การละเล่นหรือการแข่งขันทุกชนิดที่มีการพนันหรือขันต่อเข้าไปเกี่ยวข้องถือเป็นสิ่งที่ต้องห้าม(หะรอม)
และถือเป็นการปรพพฤติผิดบาปใหญ่ (กะบาอิรฺ)
ซึ่งจำเป็นที่ผู้นั้นจะต้องเตาบะฮฺ(สำนึกผิด) ตามเงื่อนไขที่ศาสนาได้กำหนด
เพียงแค่คำพุดจาชักชวนผู้อื่นให้เล่นการพนันก็ถือว่าผู้นั้นจำต้องเสียค่าปรับ
(กัฟฟาเราะฮฺ)
พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالْأَنصَابُ وَالْأَزْلَامُ رِجْسٌ مِّنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ ( 90 )
"ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้ว นั้นเป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ"
إِنَّمَا يُرِيدُ الشَّيْطَانُ أَن يُوقِعَ بَيْنَكُمُ الْعَدَاوَةَ وَالْبَغْضَاءَ فِي الْخَمْرِ وَالْمَيْسِرِ وَيَصُدَّكُمْ عَن ذِكْرِ اللَّهِ وَعَنِ الصَّلَاةِ فَهَلْ أَنتُم مُّنتَهُونَ ( 91 )
"ที่จริงชัยฏอนนั้นเพียงต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชังกันระหว่างพวกเจ้าในสุราและการพนัน เท่านั้น และมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์ และการละหมาด แล้วพวกเจ้าจะยุติใหม่"
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالْأَنصَابُ وَالْأَزْلَامُ رِجْسٌ مِّنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ ( 90 )
"ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้ว นั้นเป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ"
إِنَّمَا يُرِيدُ الشَّيْطَانُ أَن يُوقِعَ بَيْنَكُمُ الْعَدَاوَةَ وَالْبَغْضَاءَ فِي الْخَمْرِ وَالْمَيْسِرِ وَيَصُدَّكُمْ عَن ذِكْرِ اللَّهِ وَعَنِ الصَّلَاةِ فَهَلْ أَنتُم مُّنتَهُونَ ( 91 )
"ที่จริงชัยฏอนนั้นเพียงต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชังกันระหว่างพวกเจ้าในสุราและการพนัน เท่านั้น และมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์ และการละหมาด แล้วพวกเจ้าจะยุติใหม่"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ :90-91)
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
مَنْ قَالَ لِصَاحِبِه تَعَالَ أُقَامِرْكَ فَلْيَتَصَدَّقْ
مَنْ قَالَ لِصَاحِبِه تَعَالَ أُقَامِرْكَ فَلْيَتَصَدَّقْ
“ผู้ที่กล่าวกับเพื่อนของเขาว่า มาเถิด ฉันจะเล่นพนันกับท่าน ดังนั้น เขาจงบริจาคทานเสีย” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอัลบุคอรีย์ เลขที่ 4860 และมุสลิม เลขที่ 1647)
การพนัน หมายถึง การเล่นเอาเงินหรือสิ่งอื่นโดยอาศัยความฉลาด ความชำนาญ เล่ห์เหลี่ยม ไหวพริบและฝีมือรวมทั้งโชคด้วย การแพ้ชนะกัน โดยคู่สัญญาจะต้อง มีส่วนเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์อันเป็นเงื่อนไขแห่งการแพ้ชนะกัน
เช่น นาย ก กับนาย ข ตกลงวิ่งแข่งกัน หากใครถึงเส้นชัย ก่อนเป็นฝ่ายชนะ
ขันต่อ หมายถึงการต่อรองซึ่งได้เสียกันโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะ เช่น นาย ก กับนาย ข วิ่งแข่งขันกัน แต่มีนาย ค กับนาย ง เป็นคนดู นาย ค กับนาย ง ตกลงกันว่า จะจ่ายเงินให้แก่กันหากมีใคร ถึงหลักชัยก่อน โดยนาย ค ตกลงว่า นาย ก ถึงหลักชัยก่อน นาย ค ก็ได้รับเงินในฐานะที่เป็นฝ่ายชนะ หากสัญญาใด มีฝ่ายได้ฝ่ายเดียว โดยไม่มีฝ่ายเสีย หรือมีฝ่ายเสียฝ่ายเดียว โดยไม่มีฝ่ายได้เลย ก็ไม่ใช่การพนันและขันต่อ ทั้งการพนันและขันต่อมีลักษณะดียวกันที่เป็นที่ต้องห้ามเช่น นาย ก กับนาย ข ตกลงวิ่งแข่งกัน หากใครถึงเส้นชัย ก่อนเป็นฝ่ายชนะ
ลักษณะของการพนันและขันต่อ
-มีคู่สัญญาสองฝ่ายขึ้นไปฝ่ายแพ้และฝ่ายชนะ
-ไม่มีแบบในการทำสัญญา วาจาตกลงกันก็สมบูรณ์ได้
- เป็นลักษณะของการเสี่ยงโชคหรือใช้ฝีมือ
-ต้องอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะ
-คู่สัญญาต้องมีโอกาสได้และเสียในการเสี่ยงโชคนั้น หากคู่สัญญาฝ่ายใดมีแต่ได้ไม่มีเสีย หรือมีแต่เสียไม่มีได้ ก็ไม่ใช่การพนันและขันต่อ
-ฝ่ายแพ้ต้องจ่ายเงินหรือทรัพย์สินให้ฝ่ายที่ชนะตามข้อตกลง
อาทิเช่น การพนันในการเล่นหมากรุก การเล่นไฮโล
การเล่นถั่ว การเล่นน้ำเต้าปูปลา การทอยลูกเต๋า การพนั้นที่เกี่ยวข้องกับกีฬา
ได้แก่ มวยตู้ การพนันมวยฟุตบอล นอกจากนี้การเล่นหวย ลอตเตอรี่
หรือสลากกินแบ่งรัฐบาล ทั้งที่ถูกฏหมายและผิดกฎหมายถือเป็นที่ต้องห้ามเช่นกัน
และยังรวมถึงการพนันชนไก่ วัวชน การพนันแข่งนกกรงหัวจุก นกเขาชวาเสียง ฯลฯ
ไม่ว่าเงินที่เสี่ยงพนันจะเรียกชื่อประการใดก็ตามแต่
والله ولي التوفيق
والله ولي التوفيق
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น