อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บ้านมุสลิมตามแบบฉบับท่านรสูล





\

..... เลือกเพื่อนบ้านก่อนเลือกบ้าน .....

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) เคยสั่งเสียไว้ว่า

“พวกท่านจงขอความคุ้มครองจากพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.ล.) ให้พ้นจากเพื่อนบ้านที่ไม่ดีในสถานที่ซึ่งอาศัยอยู่เถิด” (หะดีษหะสัน บันทึกโดย นะสาอีย์ หะดีษที่ 5519)

ซึ่งท่านรสูลุลลออฺ (ซ.ล.) เคยขอดุอาอ์ให้พ้นจากเพื่อนบ้านที่ไม่ดี ดังมีสำนวนต่อไปนี้

คำอ่าน “อัลลอฮุมม่า อินนี อ้าอูซู่ บี้ก้า มิน ญาริซซูอี้ ฟี ดาริ้ลมู่กอมะฮฺ ฟ่าอินน่า ญาร็อลบาดีดี้ย่าตี ย่าต้าเฮาวั้ล”

คำแปล “โอ้อัลลอฮฺ ฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากเพื่อนบ้านที่ไม่ดีในสถานที่ซึ่งอาศัยอยู่ แท้จริงเพื่อนบ้านที่เร่ร่อนนั้น จะเปลี่ยนแปลงที่อยู่ตลอด” (หะดีษหะสัน บันทึกโดย หะกิม หะดีษ 1951)

อันที่จริง การสร้างบ้านของแต่ละคน เราจะต้องพิจารณาเพื่อนบ้านของเราด้วย หรือพิจารณาสภาพแวดล้อมของบ้านด้วย หากสภาพแวดล้อม หรือเพื่อนบ้านเต็มไปด้วยสิ่งที่ขัดแย้งกับอิสลาม หรือปะปนกับสิ่งกักขฬะทั้งหลาย อาทิเช่น สภาพแวดล้อมของบ้านเต็มไปด้วยยาบ้า ยาเสพติด, เล่นการพนัน ดื่มสุรา ฯลฯ

เช่นนี้ มุสลิมจะต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า การปลูกบ้านแต่ละครั้งเป็นการลงหลักปักฐานที่จะต้องอยู่กันยาวนาน ไม่ใช่ว่าเป็นสมัยทะเลทราย (อาหรับชนบท) ที่ย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย ๆ ดังนั้นมุสลิมจะซื้อบ้าน หรือจะปลูกบ้าน จะเป็นจะต้องพิจารณาเพื่อนบ้าน และสภาพแวดล้อมของบ้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง





..... จะต้องไม่มีสิ่งฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น .....


ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

“ เตียงนอนหนึ่งสำหรับสามี เตียงนอนอีกหนึ่งสำหรับภรรยา และเตียงนอนที่สามำสหรับแขก (ผู้มาเยือน) แต่ (ถ้า) เตียงนอน (เพิ่มอีกเป็น) สี่นั่นสำหรับชัยฏอน” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย มุสลิม หะดีษที่ 5573)

หะดีษข้างต้นบ่งบอกให้รู้ว่า บ้านมุสลิมจะต้องไม่ฟุ่มเฟือย ศาสนาส่งเสริมให้บ้านมุสลิมมีสิ่งของ หรือเครื่องใช้ไม้สอยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ใช่ซื้อเก็บไว้โดยไม่ได้นำมาใช้ หรือไม่นำมาใช้เป็นประโยชน์ ซื้อมาเก็บ หรือซื้อมาโชว์ ไม่ใช่แนวทางของอิสลาม

อาทิเช่น เตียงนอน (หรือห้องนอน) เจ้าของบ้านซื้อเตียง หรือทำห้องไว้เฉพาะที่จำเป็น เตียงนอนหนึ่งสำหรับสามีภรรยา เตียงนอกอีกหนึ่งสำหรับลูก ๆ ลูกกี่คนก็ซื้อเตียงเท่านั้น และซื้อเตียง หรือทำห้องไว้เฉพาะแขกผู้มาเยือน นอกเหนือจากนี้ไม่อนุญาตให้ซื้อเพิ่ม นี่เท่ากับว่า ศาสนาไม่ยอมให้เจ้าของบ้านซื้อสิ่งใดมาเก็บไว้ในบ้านอย่างฟุ่มเฟือย

อันที่จริงบ่าวของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ถูกบังเกิดมาเพื่อเชื่อฟังพระเจ้า การใช้ชีวิตของเราจึงต้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระองค์ เป้าหมายการอยู่บนโลกนี้เพื่อเก็บเกี่ยวเสบียงการงานให้มากที่สุด ไม่ใช่เพื่อสะสมความฟุ้งเฟ้อแต่อย่างใด

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า


“จงอยู่บนโลกดุนยานี้ เสมือนหนึ่งคนแปลกหน้า หรือคนเดินทาง” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย บุคอรีย์ หะดีษที่ 6416)

มุสลิมอยู่บนโลกแค่ชั่วคราว ไม่ต่างอะไรกับคนแปลกหน้า หรือคนเดินทาง นำสิ่งติดตัวไปได้ไม่มากสำหรับการเดินทางแต่ละครั้ง ฉันใดก็ฉันนั้น มุสลิมอยู่บนโลกนี้ชั่วคราว เดี๋ยวก็ต้องเดินทางไปสู่โลกหน้า ฉะนั้นโลกนี้เก็บเกี่ยวคุณงามความดีได้ให้มาก ส่วนเรื่องวัตถุไม่ใช่ซื้อไว้สะสม แต่ต้องแสวงหา หรือซื้อไว้เฉพาะที่ต้องใช้ หรือจำเป็นเท่านั้น



..... ดูแลเอาใจใส่ต่อสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว .....

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เล่าว่า

“เมื่อท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) พบสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัวของท่านรอสูล (ซ.ล.) เจ็บป่วย, ท่านรสูล (ซ.ล.) จะอ่านสูเราะฮฺฟะลัก กับสูเราะฮฺอันนาสแล้วเป่ายังบุคคลผู้นั้น, ครั้นเมื่อท่านรสูล (ซ.ล.) ป่วยใกล้วาระสุดท้าย ฉัน (อ่านแล้ว) เป่าบนมือของท่านรสูล (ซ.ล.) แล้วใช้มือของท่านรสูล (ซ.ล.) ลูบไปตามร่างกาย (ทำเช่นนั้นก็เพราะ) มือของท่านรสูล (ซ.ล.) มีความจำเริญ (บะเราะกะฮฺ) ยิ่งกว่ามือของฉัน” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย มุสลิม หะดีษที่ 5843)

สมาชิกในครอบครัวจะต้องหมั่นสังเกตสมาชิกในครอบครัวด้วยกัน ว่ามีสุขภาพร่างกายเป็นอย่างไรบ้าง หายเจ็บป่วยก็ต้องดูแล และรักษา ไม่ว่าจะหาหยูดยาให้ หากป่วยหนักก็ต้องพาไปโรงพยาบาล ส่วนการรักษาในเบื้องต้น สมาชิกในบ้านสามารถช่วยเหลือด้วยการดุอาอ์ ซึ่งมีสำนวนดังนี้

ให้อ่าน

คำอ่าน “บิสมิ้ลลาฮฺ”

คำแปล “ด้วยนามของอัลลอฮฺ” โดยอ่าน 3 ครั้ง

แล้วอ่านดุอาอ์บทนี้อีก 7 ครั้ง

คำอ่าน “อ้าอูซู่ บิ้ลลาฮี้ ว่ากุ๊ดร่อตี้ฮี มิน ชัรรี้มา อ้าญี่ดู้ ว่าอู้ฮาซี่รู่”

คำแปล “ฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์อัลลอฮฺ และความเดชานุภาพของพระองค์ ให้พ้นจากความชั่วร้ายในสิ่งที่ฉันประสบอยู่ และสิ่งที่กำลังระมัดระวังอยู่” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย มุสลิม หะดีษ 5867)

หมายเหตุ ให้วางมือขวาบนอวัยวะที่เจ็บปวด จากนั้นให้ขอดุอาอ์ข้างต้น


. หยอกล้อ และแสดงความรักต่อสมาชิกในบ้าน .....

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

“ปรากฏว่าท่านนบีมุหัมมัด (ซ.ล.) แลบลิ้นให้แก่หะสัน บุตรของท่านอะลีย์ จนกระทั่งเด็กเห็นความแดงของลิ้นของท่านนบี และเด็กชอบใจ (สิ่งนั้น)” (หะดีษหะสัน บันทึกโดย อบุชชัยค์ อิบนุ ฮิบบาน หน้าที่ 90)

ท่านอับดุลลอฮฺ บุตรของยะอฺฟัรฺ เล่าว่า

“เมื่อท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กลับจากเดินทาง (ไกล) ท่านรสูล (ซ.ล.) จะได้รับการต้อนรับจากลูกหลานในครอบครัวของท่านรสูล (ซ.ล.)” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย มุสลิม หะดีษ 6421)

ท่านอับดุลลอฮฺ บุตรของยะอฺฟัรฺ เล่าว่า

“เมื่อท่านนบีมุหัมมัด (ซ.ล.) กลับจากเดินทางไกล พวกเราจะออกไปต้อนรับ, เมื่อท่านนบีเจอฉัน, หะสัน หรือหุสัยน์, ท่านนบีจะอุ้มบุคคลหนึ่งในหมู่พวกเราไว้ข้างหน้า และอีกคนหนึ่งไว้ข้างหลัง จนกระทั่งเข้าเมือง (มะดีนะฮฺ)” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย บุคอรีย์ หะดีษที่ 6422)

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) มักชอบหยอกล้อเด็ก ๆ โดยเฉพาะหลายของท่านรสูล (ซ.ล.) ไม่ว่าจะเป็นท่านหะสัน หรือหุสัยน์ก็ตาม ใช่แต่เท่านั้น ท่านรสูล (ซ.ล.) ยังอ่อนโยนต่อเด็ก ๆ คนอื่นด้วย อาทิเช่น การลูบศีรษะ, ให้ขนมหรือผลไม้แก่เด็ก ๆ

แนวทางดังกล่าวสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองจะต้องกระทำแก่สมาชิกภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการหยอกล้อลูก ๆ หรือภรรยาก็ตาม

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เล่าว่า

“ปรากฏว่าฉัน กับท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) อาบน้ำจากภาชนะเดียวกัน ซึ่งท่านรสูล (ซ.ล.) อาบน้ำก่อนฉัน จนฉันต้องกล่าวว่า เหลือให้ฉันอาบน้ำบ้างสิคะ เหลือให้ฉันอาบน้ำบ้างสิคะ ซึ่งท่านรสูล (ซ.ล.) กับท่านหญิงอาอิชะฮฺต่างก็มียุนุบ” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย มุสลิม หะดีษที่ 758)

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวแก่ท่านญาบิรฺว่า

“ไม่ใช่ไร สำหรับหญิงสาวที่ท่านจะหยอกล้อกับนาง และนางก็จะหยอกล้อกับท่าน ท่านทำให้นางหัวเราะ และนางก็ทำให้ท่านหัวเราะ” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย บุคอรีย์ หะดีษที่ 5367)

ฉะนั้น การที่สามีหยอกล้อกับภรรยา หรือพ่อแม่หยอกล้อกับลูก ๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสุขภายในบ้าน พึงทราบเถิดว่า สถาบันแรกที่สร้างความรัก ความอบอุ่น และความสุข คือสถาบันครอบครัว เมื่อความรักถูกหล่อหลอมตั้งแต่เด็กโดยผู้ปกครอง หรือแม้แต่ภรรยาได้รับความอบอุ่น ความรักจากสามี สามีได้รับความอบอุ่น ความรักจากภรรยา พวกเขาก็จะมีความรัก ความเห็นอดเห็นใจให้แก่บุคคลอื่นด้วย

โดยเฉพาะเมื่อออกมาสู่สังคมภายนอก พวกเขาจะมีคุณภาพ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมมีคุณภาพ สงบสุขตามไปด้วย


... การขออนุญาตเข้าบ้านผู้อื่น .....

พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย สูเจ้าจงอย่าเข้าบ้านใดอื่นจากบ้านของสูเจ้า จนกว่าจะขออนุญาตและให้สลามแก่เจ้าบ้านเสียก่อน เช่นนั้นแหละเป็นการดีสำหรับสูเจ้า เพื่อว่าสูเจ้าจะได้ใคร่ครวญ

เมื่อสูเจ้าไม่พบผู้ใดในบ้านนั้นก็อย่าเข้าไป จนกว่าจะได้รับอนุญาตแก่สูเจ้า และเมื่อมีการกล่าวแก่สูเจ้าว่า จงกลับไป ก็จงกลับไป ซึ่งเป็นการเหมาะสมยิ่งแก่สูเจ้า และอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงรอบรู้สิ่งที่สูเจ้ากระทำ” (สูเราะฮฺ อันนูร อายะฮฺที่ 27 – 28)

จากอายะฮฺข้างต้น มารยาทการขออนุญาตเข้าบ้านมีข้อปฏิบัติดังนี้

1. กรณีจะเข้าบ้านของผู้อื่นให้ขออนุญาตเข้าบ้าน แล้วเมื่อพบเจ้าของบ้านก็ให้สลาม หรือจะให้สลามก่อน ก็อนุญาตเช่นเดียวกัน
2. หากไม่พบเจ้าของบ้าน หรือสมาชิกในบ้านออกมาต้อนรับ หรือออกมาเปิดประตู เช่นนี้ก็ให้ผู้มาเยือนกลับไปแต่โดยดี ไม่อนุญาตให้เข้าบ้านผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยเด็ดขาด
3. หรือหากว่าเจ้าของบ้านไม่สะดวกให้เข้าบ้าน ไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ช่าง เช่นนี้ไม่อนุญาตให้ตำหนิเจ้าบ้าน แต่ให้ผู้มาเยือนกลับไปแต่โดยดี เพราะนี่เป็นมารยาที่สวยงาม และเป็นการเหมาะสมที่สุด จึงเป็นมารยาทที่สูงส่งยิ่ง
4. ใช่แต่เท่านั้น หากผุ้มาเยือนจะเข้าบ้านผู้อื่น แต่เจ้าของบ้านไม่อยู่, อยู่แต่ภรรยาของเขา เช่นนี้ก็ไม่อนุญาตให้เขาเข้าบ้านผู้อื่นโดยที่สามีของนางไม่อยู่เช่นกัน เพราะเป็นการป้องกันฟิตนะฮฺ (ความเดือดร้อน) ที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

“และไม่อนุญาตให้นาง (ภรรยา) อนุญาตให้ใครมาเข้าบ้านของสามี ยกเว้นสามี (ของนาง) จะให้อนุญาตเสียก่อน”
(หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย บุคอรีย์ หะดีษที่ 5195)

5. เมื่อไม่เจอเจ้าของบ้าน หรือรู้ว่าเจ้าของบ้านอยู่ในบ้าน แต่เค้าไม่เปิดประตูให้ เช่นนี้ไม่อนุญาตโดยเด็ดขาดที่จะแอบมองเข้าไปในบ้านของคนอื่น นั่นถือว่าเป็นการกระทำที่กักขฬะ และหากผู้มาเยือนท่านใดทำเช่นนั้น ศาสนาอนุญาตให้เจ้าบ้านทำร้ายดวงตาผู้นั้นได้ โดยไม่มีความผิดใด ๆ ทั้งสิ้น

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

“บุคคลใดที่แอบมองเข้าไปในบ้านของผู้อื่น โดยไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าของบ้าน เช่นนั้นจงทิ่มตาเขาเถิด โดยเขาไม่ต้องเสียค่าปรับ และค่าชดใช้ใด ๆ ทั้งสิ้น” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย สุนัน นะสาอีย์ หะดีษที่ 4897)



..... ให้แขกผู้มาเยือนนั่งในสถานที่ซึ่งถูกกำหนดไว้เท่านั้น .....

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

“และไม่อนุญาตให้บุคคลใดเป็นอิมามนำนมาซในอาณาเขตของเขา (เจ้าของบ้าน หรืออิมามประจำมัสญิด) และไม่อนุญาตให้นั่งในที่ส่วนตัวในบ้านของเขา ยกเว้นเขาจะอนุญาตให้เสียก่อน” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย มุสลิม หะดีษที่ 1564)

ฉะนั้นหากเราเป็นแขก หรือผู้มาเยือน จะต้องนั่งลงในสถานที่ซึ่งเจ้าของบ้านจัดเตรียมไว้ให้นั่นเท่านั้น ไม่อนุญาตให้เราไปนั่งในสถานที่ซึ่งเจ้าของบ้านนั่งอยู่เป็นประจำ ยกเว้นว่าเขาจะอนุญาตให้นั่ง แขกผู้มาเยือนจึงจะนั่งได้ นี่เป็นมารยาทอันงดงามที่อิสลามได้กำหนดไว้แก่มุสลิมทุกคนให้ปฏิบัติตาม



ทำบ้านให้สะดวกสบาย .....

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

“(จะได้รับ) ฎูบา (ชื่อหนึ่งของสวรรค์ หรือต้นไม้ในสวรรค์) สำหรับบุคคลที่ควบคุมลิ้นของเขา (ไม่ใส่ร้าย, นินทา หรอืพูดไร้สาระ), ทำให้บ้านของเขากว้างขวาง และเขาร้องไห้ (เสียใจ) ต่อความผิดของเขาเอง” (หะดีษหะสัน ลิฆ็อยริฮี, บันทึกโดย เฏาะบะรอนีย์ หะดีษที่ 2430)


“3 ประการที่เป็นความสุข, 3 ประการที่เป็นความทุกข์ ส่วนที่เป็นความสุข คือ (1) สตรี (ภรรยา) ที่ศอลิหฺ (สตรีที่ดีมีคุณธรรม) ซึ่งท่านมองนาง นางทำให้ท่านสบายใจ และท่านไม่อยู่ (บ้าน) นางดูแลรักษาตัวนางอย่างดี และรักษาทรัพย์ของท่านอย่างดี (2) สัตว์เลี้ยงที่เชื่องที่คอยติดตามเจ้าของ และ (3) บ้านที่กว้างขวางซึ่งมีสมาชิกในบ้านมาก

ส่วนที่เป็นความทุกข์คือ (1) สตรี (ภรรยา) ที่มองไปยังนาง นางทำให้ท่านไม่สบายใจ มีวาจาไม่สุภาพ เมื่อท่านไม่อยู่ (บ้าน) นางไม่ดูแลรักษาตัวนางและไม่ดูแลรักษาทรัพย์ของท่าน (2) สัตว์เลี้ยงที่ไม่เชื่อง หากว่าท่านตีมัน มันก็จะทำให้ท่านเหน็ดเหนื่อย แต่ถ้าท่านปล่อยมันไป มันก็ไม่สนใจเจ้าของ (3) บ้านที่คับแคบ มีสมาชิกในบ้านน้อย” (หะดีษหะสัน บันทึกโดย หากิม หะดีษที่ 2684)

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

“แท้จริงส่วนหนึ่งของความสุข (บนโลกดุนยา) ได้แก่ ภรรยาศอลิหฺ (ที่ดีมีคุณธรรม), บ้านที่ดี และพาหนะที่ดี แท้จริงส่วนหนึ่งของความทุกข์ (บนโลกดุนยา) ได้แก่ ภรรยาที่ไม่ดี, บ้านที่ไม่ดี และมีพาหนะที่ไม่ดี (นั่นเอง)” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย เฏาะบะรอนีย์ หะดีษที่ 332)

ด้วยหะดีษดังกล่าวข้างต้น จักเห็นได้ว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ส่งเสริมให้ทำบ้านของมุสลิมให้เป็นบ้านที่ดีกว้างขวาง และน่าอยู่ ฉะนั้นบ้านของมุสลิมจะต้องทำให้เกิดความสะดวกสบาย จัดเป็นสัดส่วน แม้ว่าบ้านจะไม่ใหญ่โตก็ตาม แต่บ้านมุสลิมต้องเป็นบ้านที่น่าอยู่น่าอาศัยบนพื้นฐานแห่งอิสลาม ซึ่งสิ่งข้างต้นทำให้สมาชิกภายในบ้านมีความสุข ยิ้มแย้มแจ่มใส และเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ (ซ.บ)

ยิ่งไปกว่านั้น ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ย้ำว่า บ้านที่ดี กว้างขวาง น่าอยู่น่าอาศัย คือส่วนหนึ่งของความสุขบนโลกดุนยา มีไม่กี่เรื่องที่ศาสนาจะกล่าวถึงความสุขบนโลกดุนยา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ บ้านที่ดี สะดวกสบายนั่นเอง



ดับไฟ และปิดภาชนะภายในบ้านก่อนล้มตัวนอน .....

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

“และพวกท่านอย่าปิด (หรือจุด) ไฟไว้ในบ้านของพวกท่าน ขณะพวกท่านจะนอนหลับ (ปิดไฟ หรือดับไฟในเตาให้เรียบร้อยก่อนนอน” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย บุคอรีย์ หะดีษที่ 6293)

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

“และจงดับตะเกียงของท่านพร้อมกล่าวนามของอัลลอฮฺ (ซ.ล.) จงมัดปากถึงใส่น้ำของท่านพร้อมกล่าวนามของอัลลอฮฺ (ซ.ล.) และจงปิดภาชนะของท่านพร้อมกล่าวนามของอัลลอฮฺ (ซ.ล.) หาก (ไม่มีฝาปิด) จะนำสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาปิด (หรือคลุม) ก็ให้ทำ” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย บุคอรีย์ หะดีษที่ 3280)

ในสมัยก่อนเขาใช้ตะเกียงเพื่อให้แสงสว่างในเวลากลางคืน แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นหลอดไฟ ฉะนั้นก่อนนอนก็ให้เราปิดสวิตช์ไฟ หรือปลั๊กไฟ พร้อมกล่าวนามของอัลลอฮฺ (ซ.ล.) ด้วยเช่นกัน

อีกสาเหตุหนึ่งที่ให้กล่าวนามของอัลลอฮฺ (ซ.ล.) ขณะปิดภาชนะ ขณะดับไฟ และขณะมัดถึงน้ำก็เพราะเหล่าชัยฏอนจะไม่สามารถเปิดภาชนะ, ถุงน้ำ หรือแม้กระทั่งเปิดประตู หน้าต่างที่กล่าวของอัลลอฮฺ (ซ.ล.) ได้

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

“และพวกท่านจงปิดประตู (หน้าต่าง) พร้อมกับกล่าวนามของอัลลอฮฺ (เพราะ) แท้จริงชัยฏอนไม่สามารถเปิดประตูที่ถูกปิด (ด้วย) นามของอัลลอฮฺ (ซ.ล.)” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย บุคอรีย์ หะดีษที่ 3304)

ด้วยหะดีษดังกล่าวข้างต้น จักเห็นได้ว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ส่งเสริมให้ทำบ้านของมุสลิมให้เป็นบ้านที่ดีกว้างขวาง และน่าอยู่ ฉะนั้นบ้านของมุสลิมจะต้องทำให้เกิดความสะดวกสบาย จัดเป็นสัดส่วน แม้ว่าบ้านจะไม่ใหญ่โตก็ตาม แต่บ้านมุสลิมต้องเป็นบ้านที่น่าอยู่น่าอาศัยบนพื้นฐานแห่งอิสลาม ซึ่งสิ่งข้างต้นทำให้สมาชิกภายในบ้านมีความสุข ยิ้มแย้มแจ่มใส และเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ (ซ.บ)

ยิ่งไปกว่านั้น ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ย้ำว่า บ้านที่ดี กว้างขวาง น่าอยู่น่าอาศัย คือส่วนหนึ่งของความสุขบนโลกดุนยา มีไม่กี่เรื่องที่ศาสนาจะกล่าวถึงความสุขบนโลกดุนยา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ บ้านที่ดี สะดวกสบายนั่นเอง



 จะต้องเตรียมสถานที่หรือห้องรับแขกภายในบ้าน .....

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

“บุคคลที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) และวันสุดท้าย เขาจงให้เกียรติแก่แขก (ผู้มาเยือน) เถิด” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย บุคอรีย์ หะดีษที่ 6136)

ดังนั้น บ้านมุสลิมควรอย่างยิ่งยวดที่จะต้องมีห้อง หรือเตียงเฉพาะไว้สำหรับแขกผู้มาเยือน สิทธิของผู้มาเยือนอย่างน้อยวนหนึ่งกับคืนหนึ่งอย่างมากสามวันสามคืน

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

“ขอขวัญที่แขก (ผุ้มาเยือน) จะได้รับ (จากเจ้าของบ้าน) อย่างน้อยวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ส่วนอย่างมากคือ สามวัน” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย บุคอรีย์ หะดีษที่ 6135)

ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

“เตียงนอนหนึ่งสำหนึ่งสำหรับสามี เตียงนอนอีกหนึ่งสำหรับภรรยา และเตียงนอนที่สามสำหรับแขก (ผู้มาเยือน) แต่ (ถ้า) เตียงนอน (เพิ่มอีกเป็น) สี่ นั่นสำหรับชัยฏอน” (หะดีษเศาะหี้หฺ บันทึกโดย บุคอรีย์ หะดีษที่ 5573)

การให้เกียรติแก่แขกถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับบ้านมุสลิมทุกบ้านที่จะต้องจัดหาอาหาร ที่นอน หรือความสะดวกอื่น ๆ ที่ทำให้แขกผู้มาเยือนพอใจ นี่คือสิทธิที่เจ้าของบ้านพึงให้เกียรติต่อแขกผู้มาเยือนทุกคน



...............................
(จากหนังสือ : บ้านมุสลิม)
เขียนโดย : มุรีด ทิมะเสน
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น