแย้งกับอัลกุรอ่าน หรือ สุนนะฮ หรือ อะษัร หรือ อิจญมาอฺ ดังนั้นกรณีนี้ เป็นบิดอะฮที่หลงผิด 2. ความดีที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ไม่ขัดแย้งในมัน แก่ประการหนึ่งประการใดจากนี้ กรณีนี้ เป็นสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ที่ไม่ถูกตำหนิ – ดู อัสสุนันกุบรอ เล่ม 1 หน้า 206
อิบนุเราะญับ กล่าวว่า
ومراد الشافعي - رحمه الله - ما ذكرناه مِنْ قبلُ : أنَّ البدعة المذمومة ما ليس لها أصل منَ الشريعة يُرجع إليه ، وهي البدعةُ في إطلاق الشرع ، وأما البدعة المحمودة فما وافق السنة ، يعني : ما كان لها أصلٌ مِنَ السنة يُرجع إليه ، وإنَّما هي بدعةٌ لغةً لا شرعاً ؛ لموافقتها السنة
และจุดประสงค์ของอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลอฮเมตตาต่อท่าน) ต่อสิ่งที่เราได้ระบุมันมาก่อนหน้านี้ คือ แท้จริงบิดอะฮ ทีถูกตำหนิ(บิดอะฮมัซมูมะฮ) คือ สิ่งที่ไม่มีรากฐานจากศาสนบัญญัติ ทีจะถูกนำกลับไปหามัน และมันคือ บิดอะฮในความหมายทางศาสนา และสำหรับ บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ นั้น คือ สิ่งที่สอดคล้องกับสุนนะฮ หมายถึง สิ่งที่มีรากฐานมาจากสุนนะฮ ที่จะถูกนำกลับไปหามัน ความจริง มันคือ บิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนบัญัติ เพราะมันสอดคล้องกับอัสสุนนะฮ” – ดู ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม หน้า 28
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น