อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คำอธิบายหะดิษที่ห้ามอุตริบิดอะฮ




ท่านนบี ศอลฯกล่าวว่า

مَن عمِلَ عَمَلاً لَيسَ علَيهِ أَمرُنا فهوَ رَدٌّ

ผู้ใดประกอบการงานใดที่ไม่กิจการของเราบนมัน นั้นมันถูกปฏิเสธ – รายงานโดยมุสลิม

المعنى أنَّ كُلَ عَملٍ يعْمَله المسلمُ إذا لم يُوافق شَرِيعَتنا فهو مردودٌ لا يقبلُهُ الله، أي أنَّ الصَّلاةَ والصِّيَامَ والزَّكَاةَ والحَجَّ والذِّكْرَ والدُّعاءَ كُلَّ ذَلِكَ إِذا لم يُوَافِق شَرِيعتَنا فهو مردودٌ لا يَقبلُهُ الله، مِن هنا قال الفُقَهاء ( مَن تَلَبَّسَ بِعِبَادَةٍ فاسِدَةٍ فَقدْ عَصَى ) أي أنّ الذي يَعمَلُ في عِبادةٍ فاسِدَةٍ مُخالفَةٍ للشَرِيعَةِ عليهِ مَعصية، الصَّلاةُ إذا لم تُوافِقِ الشّرعَ فهِيَ فاسِدَةٌ وَكَذَلِكَ سَائِرُ العِبَادَات

ความหมายคือ แท้จริงทุกการกระทำ ที่มุสลิมได้กระทำ เมื่อมันไม่สอดคล้องกับชะรีอะฮของเรา มันถูกปฏิเสธ อัลลอฮมิทรงรับมัน กล่าวคือ การละหมาด การถือศีลอด การจ่ายซะกาต การประกอบพิธีหัจญ์ , การซิกริลละฮและการดุอา ดังกล่าวนั้นทั้งหมด เมื่อไม่สอดคร้องกับชะรีอัตของเรา มันถูกปฏิเสธ อัลลอฮไม่ทรงรับมัน จากเหตุนี้ บรรดานักกฏหมายอิสลาม(ฟุเกาะฮาอฺ) ได้กล่าวว่า " ผู้ใดปฏิบัติอิบาดะฮที่ผิด แน่นอนเขาได้ฝ่าฝืนแล้ว หมายถึง แท้จริงผู้ที่ปฏิบัติอิบาดะฮที่ผิด ที่ขัดแย้งกับชะรีอะฮ ความผิดการฝ่าฝืนตกอยู่บนเขา ,การละหมาด เมื่อไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติ มันคือ สิ่งที่ผิด และอิบาดะฮอื่นๆก็ในทำนองเดียวกันนั้น

http://www.alharary.com/vb/showthread.php?t=21469

มาดูคำอธิบาย เพิ่มเติม

قال ابن رجب: فهذا الحديث يدل بمنطوقه على أن كل عمل ليس عليه أمر الشارع فهو مردود، ويدل بمفهومه على أن كل عمل عليه أمره فهو غير مردود))

อิบนุเราะญับกล่าวว่า “ ดังนั้นหะดิษนี้ คำพูดของมันแสดงให้เห็นว่า แท้จริงทุกการงาน ที่ไม่มีคำสั่งของศาสนา นั้น ถูกปฏิเสธ และความหมายของมันก็แสดงให้รู้ว่า ทุกการงานที่มีคำสั่งของศาสนา นั้น จะไม่ถูกปฏิเสธ - ดู
[الجامع 1/177].

อัล-บานีย์กล่าวว่า

وهذا الحديث قاعدة عظيمة من قواعد الإسلام، وهو من جوامع كلمه فإنه صريح في رد وإبطال كل البدع والمحدثات

และหะดิษนี้ เป็นหลักการอันสำคัญ จากบรรดาหลักการของอิสลาม มันเป็นส่วนหนึ่งจากบทสรุปของถ้อยคำของมัน แล้วแท้จริงมันชัดเจน ในการคัดค้านและล้มล้าง ทุกบิดอะฮและบรรดาสิ่งที่ถูกอุตริขึ้นใหม่(ในศาสนา
. [الإرواء رقم 88].

อิบนุเราะญับกล่าวอีกว่า

فكل من أحدث شيئاً ونسبه إلى الدين ولم يكن له أصل من الدين يرجع إليه فهو ضلالة، والدين برئ منه، وسواء في ذلك مسائل الاعتقادات أو الأعمال أو الأقوال الظاهرة والباطنة.

แล้วทุกคนที่อุตริสิ่งใดขึ้นมา แล้วนำไปอ้างว่าเป็นศาสนา ทั้งๆที่ไม่ได้มีที่มาในศาสนา ที่จะกลับไปหามัน มันคือ การหลงผิด โดยที่ ศาสนา นั้น เป็นอิสระจากเขา ในเรื่องดังกล่าวนั้น ไม่ว่าจะเป็น ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ อะกีดะฮ หรือ การปฏิบัติ หรือ คำพูด ที่แสดงออกมาโดยภายนอก และภายในใจก็ตาม
[الجامع 2/128].


..............................................
ขอย้ำ นะน้อง “ บิดอะฮในศาสนา ไม่มีคำว่า “หะสะนะฮ” อย่างเด็ดขาด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น