การเลี้ยงดูนั้น เป็นสิทธิของผู้เยาว์ที่จะต้องได้รับจากผู้ที่จะต้องรับผิดชอบเขา คอยให้การดูแลปกครอง
สำหรับมารดาก็มีหน้าที่ในการเลี้ยงดูเด็กที่เป็นบุตรของเขา และเป็นผู้สมควรเลี้ยงลูกมากที่สุด
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"เธอนั้นเหมาะสมที่สุดที่จะเลี้ยงดูเขา"
การเลี้ยงดูเป็นสิทธิของเด็ก จึงต้องเป็นหน้าที่ของมารดา ในเมื่อเด็กนั้นต้องการความใกล้ชิด คือแม่
และไม่มีผู้อื่น เพื่อว่าเด็กนั้นจะได้ไม่เสียสิทธิที่จะได้จากการเลี้ยงดู และฝึกฝนเขา แต่ถ้าหากว่าเด็กนั้นยังมีคุณย่าที่จะคอยดูแลอุปถัมภ์ ซึ่งย่านั้นก็พอใจที่จะกระทำ แล้วผู้เป็นมารดาก้ไม่สนใจ สิทธิของนางก็เลยหมดไป
ทุกคนที่มีหน้าที่เลี้ยงดูก็มีสิทธิ์ที่จะต้องทำการเลี้ยงดู และผู้ถูกให้เลี้ยงดุก็มีสิทธฺจะต้องได้รับการเลี้ยงดู แต่ว่าผู้ที่จะต้องได้รับการเลี้ยงดูนั้น หนักกว่าผู้เลี้ยงดูในเรื่องสิทธิ หากผู้เลี้ยงดูสละสิทธิของตัวเอง สิทธฺของผู้ที่จะได้รับการเลี้ยงดูนั้น ก็ยังไม่หมดไป
หากผู้ที่ไม่ใช่มารดาได้บริจาคค่าเลี้ยงดูให้กับเด็กๆ แล้วก็ตาม สิทธิของมารดาเด็กก็ยังไม่หมดไป ตราบใดที่เด็กนั้นยังเล้กอยู่ เพื่อว่าเด็กจะได้ไม่เกิดอันตรายโดยการถูกกีดกันจากมารดาของเขา เพราะว่านางนั้นเป็นผู้มีจิตรใจผูกพันสงสารลูกมากกว่าใครทั้งหมด ตลอดจนความรักและอดทนในการให้บริการลูกของเขา
الله أعلم بالصواب
الله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น