อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เงื่อนไขต่างๆของ "ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ"



เงื่อนไขของ "ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ" (لآ إله إلاّ الـلـّه) ที่บรรดาอุละมาอ์ทั้งหลายได้ค้นคว้ามาจาหฟลักฐานต่างๆ ที่มีอยู่ในอัล-กุรอาน และอัส-สุนนะฮฺ ในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับถ้อยคำอันนิ่งใหญ่นี้ พร้อมทั้งอธิบายถึงสิทธิ และข้อจำกัดต่างๆของมัน มิใช่เป็นเพียงการกล่าวออกมาด้วยวาจาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

คำว่า "ลาอิลาฮะ อิลัลลัลลอฮฺ" นั้นจะมีประโยชน์หรือเกิดผลต่อผู้ที่กล่าวอย่างแท้จริง ต้องเป็นไปด้วยเงื่อนไข 7 ประการต่อไปนี้ คื่อ

เงื่อนไขที่ 1 ต้องมีความรู้
คือรู้ความหมายของถ้อยคำนี้อย่างท่องแท้ ทั้งในแง่การปฏิเสธ และแง่การยืนยันของมัน ดังนั้นหากผู้ใดกล่าวเพียงด้วยวาจา แต่ไม่ทราบ ไม่เข้าใจในความหมาย หรือจุดประสงค์ของมันแล้ว ก็ย่อมไม่เกิดประโยชน์อันใดแก่ผู้กล่าว ทั้งนี้เพราะถือว่าเขายังไม่ศรัทธามั่นต่อเจตนาของถ่อยคำนี้ เปรียบเสมือนผู้ที่พูดภาษาหนึ่ง ซึ่งตนเองไม่เข้าใจในความหมายนั้นเอง

เงื่อนไขที่ 2 ต้องมีมีความเชื่อมั่น
คือต้องมีความรู้อย่างสมบูรณ์ ต่อถ้อยคำนี้ เป็นความรู้ที่ปราศจากการคลางแคลง หรือสงสัยใดๆ

เงื่อนไขที่ 3 ต้องมีความบริสุทธิ์ใจ (อิคลาศ)
โดยปราศจากภาคีใดๆที่ถ้อยคำ "ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ" บ่งถึง

เงื่อนไขที่ 4 ต้องมีความสัจจริง
อันเป็นความสัจจริงที่ตรงข้ามกับการสับปลับ (นิฟาก) ทั้งนี้เพราะบรรดามุนาฟิก (ผู้สับปลับ) นั้นมักจะกล่าวอ้างถ้อยคำนี้เช่นกัน แต่กลับไม่เชื่อต่อความหมายของมัน

เงื่อนไขที่ 5 ต้องมีความรัก
คือรักต่อถ้อยคำนี้และเจตนาต่างๆ ที่มนบ่งถึง พร้อมกับยินดีต่อประการทั้งหมดนั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับพฤติกรรมของพวกบรรดามุนาฟิก ที่เสแสร้งว่ารักหรือยอมรับ แต่จิตใจส่วนลึกแฝงเอาไว้ซึ่งความชิงชังและปฏิเสธ

เงื่อนไขที่ 6 ต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามในสิทธิต่างๆ ของมันอย่างเคร่งครัด
อันหมายถึงกิจการงานต่างๆที่จำเป็น(วาญิบ) ด้วยความบริสุทธิ์ใจ(อิคลาศ) และมุ่งหวังในความยินดีจากพระองค์ ดังกล่าวนี้คือเป้าประสงค์ของมัน

เงื่อนไขที่ 7 ตองมีการยอมรับ
ซึ่งกันข้ามกับการปฏิเสธ หรือการผลักไสไม่ยอมรับ ในที่นี้หมายถึงการยอมรับที่จะต้องปฏิบัติตามในข้อใช้ และละทิ้งในข้อห้ามทุกๆประการอย่างเคร่งครัดนั้นเอง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น