อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ชาวยุโรปเคยอาศัยประโยชน์ความรู้ของชาวอาหรับในเรื่องภูมิศาสตร์



ชาวอยุโรปได้อาศัยประโยชน์จากองค์ความรู้ของชาวอาหรับที่มีบันทึกอยู่ในตำราภูมิศาสตร์และบันทึกการเดินทางของเดินเดินทางชาวอาหรับ 

ยุโรปไม่เคยรู้จักภูมิศาสตร์ของดินแดนส่วนในของทวีปแอฟริกานอกจากอาศัยตำราและแผนที่ของชาวอาหรับที่ยังคงเป็นแหล่งอ้างอิงแห่งเดียวเกี่ยวกับดินแดนของแอฟริกา จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19

ทฤษฎีที่ว่าโลกมีสัณฐานกลมไม่เป็นที่ยอมรับในหมู่ชาวยุโรป ขนาดที่นักภูมิศาสตร์ชาวมุสลิมได้รวบรวมองค์ความรู้และมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในเรื่องนี้มานมนานแล้ว 

และนั่นย่อมเป็นสิ่งที่ทำให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสมีความคิดที่ว่า ทางด้านทิศตะวันตก (มหาสมุทรแอตแลนติก) อาจจะเป็นเส้นทางที่นำให้เขาไปถึงอินเดีย และทำให้เขาค้นพบโลกใหม่ (ทวีปอเมริกา) ในที่สุด

 และผู้ที่มีส่วนอย่างสำคัญในเรื่องนี้ก็คือ อัช-ชะรีฟ อัล-อิรีสียฺ ซึ่งชาวยุโรปได้รับข้อมูลที่ละเอียดเกี่ยวกับอินเดีย, จีน และดินแดนในแอฟริกาเหนือจากตำรา “นุซฮะตุลมุชต๊ากฯ” ของอัช-ชะรีฟ อัล-อิดริสียฺ 

ในสมัยของกษัตริย์โรเจอร์ที่ 2 แห่งนครพอเลอร์โม่ อัช-ชะรีฟ อัล-อิรีสียฺ ได้สร้างรูปโลกที่เป็นทรงกลมทำจากโลหะเงิน เพื่ออธิบายถึงแคว้นทั้ง 7 ถวายแก่พระองค์ 

ตำราภูมิศาสตร์ของ อัล-อิดริสียฺ เป็นตำราภูมิศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงยุคกลาง 

ในหน้าแรกของตำราเล่มนี้ อัล-อิดริสียฺ ระบุอย่างชัดเจนว่า “โลกนั้นมีสัณฐานกลม”

 ตำราภูมิศาสตร์เล่มนี้ถูกตีพิมพ์ในกรุงโรมปี ค.ศ.1592 เป็นภาษาอาหรับที่ถูกคัดลอกมาส่วนหนึ่ง ต่อมาก็ถูกแปลเป็นภาษาละติ ในปี ค.ศ.1619 ซึ่งทำให้องค์ความรู้ในวิชาภูมิศาสตร์มีการพัฒนาอย่างแพร่หลายในยุโรป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น