อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อิสลามกับการจัดงานวันเกิด



ก่อนจะเข้าเรื่องการจัดงานวันเกิด ก็ต้องอธิบายเรื่อง อิบาดัต และอาดัต (เรื่องปฏิบัติทางโลก) รวมถึงข้อห้ามการเลียนแบบของต่างศาสนิกเสียก่อน

เพราะเรื่องอิบาดะฮ์กับอาดะฮฺมีหุก่มศาสนาที่ต่างกัน คือ สำหรับเรื่องอิบาดะฺฮ์ หลักการในเรื่องของมัน คือ การห้ามและหะรอม(ห้ามปฏิบัติ) จนกว่าจะมีหลักฐานรองรับ เมื่อไม่มีหลักฐานรองรับก็เป็นที่ต้องห้ามสำหรับมัน ประกอบกับเรื่องอิบาดะฮ์ มันเป็นเรื่องศาสนา ที่ต้องมีหลักฐานจากอัลกุรอานและหะดิษมารองรับ หากมีการสร้างอิบาดะฮฺใหม่ขึ้นที่ถูกเรียกว่าบิดอะฮ์นั้น การปฏิบัติมันจะถูกปฏิเสธ ถือเป็นโมฆะ  เป็นที่หลงผิด(ฎอลาละฮฺ) และท่านนบีกล่าวว่าบิดอะฮฺที่หลงผิดนั้นคือไฟนรก ดังนั้นทุกเรื่องที่เกี่ยวศาสนา หากเป็นสิ่งที่ถูกอุตริมาใหม่เป็นที่ต้องห้าม

ส่วนในเรื่องอาดะฮ์ นั้นพื้นฐานของมันคือ หลักการในเรื่องของมัน คือ อนุญาต นอกจาก สิ่งที่มีหลักฐานบ่งบอก ถึงการห้ามมัน เช่น เราจะรับประทานอาหารตักข้าวด้วยช้อน การใช้ช้อนตักข้าว มันเป็นเรื่องของอาดะฮ์ การใช้ช้อนตักข้าว ไม่มีหลักฐานศาสนาบ่งบอกถึงการห้ามแต่อย่างใด ดังนั้นการตักข้าวด้วยช้อนจึงไม่เป็นที่ต้องห้าม และสำหรับบิดอะฮฺที่เกี่ยวกับทางโลกก็เป็นที่อนุญาตจนกว่าจะมีหลักฐานห้าม เช่น ยุคท่านนบีขี่อูฐ ไม่มีรถขี่ แต่ปัจจุบันผู้คนได้ใช้รถเป็นพาหนะในการเดินทาง การขี่อูฐกับขี่รถเป็นเรื่องทางโลก การใช้รถเป็นพาหนะเป็นการสร้างสิ่งใหม่หรือบิดอะฮฺที่ไม่เคยมีมาก่อนในยุคท่านนบีหรือเหล่าสาวกของท่าน แต่การการเดินทางด้วยอูฐหรือรถมันเป็นเรื่องทางโลกที่ไม่หลักฐานห้ามมันไว้โดยเฉพาะ จึงเป็นที่อนุญาต สำหรับเรื่องบิดอะฮฺหากเรามองตามหลักภาษาแล้ว เมื่อมันเป็นสิ่งที่มีขึ้นมาใหม่ก็ย่อมถูกเรียกว่าบิดอะฮ์ทั้งสิ้น แต่บิดอะฮ์ใดที่จะเป็นเรื่องทางโลก หรือเป็นเรื่องศาสนา ก็ต้องมีการแยกแยะอีกที ซึ่งถ้าหากสิ่งที่อุตริขึ้นมาใหม่เป็นเรื่องศาสนาก็เป็นสิ่งที่หลงผิดเป็นที่ต้องห้ามทั้งสิ้น ถึงแม้มนุษย์จะมองว่ามันเป็นสิ่งดี (ฮาซานะฮฺ)ก็ตาม

สำหรับเรื่องการเลียนแบบของกลุ่มชนอื่นนั้น

ท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ว่า

 ﻣﻦﺗَﺸَﺒَّﻪَﺑِﻘَﻮْﻡٍﻓَﻬُﻮَﻣِﻨْﻬُﻢْ

“ผู้ใดเลียนแบบ (เอาอย่าง) กลุ่มชนหนึ่ง ผู้นั้นคือส่วนหนึ่งจากพวกนั้น”   (บันทึกโดยอบูดาวูด)

การเลียแบบดังกล่าวต้องเป็นการเลียนแบบในเรื่องเกี่ยวกับเรื่องของศาสนาและเป็นเรื่องการเฉพาะของกลุ่มชนต่างศาสนิกนั้น  ได้แก่ การนำพิธีของผู้อื่นมาเป็นของมุสลิม โดยเอาเฉพาะตัวพิธีเขามา แต่ในเรื่องรายละเอียดของพิธีเราเอาเรื่องการทำอิบาดะฮฺทั่วไปมาผสมจนกลายเป็นพิธีเฉพาะของมุสลิมไป หรือกรณีเราเอาพิธีตามหลักศาสนาหรือความเชื่อของเขา มาเป็นของเรา ถึงแต่มันไม่ได้เกิดจากความเชื่อก็ตามก็เป็นที่ต้องห้าม เช่น การที่มุสลิมได้ร่วมกันสาดน้ำ อันเป็นการเฉลิมฉลองของคนต่างศาสนิก ซึ่งมีความเชื่อเข้ามาปะปน ก็เป็นที่ต้องห้ามสำหรับมุสลิม หรือมุสลิมได้กราบไหว้รูปปั้นถึงแม้จะไม่ได้มีความเชื่อเหมือนดังคนต่างสาสนิกก็ถือเป็นการตั้งภาคีต่อพระองค์อัลลอฮฺแล้ว
 แต่หากการเลียนแบบนั้นไม่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาหรือความเชื่อใดๆเข้ามาเกี่ยวข้องกับการกระทำนั้น ก็ไม่ถือเป็นที่ต้องห้าม เช่น การสวมใส่กางเกงยีน การจัดงานวันเด็ก เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้การเลียนแบบนั้นจะไม่เกี่ยวกับศาสนาหรือหลักความเชื่อก็ตาม นักวิชาการฝ่ายหนึ่งมีทัศนะว่าเป็นที่ต้องห้าม หากมีการการกำหนดตายตัวในวันเฉลิมฉลองเมื่อครบรอบปีนั้น เพราะท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า วันอีด(การเฉลิมฉลองครบรอบปี) มี 2 วันเท่านั้น ซึ่งกรณีวันเกิดก็อยู่ในเงื่อนไขดังกล่าวด้วย

สำหรับการจัดวันเกิดโดยปกติทั่วไป โดยมีการจัดเลี้ยงหรืออวยพรวันเกิดนั้น ไม่ใช่เรื่องอิบาดะฮฺ แต่เป็นเรื่องของอาดะฮฺ เพราะไม่มีเรื่องพิธีหรือความเชื่อของศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ต้องพิจารณาอีกว่าการจัดวันเกิดดังกล่าวเกิดขึ้นตามหลักความเชื่อของคนต่างศาสนิกหรือไม่ ได้แก่ การจัดงานวันนั้น เนื่องจากชาวคริสต์ได้เฉลิมฉลองวันเกิดพระเยซูคริสต์ แล้วชาวคริสต์ได้นำการจัดวันเฉลิมฉลองนั้นมาจัดวันครบรอบวันเกิดของตน แล้วมุสลิมก็ได้ไปเลียนแบบชาวคริสต์หรือไม่? หากเป็นเช่นนี้ก็เป็นที่ต้องห้าม

สำหรับการตัดการเป่าเค้กและปักเทียนบนเค้กวันเกิดนั้น เป็นที่มาของต่างศาสนิกเป็นเป็นสักการะเทพเจ้า กล่าวคือ ประเทศกรีกในสมัยโบราณ ชาวกรีก มักทำขนมเค้กน้ำผึ้งรูปทรงกลม และจุดเทียนเพื่อถวายสักการะแด่เทพธิดาอาร์ทีมิส ที่แท่นบูชา   และชาวกรีกโบราณถือว่าเทียนเป็นสัญลักษณ์ของพลังมายา ซึ่งจะช่วยให้สมปรารถนาในสิ่งที่อธิษฐาน ดังนั้น ผู้คนในสมัยต่อมาจึงนิยมจุดเทียนบนขนมเค้กเพื่อฉลองวันเกิด เปรียบเสมือนการสักการะให้แก่เจ้าของวันเกิด และเพื่อนำมาซึ่งความโชคดี

สำหรับเทียนที่ปักอยู่บนเค้กวันเกิดมีที่มาและความเชื่อดังนี้ ตามตำนานของชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่า เทียนที่ปักอยู่บนเค้กวันเกิดซึ่งไว้สำหรับบูชาเทพีจันทรา ณ วิหารอาร์เทอมิสนั้นก็เพื่อทำให้เค้กนั้นมีลักษณะเหมือนดวงจันทร์นั่นเอง กล่าวคือ ชาวกรีกต้องการใช้แสงสว่างจากเทียนไขสีเหลืองนวลให้ทอแสงประกายไปทั่วตัวเค้กที่เป็นวงกลม เพื่อให้เค้กนั้นมีลักษณะเหมือนดวงจันทร์ จะได้เข้ากับพิธีบูชาเทพีจันทรา
สำหรับชาวเยอรมันในอดีตเชื่อว่า เทียนที่ปักอยู่บนเค้กวันเกิดถือเป็นสื่อสัญลักษณ์แทน "แสงแห่งชีวิต" โดยพวกเขาจะปักเทียนขนาดใหญ่เอาไว้ตรงกลางเค้กให้สุกสว่างโชติช่วงเปรียบเสมือนเป็นแสงเทียนแห่งชีวิต
และความของคริสต์ศาสนา ธรรมเนียมการปักเทียนบนเค้กวันเกิดมีความเชื่อของชาวคริสต์ที่ว่า พระเจ้าอาศัยอยู่บนท้องฟ้า และเพื่อที่ว่าพวกเขาจะสามารถติดต่อกับพระเจ้าได้ก็ต้องอาศัยแสงและควันจากเปลวเทียน ด้วยเหตุนี้ จึงมีการปักเทียนบนเค้กวันเกิดเพื่อให้พระเจ้าทรงรับรู้ในคำสวดและคำอธิฐานของเจ้าของวันเกิด

และยังมีความเชื่อว่าจะต้องปักเทียนให้เท่ากับจำนวนอายุของเจ้าของวันเกิด และหากว่าเจ้าของวันเกิดสามารถเป่าเทียนดับทั้งหมดภายในหนึ่งอึดใจ แสดงว่าเขาจะโชคดีตลอดปี หรือหมายความว่า คำอธิษฐานของเขาจะกลายเป็นจริง ในทางกลับกัน หากไม่สามารถเป่าให้ดับได้ทั้งหมด ก็แสดงว่าคำอธิฐานของเขาจะไม่เกิดขึ้น

ดังนั้นการจัดเค้กเป่าเทียนบนเค้กวันเกิดนั้น เกิดจากความเชื่อต่างๆของต่างศาสนิกข้างต้น จึงเป็นที่ต้องห้ามสำหรับมุสลิม

อย่างไรก็ตามการจัดวันเกิดโดยทั่วไปที่ไม่มีหลักความเชื่อใดๆมาปะปน ถึงแม้นักวิชาการฝ่ายหนึ่งเป็นที่อนุญาต (มุบาฮฺ) จนกว่ามีหลักฐานห้าม แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องการจัดวันเกิดยังเป็นข้อที่คลุมเครือและการขัดแย้งของนักวิชาการ และไม่เกิดขึ้นมาก่อนในยุคสลัฟ การหลีกห่างจากสิ่งดังกล่าวคือ ไม่จัดงานวันเกิดจะดีกว่า

สำหรับการจัดงานวันเกิดนบี หรือเมาลิดนบี หากการจัดนั้นไม่มีหลักความเชื่อ หรือพิธีกรรมต่างๆมาเกี่ยวข้อง เช่น มีการติดประวัติให้ผู้เข้าเยี่ยมชมศึกษาประวัติของท่านนบี หรือมีการอ่านประวัติให้ผู้เข้าเยี่ยมชมฟัง ก็ไม่เป็นที่ต้องห้าม เพราะมันเป็นเป็นเพียงเรื่องอาดะฮฺเท่านั้น

แต่สำหรับการจัดงานวันเกิดนบีปัจจุบัน มีเรื่องความเชื่อ พิธีกรรมต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น เชื่อว่าวิญญาณนบีจะมาร่วมงานเมาลิด และจะมีการยืนขึ้นเพื่อต้อนรับวิญญาณนบี มีการขับร้องบัรซันยี และมีความเชื่อต่างๆมากมายเกี่ยวกับบัซซันยี ซึ่งไม่มีหลักฐานศาสนาใดๆมารองรับ การจัดงานเมาลิดนบีในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องของอิบาดะฮฺ

เมื่อเป็นเรื่องอิบาดะฮฺ หลักการในเรื่องของมัน คือการห้ามและหะรอมจนกว่าจะมีหลักฐานรองรับ
ปรากฎว่า ไม่มีหลักฐานใดๆว่าท่านนบีมุหัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้จัดเฉลิมฉลองเนื่องในวันเกิดของท่าน หรือแม้บรรดาเศาะหาบะฮฺ ตะบีอีน(เจอเศาะหาบะฮฺแต่ไม่เจอนบี) ตะบีอีตตาบีอีน(เจอตาบีอีนแต่ไม่เจอเศาะหาบะฮฺ) ก็ไม่เคยจัดมัน ร่วมถึงอิมามของมัซฮับทั้งสี่ (อิมามอาบูฮานีฟะฮ์,อิมามชาฟีอีย์, อิมามอะห์มัด, อิมามมาลิก, ก็ไม่เคยจัดมันเช่นเดียวกัน แต่ปรากฏว่ามีการจัดงานเฉลิมฉลองนบีเป็นครั้งแรกในปี ฮ.ศ.362 ที่ประเทศอียิปต์  ซึ่งขณะนั้นวงศ์ฟาตีมียฺชีอะฮฺ อิสมาอีลียะฮฺ (คนละนิกายกับชีอะฮฺ อิสไนอะชะรียะฮฺ 12 อิมาม) เป็นผู้ปกครองอียิปต์ และได้สถาปนาอาณาจักรฟาตีมียฺขึ้น

เมื่อการจัดงานเฉลิมฉลองนบีเป็นเรื่องอิบาดัต แต่กลับไม่มีหลักฐานศาสนารองรับแต่อย่างใด จึงเป็นที่ต้องห้ามสำหรับมุสลิม



والله أعلم بالصواب






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น