อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เขาหาว่า ชัยค์อุษัยมีน อุลามาอฺใหญ่ของวะฮ์ฮาบี ทำการแอบอ้างอธิบายการสูงส่งของอัลลอฮฺ






นายอะหมัดรอซีดี อิสมัญ อัลอัชอะรีย์ เจ้าเก่า อ้างว่า
ชัยค์อุษัยมีน อุลามาอฺใหญ่ของวะฮ์ฮาบีแห่งซาอุดิอาราเบีย ทำการแอบอ้างอธิบายการสูงส่งของอัลลอฮฺจากอัลกุรอ่านว่า
وأهل السنة والجماعة يؤمنون بأن الله تعالى مستو على عرشه إسواءً يليق بجلاله ولا ثماثل استواء المخلوقين , فإن سلئت : ما معنى الإستواء عندهم ؟ العلو والإستقرار
อุษัยมีนแอบอ้างว่า
“ และชาวอะลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์นั้นพวกเขามีความศรัทธาว่าอัลลอฮฺทรงอิสติวาอฺเหนือบัลลังก์ของพระองค์ เป็นการอิสติวาอฺที่คู่ควรเหมาะสมแก่การยิ่งใหญ่ของพระองค์ โดยการอิสติวาอฺของพระองค์นั้นจะไม่เสมอเหมือนกับการอิสติวาอฺของสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลาย
ถ้าหากจะถามว่า : อะไรคือความหมายของคำว่า อิสติวาอฺ ณ ทัศนะของอะลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ?
(อุษัยมีนกล่าวว่า) ความหมายของอิสติวาอฺก็คือ การอยู่สูง และการสถิต (อาศัย หรือนั่ง)
อ้างอิงจากหนังสือ ชัรห์ อัลอะกีดะฮ์ อัลวาศิฎียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 375
>>>>>>>>>>>
ขอชี้แจงว่า
ความหมายของคำว่า “อิสติวาอ” ที่แปลว่า “العلو(อยู่สูง) และ الإستقرار (สถิต) นั้น
ไม่ใช่แต่อิบนุอุษัยมีนเท่านั้น ที่อธิบายแบบนี้ แต่มีปราชญ์คนอื่นๆได้ให้ความหมายเอาไว้แบบเดียวกัน ส่วนที่ นายอิสมัญ วงเล็บความหมายสถิตว่า (อาศัยหรือนั่ง) เป็นความเข้าใจของนายอิสมัญเองเพื่อใส่ร้ายอิบนุอุษัยมีน เป็นการโกหก ใส่อิบนุอุษัยมีน
อิหม่ามอัลกุรฏุบีย์ นักตัฟสีรยุคเคาะลัฟยุคแรกๆ กล่าวว่า
قَالَ مَالِكٌ رَحِمَهُ اللَّهُ : الِاسْتِوَاءُ مَعْلُومٌ - يَعْنِي فِي اللُّغَةِ - وَالْكَيْفُ مَجْهُولٌ ، وَالسُّؤَالُ عَنْ هَذَا بِدْعَةٌ . وَكَذَا قَالَتْ أُمُّ سَلَمَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهَا . وَهَذَا الْقَدْرُ كَافٍ ، وَمَنْ أَرَادَ زِيَادَةً عَلَيْهِ فَلْيَقِفْ عَلَيْهِ فِي مَوْضِعِهِ مِنْ كُتُبِ الْعُلَمَاءِ . وَالِاسْتِوَاءُ فِي كَلَامِ الْعَرَبِ هُوَ الْعُلُوُّ وَالِاسْتِقْرَارُ
อิหม่ามมาลิก ขออัลลอฮเมตตาต่อท่านกล่าวว่า “อิสติวาอฺ นั้นเป็นที่รู้กัน หมายถึงในด้านภาษา(เป็นที่รู้กัน) และรูปแบบวิธีการนั้น ไม่เป็นที่รู้กัน และการถามเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น เป็นบิดอะฮ และในทำนองเดียวกันนี้ อุมมุสะละมะฮ (ร.ฎ)ได้กล่าวเอาไว้ แค่นี้ก็พอเพียงแล้ว และผู้ใดต้องการที่จะ(รู้)เพิ่มเติม ก็จงดูมันในเรื่องของมันจากบรรดาตำราของอุลามาอฺและคำว่า”อิสติวาอฺ ในคำพูดอาหรับนั้น คือ สูง และการสถิต- ดู ตัฟสีรญามิอุลอะหกาม เล่ม ๗ หน้า ๒๑๙
และอิหม่ามอัชเชากานีย์ กล่าวว่า
قد اختلف العلماء في معنى هذا على أربعة عشر قولاً، وأحقها وأولاها بالصواب مذهب السلف الصالح أنه: استوى سبحانه عليه بلا كيف، بل على الوجه الذي يليق به مع تنزهه عما لا يجوز عليه، والاستواء في لغة العرب هو العلوّ والاستقرار
แท้จริง บรรดานักวิชาการ มีความเห็นขัดแย้งกันในความหมายนี้ ถึง สิบสี่ทัศนะด้วยกัน และทัศนะที่สมควรและดีกว่า ในด้านความถูกต้อง คือ มัซฮับบรรพชนยุคก่อนผู้ทรงธรรม ว่า แท้จริง อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงประทับบนมัน โดยถามถึงรูปแบบวิธีการว่าเป็นอย่างไร แต่ทว่า ตามแบบที่เหมาะสมกับพระองค์ พร้อมกับพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับพระองค์ และคำว่า "อิสติวาอฺ" ในภาษาอาหรับนั้น หมายถึง การอยู่สูง และ การสถิต - ดู ตัฟสีร ฟัตหุลเกาะดีร อรรถาธิบายอายะฮที่ 54 ซูเราะฮอัลอะอฺรอฟ
อิบนุอุษัยมีน (ร.ฮ) ไม่ได้มีความเชื่อว่า อัลลอฮ(ซ.บ)อาศัยหรือนั่งอยู่บนอะรัชซึ่งเป็นมัคลูคของอัลลอฮ แต่ท่านหมายถึง การอยู่เบื้องสูงเหนืออะรัช มาดูที่ท่านได้อธิบายเกี่ยวกับคำว่า الله في السماء (อัลลอฮอยู่บนฟ้า) ไว้คือ
معنى كون الله في السماء : معناه على السماء أي فوقها ، فـ (في) بمعنى "على" ، كما جاءت بهذا المعنى في قوله تعالى : (قل سيروا في الأرض) أي : عليها .
ความหมาย ของการที่อัลลอฮอยู่ในฟ้า ความหมายของมันคือ อยู่บนฟ้า หมายถึง อยู่เหนือมัน เพราะคำว่า “ฟี” ความหมายคือ “อะลา”(บน) ดังที่ความหมายนี้ ได้ปรากฏในคำตรัสของอัลลอฮตะอาลาที่ว่า “(จงกล่าวเถิด พวกเจ้าจงเดินทางไปในแผ่นดิน) หมายถึง “บนแผ่นดิน”
ويجوز أن تكون (في) للظرفية ، و (السماء) على هذا بمعنى العلو ، فيكون المعنى : أن الله في العلو ، وقد جاءت السماء بمعنى العلو في قوله تعالى : (أنزل من السماء ماء .
และอนุญาตให้ คำว่า “ฟี” (ใน) เป็นคำวิเศษณ์ (ซอรฟียะฮบอกสถานที่) และคำว่า “อัสสะมาอ” บนความหมายนี้คือ สูง ดังนั้น ความหมายก็คือ แท้จริง อัลลอฮอยู่เบื้องสูง และคำว่า “อัสสะมาอ” ได้ปรากฏมีมาด้วยความหมาย คำว่า “สูง” ในคำตรัสของพระองค์ผู้ทรงสูงส่งที่ว่า “และทรงให้น้ำหลั่งลงมาจากฟากฟ้า
ولا يصح أن تكون (في) للظرفية إذا كان المراد بالسماء الأجرام المحسوسة ؛ لأن ذلك يوهم أن السماء تحيط بالله ، وهذا معنى باطل ؛ لأن الله أعظم من أن يحيط به شيء من مخلوقاته" انتهى
การที่คำว่า “ฟี” เป็นคำวิเศษณ์นั้น ไม่ถูกต้อง เมื่อ คำว่า “อัสสมาอ” หมายถึง สิ่งที่เป็นเทหวัตถุ ที่สัมผัสได้(ด้วยอวัยสัมผัส) เพราะแท้จริง ดังกล่าวนั้น ทำให้เกิดความสงสัยว่า แท้จริงฟ้าได้ห้อมล้อมอัลลอฮเอาไว้ และนี้คือ ความหมายที่ไม่ถูกต้อง(บาฏิล) เพราะแท้จริง อัลลอฮ ทรงยิ่งใหญ่ เกินกว่าที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดจากบรรดามัคลูคของพระองค์ห้อมล้อมพระองค์ – ดู มัจญมัวะฟะตาวาเช็คอัลอุษัยมีน 4/283
........
เพราะฉะนั้น การใส่ร้ายว่า อิบนุอุษัยมีน เชื่อว่า อัลลอฮอาศัยอยู่บนอะรัช เป็นการใส่ร้ายละบิดเบือน อะกีดะฮของ เช็คอิบนุอุษัยมีน
มาดูคำอธิบายของเช็คอุษัยมีนต่อ ดังนี้
قوله تعالى : (اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ) (الأعراف :الآية54) . أي علا واستقر على وجه يليق بجلاله وعظمته ، وليس كاستواء الإنسان على البعير والكرسي مثلاً
อัลลอฮตาอาลาตรัสว่า (ทรงสถิตบนบัลลังค์) อัลอะรอฟ/54 หมายถึง ทรงอยู่สูง และทรงสถิต บนแบบที่เหมาะสมกับความสูงส่งและความยิ่งใหญ่ของพระองค์ และ ไม่ใช่การอยู่(อิสติวาอ”)ของมนุษย์ บนลา และบนเก้าอี้เป็นต้น...
http://www.ibnothaimeen.com/all/books/article_16925.shtml
อนึง คำว่า “สถิต “ ความหมายทั่วไปก็ คือ แปลว่า อยู่
นาย นายอะหมัดรอซีดี อิสมัญ อัลอัชอะรีย์ ไปเอาข้อความของอิบนุอุษียมีนบางตอน แล้วเอามาชงใส่ไข่ อย่างอคติ บิดเบือน เพื่อทำลายความเชื่อถือ หรือ ดิสเครดิต อิบนุอุษัยมีน วัลอิยซูบิลละฮ
والله أعلم بالصواب
อินชาอัลลอฮ หากมีเวลา ก็จะชี้แจงที่นายคนนี้กล่าวหาเช็คอัลบานีย์ว่า “นักปลอมแปลงสถานะหะดีษของกลุ่มคณะใหม่วะฮ์ฮาบี ด้วย

............................
อะสัน  หมัดอะดั้ม









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น