อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ตะวักกุล


ตะวักกุล หรือตะวักกัล หรือการไว้วางใจในอัลลอฮฺ ถือเป็นสิ่งที่ความศรัทธาต้องการ และเป็นคุณสมบัติอันจำเป็นสำหรับความสำเร็จนโลกหน้า

ตะวักกุล หมายถึง

1) มนุษย์จะต้องเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ในแนวทางของอัลลอฮฺและจะต้องเข้าใจว่าความรู้เรื่องสัจธรรม หลักแห่งศิลธรรม ขอบเขตของสิ่งอนุมัติและสิ่งต้องห้าม กฎและระเบียบการช้ชีวิตในโลกที่อัลลอฮฺได้ทรงบัญชานั้นวางพื้นฐานอยู่บนสัจธรรมและด้วยการปฏิบัติตามสิ่งเหล่านี้เท่านั้นที่มนุษย์จะได้รับการเป็นอยู่ที่ดี

2) มนุษยืจะต้องไม่วางใจในอำนาจและความสามารถของเขาเอง ในปัจจัยและทรัพยากร ในแผนการและวิธีการของเขาและขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกไปจากอัลลอฮฺ แต่เขาจะต้องเชื่อมั่นอย่างลึกซึ่งว่าความสำเร็จของเขาในทุกสิ่งทั้งในโลกนี้และโลกหน้านั้นขึ้นอยู่กับความช่วยเหลือของอัลลอฮฺ และเขาจะสมควรได้รับความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์ ถ้าหากเขาทำงานด้วยการมีเป้าหมายเพื่อสร้างความโปรดปรานให้แก่พระองค์ในขอบเขตที่พระองค์ได้ทรงกำหนดไว้

3) มนุษย์จะต้องมีความศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยมในสัญญาที่อัลลอฮฺได้ทรงทำไว้กับบรรดาผู้ปฏิบัติตามความศรัทธา และทำความดีในหนทางแห่งสัจธรรมแทนความเท็จ และการมีความเชื่อมั่นในสัญญาเดียวกันนี้แหละที่จะทำให้เขาละทิ้งผลประโยชน์ และความสุขทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแนวทางแห่งความเท็จและอดทนต่อความสูญเสีย และความทุกข์ยากลำบากอันเนื่องมาจากการปฏิบัติตามสัจธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว

การตะวักกุลนั้นมันมีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับความศรัทธา ตะวักกุล นั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการยืนยันความศรัทธาแค่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น


อัลลอฮฺได้ตรัสว่า


﴿ وَإِن يَمۡسَسۡكَ ٱللَّهُ بِضُرّٖ فَلَا كَاشِفَ لَهُۥٓ إِلَّا هُوَۖ وَإِن يَمۡسَسۡكَ بِخَيۡرٖ فَهُوَ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ قَدِيرٞ ١٧ ﴾ [الأنعام: ١٧]

ความว่า “และหากว่าอัลลอฮฺทรงให้ความเดือดร้อนอย่างหนึ่งอย่างใดประสบแก่เจ้าแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดจะเปลื้องมันได้ นอกจากพระองค์เท่านั้น
และหากพระองค์ทรงให้ความดีอย่างหนึ่งอย่างใดประสบแก่เจ้า  แท้จริง พระองค์นั้นทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง”

(อัล-อันอาม 17)


﴿ وَتَوَكَّلۡ عَلَى ٱلۡحَيِّ ٱلَّذِي لَا يَمُوتُ وَسَبِّحۡ بِحَمۡدِهِۦۚ وَكَفَىٰ بِهِۦ بِذُنُوبِ عِبَادِهِۦ خَبِيرًا ٥٨ ﴾ [الفرقان: ٥٧]

ความว่า  “และสูเจ้าจงมอบหมายต่อพระผู้ทรงชีวินผู้ทรงไม่ตาย และจงแซ่ซ้องสดุดีด้วยการสรรเสริญพระองค์
และพอเพียงแล้วด้วยพระองค์ ผู้ทรงรอบรู้ในความผิดทั้งหลายของปวงบ่าวของพระองค์”

(อัล-ฟุรกอน 58)


﴿ قُل لَّن يُصِيبَنَآ إِلَّا مَا كَتَبَ ٱللَّهُ لَنَا هُوَ مَوۡلَىٰنَاۚ وَعَلَى ٱللَّهِ فَلۡيَتَوَكَّلِ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ ٥١ ﴾ [التوبة: ٥١]

ความว่า  “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า จะไม่ประสบแก่เราเป็นอันขาด นอกจากสิ่งที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้แก่เราเท่านั้น 

ซึ่งพระองค์เป็นผู้คุ้มครองเรา และแด่อัลลอฮฺนั้น มุอ์มินผู้ศรัทธาทั้งหลายจงมอบหมายเถิด”
(อัต-เตาบะฮฺ 51)

และพระองค์ได้ตรัสเช่นกันว่า


﴿ وَتَوَكَّلۡ عَلَى ٱلۡعَزِيزِ ٱلرَّحِيمِ ٢١٧ ٱلَّذِي يَرَىٰكَ حِينَ تَقُومُ ٢١٨ وَتَقَلُّبَكَ فِي ٱلسَّٰجِدِينَ ٢١٩ ﴾ [الشعراء: ٢١٧،  ٢١٩]

ความว่า “และจงมอบหมายต่อผู้ทรงเดชานุภาพผู้ทรงเมตตาเสมอ ผู้ทรงเห็นเจ้าขณะที่เจ้ายืนอยู่ และการเคลื่อนไหวของเจ้าในหมู่ผู้สุญูด”  

(อัช-ชุอะรออ์ 217-219 )


รายงานจากท่าน อุมัรฺ บิน อัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าแท้จริงท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  ได้กล่าวว่า


«لَوْ أَنَّكُمْ تَتَوَكَّلُونَ عَلَى اللَّهِ حَقَّ تَوَكُّلِهِ، لَرَزَقَكُمْ كَمَا يَرْزُقُ الطَّيْرَ، تَغْدُو خِمَاصًا وَتَرُوحُ بِطَانًا» [مسند الإمام أحمد 1/30]

“หากพวกท่านมอบหมายตนต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริงแล้ว แน่นอน พระองค์จะประทานริซกี(ปัจจัยยังชีพ)ให้พวกท่าน

เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงประทานริซกีให้กับนก  โดยที่มันบินออกไปในตอนเช้าในสภาพที่ท้องว่างและกลับมาในตอนเย็นในสภาพที่ท้องอิ่ม”  
(มุสนัดอิมาม อะหฺมัด 1/30)

ท่านหาฟิซ อิบนุ เราะญับ ได้กล่าวว่า  หะดีษนี้ถือเป็นหลักในเรื่องการมอบหมายต่ออัลลอฮฺและแสดงว่าการมอบหมาย(ตะวักกุล)เป็นสาเหตุที่สำคัญที่จะชักนำมาซึ่งริสกี อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

 ﴿وَمَن يَتَّقِ ٱللَّهَ يَجۡعَل لَّهُۥ مَخۡرَجٗا ٢ وَيَرۡزُقۡهُ مِنۡ حَيۡثُ لَا يَحۡتَسِبُۚ وَمَن يَتَوَكَّلۡ عَلَى ٱللَّهِ فَهُوَ حَسۡبُهُۥٓۚ ﴾ [الطلاق: ٢،  ٣]

ความว่า “และผู้ใดยำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงหาทางออกให้แก่เขา และจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาจากที่ที่เขามิได้คาดคิด
และผู้ใดมอบหมายแด่อัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงเป็นผู้พอเพียงแก่เขาแล้ว”
(อัฏ-เฏาะลาก 2-3)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น