ชัยค์ อบูฮามิด ได้กล่าวไว้ในการตะอฺลีกของท่านท้ายบท อัสสะลัมว่า ชาวมุสลิมเห็นพ้องเป็นมติว่าน้ำนมของคนเป็นสิ่งที่สะอาด (กิตาบอัลมัจญ์มูอฺ ชัรฮุ้ลมุฮัซซับ ; อันนะวาวีย์ เล่มที่ 2 หน้า 587) เมื่อเป็นสิ่งที่สะอาดก็สามารถดื่มได้?
ทั้งนี้มีรายงานมาว่า มีชายคนหนึ่งมาหาท่านอบูมูซา อัลอัชอะรีย์ (ร.ฎ.) และบอกว่าตนได้ดูดนมจากเต้าภรรยาของตนและกลืนลงท้องไป ท่านอบูมูซา (ร.ฎ.) ก็ตอบว่า ภรรยาของเขาเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขาแล้ว แต่ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอู๊ด (ร.ฎ.) ได้ค้านคำฟัตวาของท่านอบูมูซา (ร.ฎ.) และบอกว่าการดื่มนมจากภรรยาของชายผู้นั้นไม่มีผลแต่อย่างใด กล่าวคือ ไม่มีผลในการทำให้ภรรยาของเขาเป็นที่ต้องห้ามเนื่องจากการดูดนมจากเต้าของภรรยาเพราะชายผู้นั้นมีอายุเลยกำหนด 2 ปีบริบูรณ์ (กิตาบ อัลมัจญ์มูอฺ ชัรฮุ้ลมุฮัซซับ ,อัลมุฏีอีย์ เล่มที่ 20 หน้า 85)
สังเกตจากรายงานนี้ว่า ซอฮาบะฮฺทั้ง 2 ท่านไม่ได้พูดถึงข้อชี้ขาดของการดื่มนมจากภรรยาว่าเป็นที่ต้องห้ามหรือไม่? แต่พูดถึงกรณีว่า ถ้าสามีดื่มนมจากเต้าของภรรยาแล้วจะมีผลทำให้ภรรยาเป็นที่ต้องห้ามเนื่องจากการดื่มนมหรือไม่? อย่างไรก็ตามนักวิชาการมีความเห็นต่างกันว่า น้ำนมของสตรีที่ให้นมบุตรนั้นเป็นสิทธิของนางหรือเป็นสิทธิของสามี ฝ่ายหนึ่งระบุว่าเป็นสิทธิของสามี ถ้าถือตามฝ่ายนี้ก็ถือว่าสามีดื่มนมภรรยาของตัวเองได้โดยไม่ต้องขออนุญาตภรรยา อีกฝ่ายหนึ่งระบุว่าเป็นสิทธิของภรรยา ถ้าถือตามฝ่ายนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากภรรยาก่อนเพราะน้ำนมเป็นสิทธิของนาง
ส่วนในเรื่องที่ว่า การที่สามีดื่มนมจากเต้าของภรรยาจะทำให้ภรรยาเป็นแม่นมของสามีหรือไม่ นักวิชาการทั้ง 4 มัซฮับเห็นพ้องตรงกันว่า การดื่มนมของคนที่โตแล้วคือ คนที่มีอายุเกินกว่า 2 ขวบนั้นไม่มีผลในการทำให้เกิดสถานะภาพอันเป็นที่ต้องห้ามในเรื่องการนิกาฮฺ หรือการอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาแต่อย่างใด (อัลฟิกฮุ้ลอิสลามีย์ ว่า อะดิลละตุฮู เล่มที่ 7 หน้า 708) วัลลอฮุวะอฺลัม
والله أعلم بالصواب
ทั้งนี้มีรายงานมาว่า มีชายคนหนึ่งมาหาท่านอบูมูซา อัลอัชอะรีย์ (ร.ฎ.) และบอกว่าตนได้ดูดนมจากเต้าภรรยาของตนและกลืนลงท้องไป ท่านอบูมูซา (ร.ฎ.) ก็ตอบว่า ภรรยาของเขาเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขาแล้ว แต่ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอู๊ด (ร.ฎ.) ได้ค้านคำฟัตวาของท่านอบูมูซา (ร.ฎ.) และบอกว่าการดื่มนมจากภรรยาของชายผู้นั้นไม่มีผลแต่อย่างใด กล่าวคือ ไม่มีผลในการทำให้ภรรยาของเขาเป็นที่ต้องห้ามเนื่องจากการดูดนมจากเต้าของภรรยาเพราะชายผู้นั้นมีอายุเลยกำหนด 2 ปีบริบูรณ์ (กิตาบ อัลมัจญ์มูอฺ ชัรฮุ้ลมุฮัซซับ ,อัลมุฏีอีย์ เล่มที่ 20 หน้า 85)
สังเกตจากรายงานนี้ว่า ซอฮาบะฮฺทั้ง 2 ท่านไม่ได้พูดถึงข้อชี้ขาดของการดื่มนมจากภรรยาว่าเป็นที่ต้องห้ามหรือไม่? แต่พูดถึงกรณีว่า ถ้าสามีดื่มนมจากเต้าของภรรยาแล้วจะมีผลทำให้ภรรยาเป็นที่ต้องห้ามเนื่องจากการดื่มนมหรือไม่? อย่างไรก็ตามนักวิชาการมีความเห็นต่างกันว่า น้ำนมของสตรีที่ให้นมบุตรนั้นเป็นสิทธิของนางหรือเป็นสิทธิของสามี ฝ่ายหนึ่งระบุว่าเป็นสิทธิของสามี ถ้าถือตามฝ่ายนี้ก็ถือว่าสามีดื่มนมภรรยาของตัวเองได้โดยไม่ต้องขออนุญาตภรรยา อีกฝ่ายหนึ่งระบุว่าเป็นสิทธิของภรรยา ถ้าถือตามฝ่ายนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากภรรยาก่อนเพราะน้ำนมเป็นสิทธิของนาง
ส่วนในเรื่องที่ว่า การที่สามีดื่มนมจากเต้าของภรรยาจะทำให้ภรรยาเป็นแม่นมของสามีหรือไม่ นักวิชาการทั้ง 4 มัซฮับเห็นพ้องตรงกันว่า การดื่มนมของคนที่โตแล้วคือ คนที่มีอายุเกินกว่า 2 ขวบนั้นไม่มีผลในการทำให้เกิดสถานะภาพอันเป็นที่ต้องห้ามในเรื่องการนิกาฮฺ หรือการอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาแต่อย่างใด (อัลฟิกฮุ้ลอิสลามีย์ ว่า อะดิลละตุฮู เล่มที่ 7 หน้า 708) วัลลอฮุวะอฺลัม
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น