อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เตาฮีดอัลอัสมาอฺวัสสิฟาตคืออะไร



(توحيد الأسماءوالصفات )เตาฮีดอัล-อัสมาอฺ วัศ-ศิฟาต หมายถึง
การศรัทธาอย่าแน่วแน่ว่าอัลลอฮฺทรงมีบรรดาพระนามอันวิจิตรและคุณลักษณะอันสูง พระองค์ทรงมีลักษณะด้วยลักษณะอันสมบูรณ์ ทรงบริสุทธิ์จากลักษณะที่บกพร่องทั้งหลาย และทรงมีสิ่งดังกล่าวนั้นแต่เพียงพระองค์เดียว อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ รู้จักองค์อภิบาลของพวกเขาด้วยคุณลักษณะของพระองค์ตามที่ถูกเอ่ยไว้ในอัล-กุรอาน และอัซ-ซุนนะฮฺ และให้ลักษณะพระองค์ตามที่พระองค์ทรงได้ หรือท่านเราะซูล(ศ็อลฯ)อธิบายไว้เท่านั้น พวกเขาจะไม่เปลี่ยนแปลงถ้อยคำต่างๆจากตำแหน่งที่แท้จริงของมันหรือบรรดาพระนามหรือโองการของพระองค์บิดเบือน(อิลหาด)ไปเป็นอื่น และจะคงยืนยันต่างๆที่เกี่ยวกับอัลลอฮฺตามที่พระองค์เองทรงยืนยันเอาไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มโนภาพ ไม่เสาะแสวงหาเหตุผลใดๆ ไม่ปฏิเสธ ไม่บิดเบือน และไม่เปรียบเทียบ หลักสำคัญของพวกเขาในสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดคือคำตรัสของอัลลอฮฺตะอาลาที่ว่า

لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ
“ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงมองเห็น” (อัช-ชูรอ :11) 
وَلِلَّهِ الْأَسْمَاءُ الْحُسْنَى فَادْعُوهُ بِهَا وَذَرُوا الَّذِينَ يُلْحِدُونَ فِي أَسْمَائِهِ سَيُجْزَوْنَ مَا كَانُوا يَعْمَلُونَ 
“และสำหรับอัลลอฮฺนั้นทรงมีบรรดาพระนามอันวิจิตร ดังนั้นพวกเจ้าจงขอต่อพระองค์ด้วยพระนามเหล่านั้นเถิด และจงปล่อยบรรดาผู้ทำให้เบี่ยงเบนไปในบรรดาพระนามของพระองค์ พวกนั้นจะถูกตอบแทนในสิ่งที่พวกกระทำ” (อัล-อะอฺรอฟ :180)
การให้การรับรองและยืนยัน บรรดาพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ (ซ.บ) คือ การยืนยันตามความหมายของตัวบทที่ปรากฏ และจะไม่ถามถึงรูปแบบว่าเป็นอย่างไร เพราะ มนุษย์ไม่สามารถที่จะรู้ได้นอกจากสิ่งที่อัลลอฮและรอซูลของพระองค์บอกไว้เท่านั้น และ อัลลอฮนั้น ไม่มีสิ่งใดนำมาเปรียบเทียบกับพระองค์ได้
ท่านอิมาม อัล-บัยฮะกีย์ได้กล่าวรายงานไว้ในหนังสือ อุสสุนันอัลกุบรอของท่าน ว่า
أخبرنا محمد بن عبد الله الحافظ ثنا أبو بكر محمد أحمد بن بالويه ثنا محمد بن بشر بن مطرثنا الهيثم بن الخارجة ثنا الوليد بن مسلم قال : سئل الأوزاعى ومالك وسفيان الثورى والليث بن سعد عن هذه الأحاديث التى جاءت فى التشبيه فقالوا : أمروها كما جاءت بلا كيفية . " ได้บอกเล่ากับเรา โดยมุฮัมมัด บิน อับดิลลาฮฺ อัลหาฟิซฺ ได้เล่ากับเรา โดยอบูบักร มุฮัมมัด อะหฺมัด บาลุวัยฮฺ ได้บอกเล่ากับเรา โดยมุฮัมมัด บิน บิชรฺ ได้บอกเล่ากับเรา โดยมะฏ๊อร ได้บอกเล่ากับเราโดย อัลฮัยษัม บิน อัลคอริญะฮฺ ได้บอกเล่ากับเรา โดย อัลวะลีด บิน มุสลิม เขากล่าวว่า " ท่านอัลเอาซฺะอีย์ ท่านมาลิก ท่านซุฟบาน อัษเษารีย์ และท่านเลัยษ์ บิน ซะอัด ได้ถูกถามจากบรรดาฮะดิษที่มีมาในการตัชบีฮฺ(มีการคล้ายคลึ่งระหว่างอัลเลาะฮฺและมัคโลค) ดังนั้นพวกเขาจึงกล่าวว่า "พวกท่านจงปล่อยให้มันผ่านไป ตามที่มันได้มีมา โดยไม่มีการอธิบายรูปแบบวิธีการว่าเป็นอย่างไร " ดู สุนัน กุบรอ ของ
ท่าน อัลบัยฮะกีย์ เล่ม 2 หน้า 3



การเชื่อและยืนยันคุณลักษณะของอัลลอฮ (ซ.บ)ตามที่ อัลลอฮ (ซ.บ)ได้อธิบายคุณลักษณะให้แก่พระองค์เอง และที่รอซูลของพระองค์ได้อธิบายคุณลักษณะไว้ นั้น ไม่ใช่เป็นการนำอัลลอฮไปเปรียบว่าเหมือนหรือคล้ายคลึงกับมัคลูค(ตัชบีฮ) อย่างที่บางคนเข้าใจ
ท่านอิมามอัตติรมิซีย์ รอฮิมาฮุลลอฮฺ หนึ่งในนักปราชญ์ยุคสลัฟได้ กล่าวว่า

وقال إسحق بن إبراهيم إنما يكون التشبيه إذا قال يد كيد أو مثل يد أو سمع كسمع أو مثل سمع فإذا قال سمع كسمع أو مثل سمع فهذا التشبيه وأما إذا قال كما قال الله تعالى يد وسمع وبصر ولا يقول كيف ولا يقول مثل سمع ولا كسمع فهذا لا يكون تشبيها وهو كما قال الله تعالى في كتابه ليس كمثله شيء وهو السميع البصير

ท่านอิสหาก อิบนุอิบรอฮีม บินรอฮาวัยฮฺ ได้กล่าวอธิบายว่า การตัชบีฮฺ(เปรียบกับมัคลูก)นั้นคือการที่เรากล่าวว่า พระหัตถ์ของอัลลอฮฺก็เหมือนกับมือของฉันหรือใกล้เคียงกับมือของฉัน หรือการที่เขากล่าวว่า พระองค์อัลลอฮฺได้ยินเหมือนกับที่ฉันได้ยินหรือคล้ายกับที่ฉันได้ยิน แบบนี้แหละที่เขาเรียกว่าตัชบีฮฺ แต่หากเป็นการกล่าวในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงตรัสไว้แล้ว เช่น พระหัตถ์, ทรงสดับฟัง, ทรงทอดพระเนตร พร้อมกับไม่ถามว่ามันเป็นอย่างไรแบบไหน ตลอดจนไม่กล่าวว่าอัลลอฮฺได้ยินเหมือนกับฉันได้ยิน ดังนั้นแบบนี้ไม่เป็นการตัชบีฮฺต่ออัลลอฮฺตะอาลา พระองค์กล่าวไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนหรือคล้ายคลึงกับพระองค์แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยินและทรงเห็น” 
(หนังสือ สุนันอัตติรมิซีย์ เล่ม 3 หน้าที่ 50-51
กล่าวคือ การยืนยันคุณลักษณะอัลลอฮ ตามที่อัลลอฮทรงบอกไว้ โดยไม่ไปเปรียบกับบรรดาลักษณะของมัคลูค(สิ่งถูกสร้าง) นั้น ไม่ใช่หมายถึง การเอาอัลลอฮ ไปเปรียบว่าคล้ายคลึงกับมัคลูคแต่อย่างใด
والله أعلم بالصواب

.................... อะสัน หมัดอะดั้ม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น